Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??  (อ่าน 10403 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ยินยอม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,817
  • เพศ: ชาย
  • กีตาร์ดีอยู่ที่คนเล่น
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มีนาคม 05, 2011, 00:09:44 »
ซ้อมตอนลูกกินนมครับ เวลาอื่นไม่ได้เลย...
:)

jotakun

  • member
  • ***
  • กระทู้: 307
  • เพศ: ชาย
  • 60O9songs http://www.youtube.com/user/jotakun
    • 60O9songs @youtube
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 22:26:29 »
ผมฝึกโซโลบูลส์ แจ๊ส และก็ 12 bars อยู่ครับ
ฟังเยอะๆ ฝึกสำเนียง
ดนตรี ช่างดีเหลือเกิน
@facebook = sixtyoninesongs

nco4433

  • member
  • ***
  • กระทู้: 592
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 10:58:03 »
1. ฝึกเพลงชอบ
2. ซ้อมเพลงเก่า (ที่เคยฝึกแล้ว)
3. ช่วงไหนที่รู้สึกว่าจับยาก เล่นไม่ถนัด ย้ำซ้อมเฉพาะท่อนนั้นจนกว่าจะผ่าน
4. เสาะหาเทคนิคใหม่ๆมาฝึกจนคุ้นเคย เวลาเล่นมันจะออกมาเองอัตโนมัติ
5. ฟังเพลงที่เราจะแกะเยอะๆมากๆจนติดหู จะแกะง่ายขึ้น
คร่าวๆครับ ^^
เห็นด้วยอย่างแรงเลยครับ..

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 17:07:09 »
สำหรับผม ทุกครั้งที่จับกีต้าร์ขึ้นมาเล่น ผมจะวอรม์นิ้วก่อนทุกครั้ง  คือ เล่นบทฝึก
ผมจะเล่นเพลงเก่าที่เล่นได้แล้ว  วันเว้นวัน  หรือ ทุกๆวัน  เลย  ยอมรับว่าเบื่อมากๆ  ที่ต้องเล่นเพลงเก่าๆที่เราเล่นได้แล้วทุกวัน  โดยเฉพาะ กับเพลง ที่ทำให้นิ้วดี
เพลงใหม่ ทีเริ่ม แกะ ผมจะไม่ หักโหม ให้ แกะได้ไวๆ  เล่นได้ไวๆ 
ใน เพลง ทุกเพลงผมว่า จะต้องมีช่วงที่ ยากอยู่ทุกเพลง 
ผมจะเล่น ซ้ำ และ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ในท่อนที่เล่นยากๆ  วนแล้ววนอีกอยู่อย่างนั้น พอเบื่อ
ผมก็มา แกะเพลงใหม่ อีก สรุปคือ สำหรับผมไม่ค่อยได้เพลงอะไรใหม่ๆเลย 
ยิ่งเพลงเร็วเท่าไหร่  เวลาซ้อม ผมจะเล่นให้สปีดช้าๆก่อน ให้ไม่พลาดก่อน พอจำตำแหน่งได้แม่นๆผมถึง เล่นสปีด แบบปกติ
เวลา เราเล่นกีต้าร์ อย่า  กลั้น หายใจ ตอนที่ถึงช่วงที่เล่นยากๆ  ให้หายใจตามปกติ  และสูดลึกๆ  แบบนี้จะไปตามธรรมชาติ  มากกว่ากลั้นหายใจ 
เรื่อง จังหวะ  สำหรับ เล่นกีต้าร์ตัวเดียวนั้นสำคัญมาก เล่นหลุดแต่ จังหวะถูก  ดีกว่า  เล่นเร็วแล้วจังหวะไม่ถูก เหมือนคนติดอ่าง
เพลงไหนที่ยากๆ  ผมเล่นสปีดช้าๆ  ก่อน โดยให้เน้นจังหวะให้ถูก
เพราะ บางเพลง ช่วงที่ยากๆเราจะเล่นไม่ทัน  ผมก็จะสปีดให้ช้าลงหมดทั้งเพลงเลย เพื่อ ให้ช่วงที่เล่นยากๆได้จังหวะ  ไม่สะดุด
พอช่วงเล่นยากๆ  ไม่สะดุดแล้ว ผมก็เล่นสปีดเร็วให้เหมือน ในโน๊ตเพลง
เพลงไหน ที่เรา เล่น แล้วรู้สึกว่านิ้ว เกร๊ง เพลงนั้นผม จะต้องซ้อมให้มากๆ 
บทสรุป ของผมคือ เล่นมันมั่วไปหมดเลย  เพราะ เวลามีน้อย  จะมานั่ง   บทฝึก 2 ชั่วโมง เล่นเพลงเก่า 2 ชั่วโมง แกะเพลงใหม่ 1 ชั่วโมงแบบแต่ก่อนไม่ได้แล้ว
นิ้วไม่อยู่ตัวซักที 
เวลาซ้อม หาห้องเงียบๆครับ  สมาธิจะเกิดครับ  และซ้อมในห้องที่ไม่ดูดเสียงจนมากเกินไป  ห้องที่สะท้อนเสียง ที่นิดๆ จะทำให้เสียงกีต้าร์เพราะครับ ทำให้เราอยากเล่นกีต้าร์มากกว่าเราซ้อมในห้องที่ ดูดเสียง  พวก ห้อง นอน ที่มี ผ้าม่านมากๆ หรือ พวก พรมหนา  ห้องพวกที่มีผ้า มากๆมันจะดูด ความกังวาลของกีต้าร์ไปหมดเลย
ต่างจากห้อง ที่เป็นไม้ครับ  เล่นกีต้าร์เสียงกีต้าร์ออกมาน่าฟังมาก ยิ่งเป็นไม้หมดทั้งห้องนี่เสียงออกมาเล่นแล้วไม่เบื่อเลยครับ
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

Crucify

  • member
  • ***
  • กระทู้: 359
  • เพศ: ชาย
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 18:43:29 »
ยาวหน่อยแต่มีประโยชน์แน่ครับ


- Practicing -
ปัญหา ที่พบในการฝึกซ้อมนั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นเกิดจากการที่เราขาดความเข้าใจในการฝึก ซ้อม ซึ่งเราไม่สามารถจัดตารางการฝึกให้กับตัวเราเองได้ เพราะว่าตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องฝึกอะไรบ้างหรือฝึกอะไรก่อนหรือหลัง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้นักกีตาร์หลายๆคนแทบจะไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าจะต้องฝึก ซ้อมอย่างไร? นี่คือปัญหาหลักที่เรามักพบเจอในการฝึกซ้อม

 

1. ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการฝึกซ้อมกับการเล่นดนตรี
ความสนุกสนานหรือความมันส์ในขณะที่เรากำลังวาดลวดลายกับเครื่องดนตรีตัวโปรด ของเราบนเวที หรือตามงานต่างๆหรือแม้กระทั่งเล่นอยู่ในวงสังสรรค์กับเพื่อนๆ เป็นการเล่นในสิ่งที่เราสามารถเล่นได้อยู่แล้ว แต่ไม่เหมือนกับการฝึกซ้อมเครื่องดนตรี ซึ่งการเล่นดนตรีจะให้ความสนุกสนานแก่ตนเองและคนอื่นๆ แต่คุณอาจจะไม่สามารถไปถึงจุดหมายใหม่ๆหรือเทคนิคใหม่ๆด้วยวิธีนี้ การฝึกซ้อมเครื่องดนตรีคือการเล่นในสิ่งที่คุณยังไม่สามารถเล่นออกมาได้ดี หรือเล่นได้อย่างง่ายดาย แนวคิดนี้อาจจะฟังแล้วดูเหมือนง่ายมาก แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันกลับไม่ง่ายเหมือนอย่างที่คิด นักดนตรีอาชีพหลายๆคนที่เล่นดนตรีในกลางคืน ตามผับ ตามร้าน ตามเธค ซึ่งนักดนตรีกลุ่มนี้ต้องเล่นดนตรีทุกวันและอยู่กับการเล่นเครื่องดนตรีของ ตนเองอยู่เกือบตลอดเวลา หลายคนคิดว่าพวกเขาฝึกเครื่องมือของเขาอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่พวกเขากลับไม่เข้าใจว่าทำไม่พวกเขาถึงฝีมือไม่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเลย ปีที่แล้วฝีมือแค่ไหน ปีนี้ฝีมือกลับเหมือนกับปีที่แล้ว หรือถ้าฝีมือพัฒนาก้าวหน้าขึ้นก็คงพัฒนาขึ้นได้แต่ช้ามาก

2. ไม่จัดการฝึกให้เป็นระบบ
ผมยังจำได้เมื่อตอนที่ผมเข้าเรียนที่ภาควิชาดนตรี อาจารย์ของผมแนะนำให้พวกเราใช้แฟ้มพลาสติกเพื่อเก็บเอกสาร โน้ตเพลงต่างๆเอาไว้ในแฟ้มเพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา ทุกคนที่เรียนจะมีแฟ้มคนละเล่มเก็บโน้ตเพลงต่างๆที่จะใช้สอบ และใช้ฝึกซ้อมโดยที่พวกเราไม่รู้เลยว่าพวกเรากำลังถูกฝึกให้เรียนรู้ถึงการ จัดระบบการฝึกไปในตัว ผมเริ่มเข้าใจการจัดระบบในการฝึกอีกครั้งเมื่อผมได้เรียนกีตาร์กับ Tom Hess ซึ่ง Tom แนะนำให้นักเรียนทุกคนใช้แฟ้มซึ่งแฟ้มจะต้องมีห่วง 3 ห่วง (บางแฟ้มอาจจะมีหลายห่วง)เพื่อเอาไว้ใส่กระดาษโน้ตเพลง ซึ่งในการใส่กระดาษโน้ตเพลงนั้นเราจะต้องเจาะ ด้านข้างหรือด้านริมของกระดาษเป็น 3 รูเพื่อนำไปใส่กับห่วง 3 ห่วง แฟ้มในปัจจุบันนี้จะเป็นแฟ้มที่มี 3 ห่วง(บางแฟ้มอาจจะมีหลายห่วง)และมีซองพลาสติกใสอยู่ด้านในแฟ้มเรียบร้อย เราจึงไม่ต้องเจาะกระดาษเลย เพียงเรามีโน้ตเพลงต่างๆเราก็สอดเข้าไปในซองพลาสติกใสได้เลย ซึ่งสะดวกมากเพราะไม่ต้องเจาะกระดาษให้เสียเวลา หลังจากที่ทุกคนมีแฟ้มแล้วขั้นตอนต่อไปให้แบ่งแฟ้มเป็นตอนๆ หมายความว่า ถ้าแฟ้มคุณมี 50 แผ่นคุณอาจจะแบ่งเป็นตอนๆละ 10 แผ่น หรือ ถ้าคุณมีกำลังทรัพย์มากคุณอาจจะซื้อแฟ้มหลายๆแฟ้มก็ได้ โดยอาจจะแบ่งเป็น 1 แฟ้ม / 1 ตอน การฝึกแบ่งเป็นตอนๆได้ดังนี้

1. Scale
2. Arpeggio
3. Single string technique
4. Chord
5. Improvising
6. Sight reading
7. Tapping
8. Piece
9. Ear training
10. Music Theory

3. ไม่ยอมตั้งเป้าหมายต่อไปนี้ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และเป้าหมายระยะยาว
เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากถ้าเราไม่มีเป้าหมายหรือจุดหมายต่างๆ เราก็เหมือนกับเรือหรือรถที่แล่นหรือวิ่งไปโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง เช่นเดียวกับการฝึกซ้อมของเราที่จะต้องตั้งเป้าในการฝึกซ้อมทุกครั้ง การฝึกของคุณจำเป็นต้องตั้งเป้าในการฝึกในแต่ละครั้ง และทุกครั้งที่คุณจับเครื่องดนตรีขึ้นมาฝึกซ้อมคุณควรมีการตั้งเป้าไว้ในใจ ซึ่งคุณกำลังจะฝึกซ้อมเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ให้ได้
ตัวอย่าง การตั้งเป้าหมายในระยะสั้น
สมมติว่าตอนนี้คุณกำลังฝึกเทคนิคการจิ้มสาย (Tapping) ซึ่งแบบฝึกหัดนี้มีความยากมากเพราะต้องเล่นข้ามสายและเล่นเป็นโน้ต 6 พยางค์ (6 โน้ตต่อ 1 เคาะ) ที่ความเร็วเมโทรนอม 132 ทำให้แบบฝึกหัดนี้ยากขึ้นอีก ซึ่งตอนนี้คุณยังไม่สามารถเล่นได้เลย ในการตั้งเป้าหมายระยะสั้นนั้นให้คุณเล่นเป็นโน้ตตัวดำ (1 พยางค์ต่อ 1 เคาะ) คุณอาจจะตั้งเป้าว่าจะเล่นให้ได้ใน 1 สัปดาห์หรือใน 1 เดือน
ตัวอย่าง การตั้งเป้าหมายในระยะกลาง
ให้คุณใช้การฝึกด้วยเทคนิคการจิ้มสาย (Tapping) ในแบบฝึกหัดเดิมที่คุณฝึกมาแต่ว่าตอนนี้คุณจะต้องเล่นให้เร็วขึ้นอีก 20% ให้ได้ในระยะเวลา 1 ปี หมายความว่า ถ้าแบบฝึกหัดที่ผ่านมาคุณเล่นได้ที่ความเร็ว 100 ในแบบฝึกเดียวกันนี้คุณจะต้องเล่นให้ได้ที่ความเร็ว 120
ตัวอย่าง การตั้งเป้าหมายในระยะยาว
ให้คุณใช้เทคนิคการจิ้มสาย (Tapping) ในแบบฝึกหัดเดิมแต่ตอนนี้คุณจะต้องสามารถเล่นแบบฝึกหัดนี้ได้อย่างคล่อง แคล่ว ชัดเจน และเล่นได้เร็วเท่ากับหรือเร็วกว่าเมโทรนอมที่แบบฝึกหัดกำหนด หรือเล่นได้เหมือนกับนักกีตาร์คนโปรดของคุณ


4. ไม่ใช้เมโทรนอมในการฝึกและไม่เคยบันทึกความเร็วของเมโทรนอมที่เราเล่นได้ในแต่ละเทคนิคเพื่อดูการพัฒนาก้าวหน้า
ฝีมือของคุณพัฒนาก้าวหน้าไปแค่ไหนหลังจากที่คุณเล่นดนตรีมา 1 ปี? ความเร็วในการเล่นเครื่องดนตรีของคุณเพิ่มขึ้นเท่าไหร่? และเทคนิคต่างๆล่ะคุณสามารถเล่นออกมาได้ดีหรือยัง? นักกีตาร์หลายๆคนไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ ดังนั้นคุณจะต้องมีการจัดระบบการฝึกซ้อมกับเมโทรนอมด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 วัสดุที่ใช้ในการฝึก
1. เมโทรนอม
2. กระดาษ A4 หรือ white board
3. ดินสอ (อย่าใช้ปากกาเพราะลบยาก)
4. นาฬิกาแบบไหนก็ได้
5. แฟ้ม
6. เครื่องดนตรี
ขั้นที่ 2 ในกระดาษ A4 หรือ white board ให้คุณแบ่งตารางออกเป็น 9 คอลัมน์ ส่วนแถวนั้นคุณจะแบ่งเป็นกี่แถวก็ได้ จากนั้นให้คุณเขียนชื่อเทคนิคต่างๆที่คุณต้องการที่จะพัฒนาหรือปรับปรุง ลงไปในแถวแนวตั้งด้านซ้ายมือสุดของกระดาษ โดยเขียนลงในช่องสี่เหลี่ยมเรียงลงมา
ขั้นที่ 3 คอลัมน์ที่ 1 เขียนชื่อเทคนิคที่ต้องการปรับปรุง เช่น เทคนิค Alternate Picking
คอลัมน์ที่ 2 เขียนว่า ความเร็วสูงสุดที่เล่นได้ในแต่ละเทคนิคก่อนที่จะเริ่มฝึก เช่น 120, 130 เป็นต้น
คอลัมน์ที่ 3 – 9 ให้เขียนชื่อวันต่างๆลงไปทั้ง 7 วัน
ขั้นที่ 4 หยิบเครื่องดนตรีขึ้นมาและเปิดเมโทรนอมโดยเริ่มจากการเล่นที่ความเร็วที่ช้าๆก่อนในการเล่นเทคนิคแรกซึ่งเป็นเทคนิคที่คุณเขียนไว้เพื่อพัฒนาปรับปรุง เล่นเทคนิคแรกนี้ด้วยความเร็วที่ช้าๆจากนั้นให้เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆจนถึงความเร็วสูงสุดที่เราสามารถเล่นได้ ซึ่งจะต้องไม่มีอาการเกร็งต่างๆเกิดขึ้น
ขั้นที่ 5 ในคอลัมน์ 3 แถวล่างในวันจันทร์ ใช้ตัวย่อว่า ส 1 หมายถึง สัปดาห์ที่ 1 ให้บันทึกหรือเขียนความเร็วสูงสุดที่เราสามารถเล่นได้ในเทคนิคนั้นๆลงในวันจันทร์ของสัปดาห์ที่ 1
ขั้นที่ 6 ฝึกตามขั้นตอนที่ 4 และ 5 ในทุกเทคนิคที่คุณได้เขียนลงไปในกระดาษ
ขั้นที่ 7 เมื่อฝึกครบ 1 สัปดาห์ ขั้นต่อไปให้ฝึกเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ 1 ทุกขั้นตอนและบันทึกหรือเขียนความเร็วของเมโทรนอมที่เราสามารถเล่นได้ลงในสัปดาห์ที่ 2 ใช้ตัวย่อ ส 2 ต่อจากนั้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ใช้ตัวย่อ ส 3 และสัปดาห์ที่ 4 ใช้ตัวย่อ ส 4 ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งในทุกๆครั้งที่คุณฝึกและทำตามในทุกขั้นตอน จะทำให้คุณมองเห็นพัฒนาการและความก้าวหน้าในการเล่นของคุณอยู่ตลอดเวลา

5. เริ่มเบี่ยงเบนความสนใจออกจากการฝึก
นี่เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยมากซึ่งเกิดจากการที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งในขณะนั้นมาทำให้เราเบี่ยงเบนความสนใจออกจากการฝึกซ้อม เป็นผลให้คุณขาดสมาธิในการฝึกไป ปัญหาเหล่านั้นมีดังนี้
1. อย่าฝึกซ้อมต่อหน้าโทรทัศน์
2. ไม่ว่าที่ไหนก็ตามถ้าเป็นไปได้ควรฝึกอยู่แต่ในห้อง ซึ่งเป็นสถานที่ไม่มีคนเข้ามารบกวนเราได้หรือทำเสียงดังใกล้คุณ นักกีตาร์ส่วนใหญ่มักจะฝึกซ้อมอยู่ในห้องนอนของตัวเอง
3. ไม่ว่าเวลาไหนก็ตามถ้าเป็นไปได้อย่ารับโทรศัพท์เมื่อมีคนโทรเข้า แต่ถ้าเป็นไปได้ควรปิดเครื่องทุกครั้งที่คุณต้องการจะฝึกซ้อม จะมีผลให้การฝึกของเราขาดความต่อเนื่อง
4. พยายามอย่าฝึกในช่วงที่คุณกำลังมีเรื่องกลุ้มใจหรือเครียดจากเรื่องอื่นๆ ถ้าคุณจะฝึกซ้อมคุณต้องทำใจให้สงบหรืออาจจะนั่งสมาธิซัก 5 – 10 นาที
5. อย่าฝันกลางวัน คุณต้องอยู่กับความเป็นจริงเสมอ
6. อย่าเล่นดนตรีขณะที่คุณกำลังฝึกซ้อมซึ่งข้อนี้ได้อธิบายไว้แล้วในหัวข้อที่ 1 ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการฝึกซ้อมกับการเล่นดนตรี

6.  เริ่มเบื่อหน่ายการฝึกซ้อม

เมื่อคุณเริ่มต้นการฝึกซ้อม ตัวคุณอาจจะต้องฝึกซ้อมแบบฝึกหัดแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆ ในการฝึกซ้อมแบบฝึกหัดเดิมๆนั้นสามารถทำให้คุณเกิดอาการเบื่อหน่ายขึ้นมาได้  ซึ่งอาการเบื่อหน่ายจากการฝึกซ้อมอาจจะทำให้คุณเริ่มเกิดอาการขี้เกียจซ้อมและคุณอาจจะหยุดฝึกซ้อมกลางคันขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้  การเบื่อหน่ายการฝึกซ้อมเป็นเรื่องปกติเพราะตัวคุณเองต้องเล่นอะไรที่มันเดิมๆ จำเจ ซ้ำซาก ในทุกๆวัน  ดังนั้นจงอย่าหยุดฝึกซ้อมเพียงเพราะว่าคุณเริ่มขี้เกียจจากอาการเบื่อหน่ายจากการฝึกซ้อมในเรื่องเดิมๆ จงอย่าได้นำเรื่องความเบื่อหน่ายเพียงเล็กน้อยนี้มาเป็นข้ออ้างในการหยุดฝึกซ้อมของคุณ  ถ้าคุณเริ่มมีอาการเบื่อหน่ายจากการฝึกซ้อมให้คุณลองเล่นอะไรที่คุณไม่เคยเล่นเช่น ลองเล่นในแนวอื่นๆดูบ้าง เช่น แจ๊ส บลูส์ หรือคันทรี่ หรือแม้แต่แนวอื่นๆที่คุณยังไม่เคยฝึกมาก่อน  

 -บทความดีๆจาก ครูชาติ-

Tuner Guitar Woodshed

Credit ครูชาติ http://www.tunerguitarwoodshed.com

TKCN

  • member
  • ***
  • กระทู้: 673
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 19:35:37 »
สำหรับผม
ซ้อมช้าๆอย่างมีสติครับ

theanuso

  • member
  • ***
  • กระทู้: 211
  • theanuso
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 19:54:11 »
เลือกมาเพลงหนึ่ง จากนั้นฟังซ้ำๆจนกว่าจะได้สำเนียงและเล่นในใจได้ จากนั้นเล่นซ้ำๆไปจนกว่านิ้วมือมันจะจำของมันเอง พอว่างๆก็ซ้อมในใจไปด้วยทำงานไปด้วย
จริงจัง จริงใจ

Topcoms

  • member
  • ***
  • กระทู้: 25
  • เพศ: ชาย
  • ยิ่งยาก...ยิ่ง
Re: น้าๆ มีเทคนิค ในการฝึกซ้อมอย่างไรบ้างครับ??
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: มีนาคม 08, 2011, 00:45:17 »
ของผมเทคนิคไม่มี...ไม่มีอะไรเลยครับ..เข้ามามัยนี่เรา..