Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ  (อ่าน 3120 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
Martin standard series ต่อคอแบบ Traditional ผมว่าแข็งแรงนะแต่ซ่อมยาก

ส่วน Taylor ถอดประกอบง่าย   จะซ่อม หรือ Neck Reset ง่ายกว่าแน่นอน

มีความเห็นกันยังไงบ้างครับ แล้วแบบไหนแข็งแรงกว่ากันครับ

sonic

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,517
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 08, 2018, 21:59:15 »
Bolt มันเหล้็ก มันแข็งแรงว่าอยู่แล้วครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,167
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 09, 2018, 23:14:29 »
ตามหลักวิศวกรรมแล้วการต่อคอแบบ traditional dovetail (Martin standard series, Gibson acoustics, Santa Cruz และกีตาร์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่) หรือแบบ bolt-on หรือแบบ bolt-on+glued (Martin mortise & tenon) ไม่มีความแตกต่างกันในด้านความแข็งแรงของโครงสร้างเลยแม้แต่น้อย ความแตกต่างนั้นร้อยทั้งร้อยเป็นความเห็นของช่างทำกีตาร์และความเชื่อของบรรดากูรูในเน็ตทั้งนั้น

ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดว่า bolt-on neck นั้นกีตาร์ Taylor ใช้เป็นเจ้าแรก ความจริงแล้วคนแรกที่เอามาใช้คือ Leo Fender ตั้งแต่ปี 1950 กับกีตาร์ไฟฟ้าและปี 1963 ก็เอามาใช้กับกีตาร์โปร่ง Fender กีตาร์ที่เคยมียอดขายสูงสุดของกีตาร์อเมริกันคือ Ovation ก็ใช้ bolt-on neck มาตั้งแต่ปี 1967 ครับ ผมทำ time line มาให้ดูในรูปข้างล่าง




เมื่อก่อนนี้มีนักวิจารณ์หลายคนเชื่อว่าการต่อคอกับลำตัวโดยใช้กาวหรือที่เรียกว่า set neck นั้นทำให้ไม้สองชิ้นแนบสนิทเหมือนเป็นชิ้นเดียวกันและทำให้ความสั่นสะเทือนจากคอสามารถส่งถ่ายมาที่ body ใด้เต็มที่ซึ่ง bolt-on neck ที่ใช้น้อตยึดทำไม่ใด้ ความเชื่อและประเพณีของการใช้ dovetail joint ที่กีตาร์อเมริกันใช่มาร้อยกว่าปีก็เลยทำให้ทำให้กีตาร์ญี่ปุ่นทุกเจ้าที่เริ่มก้อปกีตาร์อเมริกันในยุค '60s ใช้ dovetail joint กันจนถึงทุกวันนี้ครับ

เมื่อ Charles Kamann ซึ่งเป็นวิศวกรที่ร่ำรวยมหาศาลจากการผลิต helicopter ขายเริ่มผลิตกีตาร์ขายเขาก็เลือกที่จะออกแบบ neck joint เป็นแบบ bolt-on ที่ถอดซ่อมง่าย ต่อมาพวก luthier ยุคใหม่ซึ่งมีการศึกษาและประสพการณ์มามากกว่าที่จะไปเชื่อตำนานลมๆแล้งๆเริ่มผลิตกีตาร์ขายเขาก็เลือกใช้ bolt-on neck joint กันเป็นส่วนใหญ่ครับ



BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 10, 2018, 14:22:39 »
ขอบคุณน้ากฤษณ์มากครับ ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลย

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,167
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 11, 2018, 01:41:14 »
การต่อคอแบบที่สามคือการใช้ bolt+glue ซึ่งเป็นผลงานของ Martin ในยุค 2000s ที่ Dick Boak ของ Martin เองคุยว่าเป็นวิวัฒนาการที่เหนือชั้นกว่าการใช้ dovetail joint มากมายโดยที่เขาเขียนในหนังสือใว้ว่า

"The dovetail joint was the state of the art in guitar making a hundred years ago, the mortise tenon joint is the state of the art today!!"

เมื่อร้อยปีก่อนการเข้าคอต้องทำด้วยมือแต่สมัยนี้สามารถใช้ CNC machine ทำใด้เกือบทุกขั้นตอน mortise tenon (MT) joint ใช้ CNC เหลาใว้ก่อนและใช้คนมาขันน้อตและติดกาวในขั้นตอนสุดท้ายเท่านั้นโดยไม่ต้องใช้ช่างฝีมือเลย

เรื่องเสียงนั้น MT joint ไม่ใด้เป็นรอง dovetail joint แม้แต่น้อยเพราะไม่เคยมีใครบ่นว่า Martin OMJM หรือ Aura เสียงดีสู้ series 28 ไม่ใด้แต่ Martin มาตายน้ำตื้นเพราะเอาเด็กฝึกงานที่ไม่มีประสพการณ์มาเป้นคนต่อคอ ช่างมือใหม่มักกลัวกาวเยิ้มก็เลยใส่กาวน้อยๆใว้ก่อน ผลก็คือมีบางตัวที่คอแยกจากบอดี้เพราะกาวใส่ใว้น้อยเกินไปโดยเฉพาะในเมืองร้อนอย่างบ้านเราครับ (กีตาร์ในรูปเป็นของผมเอง พอคลายน้อตคอก็แทบหลุดออกมาเพราะกาวใส่ใว้นิดเดียว)




ตอนนี้ Martin USA เขาดัดแปลง MT joint โดยการทำเป็นลิ่มรับกันและตั้งชื่อใหม่เป็น simple dovetail joint ส่วน MT joint นั้นเอาไปใช้ที่โรงงาน Mexico ครับ






BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 13, 2018, 09:18:05 »
ขอบคุณน้ากฤษณ์ครับ ขอถามอีก 2 คำถามครับ

1.Electric guitar กับ Archtop ก็มีวิธีการต่อคอ 3 รูปแบบเหมือนกันใช่มั้ยครับ

2.NT Joint ของ Taylor กับ MT Joint ของ Martin
ในยุคแรกมีปัญหาเวลาความชื้นสูงๆแล้ว fingerboard จะบวมบริเวณเฟร็ทที่ 14
ปัจจุบันเค้าแก้ไขกันด้วยวิธีไหนครับ ทั้ง Taylor และ Martin เค้าออกแบบใหม่เลยเหรอครับ
ส่วนชื่อวิธีการต่อ เค้ายังคงยืนยันใช้แบบเดิม แบบนี้คนทั่วไปก็ไม่ทราบเลยสิครับ

เห็นน้ากฤษณ์เคยเล่าว่า
"ส่วน dovetail มันจะขยายตัวน้อยกว่าส่วนที่เป็น neck block
จน neck block บีบให้คอมันยกตัวขึ้นมาและไม่มีทางแก้
นอกจากถอดออกมาใส่ใหม่"

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 16, 2018, 20:17:55 »
ปัญหา fingerboard บวม เป็นแบบนี้ใช่มั๊ยครับ






เห็นว่า Taylor ที่ใช้ NT joint รุ่นแรกจะมีปัญหาคอบวมตรง fret 12-14 เป็นกันเกือบทุกตัวแต่แก้ง่ายเพราะคอมันถอดง่าย

อยากเห็นรูป NT Joint รุ่นแรกครับ คงเป็นปัญหาเดียวกับ MT Joint รุ่นแรก
พยายามหารูป + ข้อมูลมาหลายวันแล้ว หมดปัญญาครับ

เจอแต่รุ่นปัจจุบันครับ

<a href="http://youtu.be/WPET6p_ZzAc" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/WPET6p_ZzAc</a>

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,167
Re: การต่อคอแบบ Martin หรือ Taylor แข็งแรงกว่ากันครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 17, 2018, 10:37:00 »
ขอโทษที่ตอบช้าเพราะเพิ่งกลับเมืองไทยเมื่อคืนนี้ครับ ขอตอบรวมๆเลยแล้วกัน

1. การต่อคอกีตาร์ไฟฟ้าที่เป็น solid หรือ chambered body มีสามแบบเหมือนกันคือแบบติดกาว แบบใช้น้อตยึดและแบบที่คอกับลำตัวเป็นไม้ชิ้นเดียวกัน




2. เรื่อง fingerboard hump นั้นก็เป็นอย่างที่เข้าใจครับ NT neck joint นั้นเขาไม่เคยบอกว่ามีการปรับปรุงอะไรเพื่อแก้ปัญหา fingerboard บวมแต่ที่มีการปรับปรุงแน่นอนก็คือการเปลี่ยนจากการใช้ finger joint ในการต่อคอมาเป็น scarf joint ที่ดูดีกว่าเยอะ




ก่อนปี 1999 คอกีตาร์ Taylor ทำจากไม้ชิ้นเดียวเหมือนกีตาร์ราคาสูงยี่ห้ออื่นซึ่งค่อนข้างสิ้นเปลืองเพราไม้ขนาดหน้ากว้าง 4"x4" เอามาทำคอใด้อันเดียว ตอนที่เปลี่ยนมาใช้ NT joint เขาก็เปลี่ยนมาใช้คอสามชิ้นโดยการต่อคอตรง heel และ headstock ทำให้ประหยัดเงินไปใด้เยอะเพราะไม้ขนาด 4"x4" (ในรูป) ท่อนเดียวเอามาทำคอใด้ 3 อัน

เรื่องการใช้คอสามชิ้นนี้มีแฟนๆ Taylor บ่นกันเยอะเพราะมันดูน่าเกลียดและเงินที่ประหยัดใด้นั้นก็ไม่ใด้ทำให้กีตาร์ราคาถูกลงแต่เป็นกำไรล้วนๆของบริษัท ต่อมา Taylor ก็เลยเปลี่ยนวิธีต่อคอเป็น scarf joint ที่ดูน่าเกลียดน้อยกว่า