Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น  (อ่าน 1737 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

SOMCHAI2511

  • member
  • ***
  • กระทู้: 28
แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น
« เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2020, 15:35:29 »
แอคชั่นสูงกว่าแรงดึงย่อมสูงกว่าใช่ไหมครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,167
Re: แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2020, 16:31:08 »
ไม่ใช่ครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,167
Re: แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2020, 20:53:34 »
Action สูงเกิดจากคอโก่งหรือคอยกซึ่งมีผลให้ระยะห่างระหว่าง nut กับ saddle หรือ scale length สั้นลงมีผลให้แรงดึงของสายลดลงด้วยตามสูตรด้านล่างครับ





เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้กีตาร์ action สูงเล่นยากกว่ากีตาร์ action ต่ำเมื่อใช้สายขนาดและชนิดเดียวกันเป็นเพราะว่าเราต้องกดสายแรงขึ้นเพื่อให้มันยืดตัวลงไปแตะ fret wire หรือ fingerboard สายยิ่งสูงก็ยิ่งต้องยืดตัวเยอะขึ้นทำให้ต้องใช้แรงมากขึ้น ทฤษฏี elastic linear deformation ของสายนี่อยู่ภายใต้ Hooke's Law ครับ


SOMCHAI2511

  • member
  • ***
  • กระทู้: 28
Re: แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2020, 11:08:31 »
หมายถึงกีตาร์ตัวเดียวกัน ถ้ารู้สึกว่าแอ็คชั่นสูงไป  แล้วเราปรับแอ็คชั่นให้ต่ำลงโดยการฝน saddle ให้ต่ำลงและตะไบร่องให้สายต่ำลงอีก มันจะเล่นง่ายขึ้น ทำตามนี้แรงตึงของสายจะลดลงไหมครับ?

nessie

  • member
  • ***
  • กระทู้: 197
Re: แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2020, 12:07:51 »
หมายถึงกีตาร์ตัวเดียวกัน ถ้ารู้สึกว่าแอ็คชั่นสูงไป  แล้วเราปรับแอ็คชั่นให้ต่ำลงโดยการฝน saddle ให้ต่ำลงและตะไบร่องให้สายต่ำลงอีก มันจะเล่นง่ายขึ้น ทำตามนี้แรงตึงของสายจะลดลงไหมครับ?

-ไม่ลดลงครับ เล่นง่ายเพราะกดนิดเดียวก็ถึงเฟร็ต แรงตึงยังเท่าๆเดิมๆ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,167
Re: แรงดึงสายกับความสูงของแอ็คชัั่น
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2020, 10:44:06 »
ขออธิบายใหม่ครับ




แรงดึง (tension) มีสองแบบคือแรงดีงคงที่ (รูป ก.) และแรงดึงแปรผัน (รูป ข. ค. ง.)

แรงดึงคงที่ (รูป ก.) ขึ้นอยู่กับ unit weight ประเภทและ pitch ของสายแต่ไม่เกี่ยวกับความสูงของสาย

แรงดึงแปรผันมีแหล่งกำเนิด 2 แหล่งคือ

1. แรงดีดสายจากนิ้ว (รูป ง.) แรงนี้ทำให้สายยืดและหดตามความถี่ที่กำหนด

2. แรงกดสายจากนิ้ว (รูป ข. ค.) แรงนี้แปรผันตามความสูงของสาย สายยิ้งเตี้ยแรงกดยิ่งต้องใช้น้อยลง