นักดนตรีผิวสี "โรเบิร์ต จอห์นสัน" ขายวิญญาณเพื่อฝีมือ? ...!

หลายท่านที่ชื่นชอบดนตรีบูลส์ แน่นอนว่าไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของนักดนตรีผิวสี โรเบิร์ต จอห์นสัน (Robert Johnson)
ผู้ที่วงการดนตรีบูลส์ต่างรำลือว่า เขาขายวิญญาณ... ให้กับ...ซาตาน เพื่อแลกกับฝีมืออันสุดยอดของเขา จะจริงจะเท็จอันใด คงไม่มีใคร
ที่จะพิสูจน์คำรำลือเหล่านั้นได้ แต่ฝีมืออันยอดเยี่ยมของเขาได้เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เฉกเช่นเดียวกับลมหายใจของเขา
ที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับดนตรีบูลส์ของเขา กับความสำเร็จที่เขาอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่า การขายวิญญาณให้กับซาตานในครั้งนั้น
จะทำให้โลกแห่งเสียงดนตรีบูลส์จะยังจดจำเขาได้อย่างไม่ลืมเลือน ซ้ำยังเป็นต้นแบบและตำนานให้ผู้คนได้ขับเรื่องราว และบทเพลง...ของเขา

โรเบิร์ต จอห์นสัน (Robert Johnson) เกิดวันที่ 8 พฤษภาคม 2454 (1911) ใน Mississippi, U.S. และได้บันทึกผลงานในช่วงปี 1936-1937
รวมผลงานเพลงจำนวน 29 เพลงอันเป็นสุดยอดของบทเพลงบูลส์ ซึ่งนักดนตรีรุ่นหลังๆ ต้องฟังและนำไปเป็นแรงบันดาลใจหรือต้นแบบ
ไม่ว่าจะเป็นดนตรีในแนว Rock, Folk ต่างก็ได้แรงบันดาลใจจาก Robert Johnson เช่น John Fogerty, Bob Dylan, Johnny Winter,
Jimi Hendrix, The Yardbirds, Led Zeppelin, The Allman Brothers Band, The Rolling Stones, Paul Butterfield, The Black Keys,
The Band, Neil Young, Warren Zevon, Jimmy Page, Jeff Beck, and Eric Clapton ผู้ซึ่งมีความศรัทธาในตัวของ Robert Johnson
เป็นอย่างมาก ซึ่งเคยได้ออกอัลบัม Me and Mr. Robert ซึ่ง Clapton ได้ tribute บทเพลงของ Robert Johnson รวม 14 บทเพลง

แน่นอนว่า นอกจากฝีมือกีต้าร์ของเขาจะสุดยอดแล้ว เสียงร้องของเขายังสุดยอดไม่แพ้กัน เดิม Robert Johnson เล่นกีต้าร์ได้อย่างอ่อนหัด
แต่เขากลับเล่นฮาโมนิกาได้ดีเยี่ยม นักดนตรีรุ่นพี่หลายๆ คนต่างแนะนำให้เขาเอาดีทางด้านฮาโมนิกา แต่เขากลับไม่คิดเช่นนั้น 

ครั้งหนึ่ง Robert Johnson หายไปจากหมู่บ้านอย่างลึกลับ หลังจากนั้นไม่กี่เดือนเขากลับมาในหมู่บ้านใหม่ด้วยฝีมือการเล่นกีต้าร์บูลส์ระดับ...
ปรามาจารย์ วันที่เขากลับมา เขาได้เดินเข้าไปในบาร์เหล้าแห่งหนึ่งที่เขามักชอบไปแจมดนตรีบูลส์ด้วยหีบเพลงและฮาโมนิกาที่เขาถนัด
ผู้เฒ่าสองคนที่เล่นในบาร์แห่งนั้นเปิดโอกาสให้เขาได้ขึ้นเวทีด้วยการเล่นกีต้าร์บูลส์ เขาแสดงมันได้อย่างยอดเยี่ยมชนิดเรียกว่า "เหนือชั้น"
ซึ่งไม่มีคำอธิบายได้ว่า ไม่กี่เดือนที่เขาหายไปอย่างไร้วี่แววนั้น เขาไปฝึกฝนฝีมือ ลวดลาย และชั้นเชิงการเล่นที่เหนือชั้นนั้นมาจากที่ไหน
หรือใครเป็นผู้ถ่ายทอดให้กับเขา จนหลายคนต่างซุบซิบเป็นที่กล่าวขานว่า เขาขายวิญญาณให้กับซาตาน ณ บริเวณสี่แยกที่เรียกว่า...
เดลต้ามิสซิสซิปปี

มันเป็นการปรากฎตัวครั้งใหม่ กลับกลายเป็นการปรากฎตัวที่หลายคนต่างยกย่องในฝีมือของเขา ฝีมือที่ซึ่งเป็นพลังอำนาจที่ลึกลับ ไม่นาน
ทั้งละแวกลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ก็มีข่าวแพร่สะพัดออกไป ว่า Robert Johnson ได้ขายวิญญาณเพื่อแลกกับฝีมืออันสุดยอดนี้! แต่มันก็เป็นเรื่อง
ที่ร่ำลือที่ปราศจากการพิสูจน์หรือค้นหาข้อเท็จจริง แต่ทิ้งไว้เพียงความทึ่ง งง สงสัย และนับถือในฝีมือของเขา

Robert Johnson ได้จบชีวิตลงเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2481 (1938) ด้วยอาการเจ็บป่วย บางมีคำเล่าขานว่า เขาโดนวางยาในแก้วเหล้า 
จากผู้ชายลึกลับคนหนึ่งที่หึ่งหวงภรรยาตนเองที่มาเกี่ยวพันกับ Robert Johnson จะว่าไปแล้วเสียงเล่าขานในเรื่องความเจ้าชู้ของเขาก็ไม่เบา
ทีเดี่ยว ซึ่งคงไม่ต่างกันกับ Ray Charles (อ่านเรื่องราวของ Ray Charles ที่ผมเคยเขียนไว้ในเมนูแนะนำอัลบัม คลิก) ผู้ซึ่งเป็นตำนานดนตรีบูลส์อีกคนหนึ่ง 

Robert Johnson ซึ่งขณะที่เขาเสียชีวิตนั้นเขามีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น!

ฉายาของ Robert Johnson:
"Grandfather of Rock-and-Roll" "Manblues"

บทเพลงอันยอดเยี่ยมของ Robert Johnson:
Robert Johnson ได้บันทึกบทเพลงของเขาไว้ 29 เพลง ในปลายปี 1936 - 1937
"32-20 Blues"
"Come on in My Kitchen" (two versions) 
"Cross Road Blues" (two versions) 
"Dead Shrimp Blues" 
"Drunken Hearted Man" (two versions) 
"From Four Till Late" 
"Hellhound on My Trail" (see also: Hellhound) 
"Honeymoon Blues" 
"I'm a Steady Rollin' Man" 
"I Believe I'll Dust My Broom" (บางครั้งเรียกว่า "I Believe My Time Ain't Long") 
"If I Had Possession over Judgment Day" 
"Kind Hearted Woman Blues" (two versions) 
"Last Fair Deal Gone Down" 
"Little Queen of Spades" (two versions) 
"Love in Vain" (two versions) 
"Malted Milk" 
"Me and the Devil Blues" (two versions) 
"Milk Cow's Calf Blues" (two versions) 
"Phonograph Blues" (two versions) 
"Preachin' Blues (Up Jumped The Devil)" 
"Rambling on My Mind" (two versions) 
"Stones in My Passway" 
"Stop Breakin' Down Blues" (two versions) 
"Sweet Home Chicago" 
"Terraplane Blues" 
"They're Red Hot" 
"Traveling Riverside Blues" (two versions)
"Walkin' Blues" 
"When You Got a Good Friend" (two versions)

วงการดนตรีต่างให้ความเคารพ และยกย่องต่อผลงานของของ Robert Johnson บ้างนำมาเขียนเป็นหนังสือ บทวิจารณ์
และบางก็นำมาเป็นภาพยนตร์ ซึ่งได้สร้างจากแรงบันดาลใจ และได้ออกฉายในปี 1992 ในเรื่อง The Search for Robert Johnson
และในปี 1986 ในเรื่อง Crossroads ที่นำแสดงโดย Ralph Macchio เด็กชายที่ต้องดวลกีต้าร์กับ Steve Vai นักกีต้าร์จอมเทคนิคแห่งยุค
ผู้ซึ่งรับบทเป็นซานตาน โดยหนังเรื่อง Crossroads นี้ ผู้สร้างได้นำเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับ Robert Johnson มาเป็นเค้าโคลงในเรื่อง

ทิ้งท้ายกับ… ฉากที่ดวลกีต้าร์ Ralph Macchio เด็กชายที่ต้องดวลกีต้าร์กับ Steve Vai