รีวิว “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า GW E-333” Green & White Mini-Wireless-Dehumidifier E-333
หลังจากที่ได้เข้าใจเรื่อง ความเกี่ยวข้องระหว่าง “ความชื้นกับกีตาร์โปร่ง” ไปแล้ว
ตามที่ผู้เขียนได้พูดถึงก่อนหน้านี้ -> http://acousticthai.net/humidity-and-your-guitar.html
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า นอกจากความชื้นจะทำความเสียหาย ให้กับไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้หน้า ไม้ข้างและหลัง คอกีตาร์
และส่วนประกอบต่างๆ เช่น สายกีตาร์ ลูกบิด แผงวงจรไฟฟ้าของ pickup กีตาร์ ให้มีปัญหาการใช้งาน
อีกประเด็นสำคัญคือ ทำให้กีตาร์ “ไม่สามารถถ่ายทอดเสียง ได้อย่างควรจะเป็น”
เนื่องจากไม้ ที่เป็นส่วนสำคัญของเสียงกีตาร์ ได้ “อุ้มความชื้น ไว้สูงเกินไป”
ไม้อุ้มความชื้นมาก ทำให้เกิดน้ำหนักเพิ่มขึ้น การสั่นตัวจะทำได้ไม่ดี
หากดูแลความชื้นในระดับเหมาะสม กีตาร์ของเราคงจะเปล่งเสียงได้กังวาน ใส และชัดเจนทุกตัวโน็ต มากขึ้นเป็นแน่
บทความครั้งนี้ ผู้เขียนจึงตั้งใจจะขอรีวิว “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” อุปกรณ์สำคัญสำหรับปกป้องดูแลกีตาร์โปร่ง
หน้าที่ของมันคือ “ดูดความชื้นออกจากกีตาร์” เรามาดูกันว่า มันจะข้อดีข้อเด่น และ น่าใช้ อย่างไรบ้าง
เมื่อนึกถึงการดูดความชื้นจากตัวกีตาร์โปร่ง หลายๆท่านคงนึกถึง…เม็ดซิลิก้าเจลเม็ดเล็กๆ สีขาว ใช่ไหม?
คำตอบคือ ใช่… แต่ปัจจุบัน การออกแบบและพัฒนาไปไกลกว่าเดิมมาก เพื่อเพิ่มความสะดวกและมีคุณภาพ มากขึ้น
จึงเกิดอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” ที่มีเม็ดซิลิก้าเจล อยู่ด้านใน
โดยจะใช้ “เม็ดซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน” ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดสีขาวทุกประการ
เพียงแต่ “มีการเพิ่มสารพิเศษ” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการตรวจวัดปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ ทำให้ผู้ใช้รู้ว่า
มีการเก็บความชื้นไว้ในปริมาณเท่าไร
ในกรณีนี้ ผู้เขียนขอแนะนำ “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า”
Mini Portable Dehumidifier ยี่ห้อ Green & White รุ่น E-333
คุณสมบัติ และจุดเด่นของเครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า :
– ใช้ดูดความชื้นในกีตาร์
– ใช้ดูดกลิ่นอับชื้นในพื้นที่เล็กๆ เช่น กล่องเก็บของ กล้อง รองเท้า ตู้เสื้อผ้า เป็นต้น
– ขนาดกระทัดรัด พกพาสะดวก ใช้งานง่าย
– วัสดุ (body) แข็งแรงมีความทนทาน ปลอดภัยด้วยหีบห่ออย่างดี
– เลือกใช้เม็ดซิลิก้าเจลสีน้ำเงิน สามารถตรวจวัดปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ด้วยการเปลี่ยนสี
– ใช้งานได้นานประมาณ 7-10 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นที่มีมากหรือน้อย ณ ช่วงเวลานั้นๆ)
– นำกลับมาใช้ใหม่ หลังจากการชาร์ตไฟฟ้าเพื่อไล่ความชื้นออกจากตัวกล่อง ใช้เวลาประมาณ 10-12 ชั่วโมง
– อายุการใช้งานนานถึง 10 ปี (ตามสเปค/การันตีโดยผู้ผลิต)
วิธีการใช้งาน เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า GW E-333 :
– ก่อนการใช้งาน ให้นำเครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า ไปเสียบปลั๊กไฟ ประมาณ 10-12 ชั่วโมง
เพื่อไล่ความชื้นออก สังเกตว่า “เม็ดซิลิก้าเจลสีชมพูอ่อนๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม” แสดงว่าพร้อมใช้งาน
– หลังจากนั้น ให้นำเครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า วางไว้ที่กล่องกีตาร์ (ตามภาพประกอบด้านต้น)
แนะนำให้หาผ้าเช็ดกีตาร์ รองตัวเครื่องดูดความชื้น เพื่อป้องกันการกระแทกกับ headstock guitar
– เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 7-10 วัน (จะมากหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นที่มีมากหรือน้อย ณ ช่วงเวลานั้นๆ)
สถานะของเม็ดซิลิก้าเจล จากสีน้ำเงินที่เต็มประสิทธิภาพ จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อถึงเวลาที่ต้องชาร์จไฟ
เพื่อไล่ความชื้นออกด้วยความร้อน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
สิ่งสำคัญ ที่ต้องทำความเข้าใจ :
ระยะเวลาของการ “เปลี่ยนสีสถานะของเม็ดซิลิก้าเจล” จะใช้เวลามาก หรือน้อยนั้น
ขึ้นอยู่กับสถานที่ นั้นๆ ว่า…ความชื้นมีมากหรือน้อย รวมถึงช่วงเวลาด้วย ตัวอย่างเช่น…
สถานที A มีความชื้นสูงระดับ 90% แต่ สถานที่ B มีความชื้นสูงแค่เพียงระดับ 60%
สถานะของเม็ดซิลิก้าเจลที่นำไปวางไว้ทีสถานที่ A ย่อมเปลี่ยนสีได้เร็วกว่า สถานที่ B อย่างแน่นอน
ดังนั้น หากเป็นช่วงเวลาหรือสถานที่ ที่มีความชื้นต่ำ สถานะของเม็ดซิลิก้าเจล จากสีน้ำเงิน
ก็ต้องใช้เวลานาน จึงจะเปลี่ยนไปเป็นสีชมพู
ดังนั้น เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายในอนาคต
ที่จะเกิดกับตัวกีตาร์และส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน และเพิ่มอายุการใช้งาน ให้ยาวนานขึ้น
Test Drive ทดสอบโดยผู้ใช้งานจริง เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ ของ “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า”
ขั้นตอนที่ (1) ตรวจวัดค่าความชื้นในห้องเก็บกีตาร์ กันก่อน
ปกติผู้เขียนจะวางกีตาร์ไว้ในห้องนอน ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้นำ “เครื่องวัด mini Hygro-Thermometer” จากค่าย Taylor Guitar
มาวางไว้ภายในห้องนอน เพื่อตรวจวัดค่าความชื้น ผลลัพท์คือ Thermometer แสดงให้เห็นว่า
ความชื้นภายในห้องนี้ เท่ากับ 71%” (ตามภาพประกอบข้างต้น) ถือว่าเป็น % ที่สูงมาก จัดว่าอันตรายต่อกีตาร์ มากพอสมควร
ขั้นตอนที่ (2) ตรวจวัดค่าความชื้นในกล่องกีตาร์ ที่ยังไม่มี “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” อยู่ในกล่องเก็บกีตาร์
ผู้เขียนได้นำ เครื่องวัด Thermometer วางลงในกล่องกีตาร์ ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ผลลัพท์คือ
เปอร์เซ็นต์ความชื้น ลดลงจากเดิมที่ 71% “ลดลงมาเหลือที่ 60%” (ตามภาพประกอบข้างต้น)
ในระดับ 60% ถือว่าไม่อันตรายมากนักสำหรับกีตาร์ ยังพอรับไว้ ยกเว้น มันจะขึ้นไปอีก!!
บททดสอบนี้ แสดงให้เห็นว่า เปอร์เซ็นต์ความชื้นในกล่องกีตาร์(60%) มีน้อยกว่า ภายนอกกล่องกีตาร์(71%)
พอสรุปได้ว่า การเก็บกีตาร์ไว้ในกล่องกีตาร์ ย่อมดีกว่า การนำกีตาร์ไว้ข้างนอกกล่อง อย่างแน่นอน
ขั้นตอนที่ (3) หาวิธีควบคุมความชื้น ด้วยการนำ “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” มาใช้งาน
…จากการทดสอบในขั้นตอนที่ 2 นั้น ผู้เขียนยังรู้สึกไม่พอใจ กับความชื้นในระดับ 60%!
เนื่องจากตามมาตรฐาน ที่ทางผู้ผลิตกีตาร์ หลายๆ แบรนด์ดังระดับโลก ต่างให้คำแนะนำตรงกันว่า
ความชื้นที่เหมาะสมกับกีตาร์โปร่ง ควรอยู่ที่ระดับประมาณ 45-55% (percent) เป็นมาตรฐาน
ทางเดียวที่จะควบคุมระดับความชื้นในลงมา ณ จุดที่เราพอใจได้ ก็คือ หาเครื่องดูดความชื้น มาใช้งาน
ผู้เขียนจึงได้นำ “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” ที่เตรียมไว้ ใส่ลงในกล่องกีตาร์ ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
และเมื่อกลับมาเปิดกล่องกีตาร์ เพือดูระดับความชื้น ผลลัพท์คือ เปอร์เซ็นต์ความชื้น ลดลง !!
คือ จากเดิมที่ 60% มาอยู่ระหว่าง 51-52% !! (ตามภาพประกอบข้างต้น) ถือว่าเป็นระดับความชื้น
ที่ผู้เขียนพอใจมาก
ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า การนำเครืองดูดความชื้น มาวางไว้ในกล่องกีตาร์
ช่วยลดเปอร์เซ็นต์ความชื้น ได้ค่อนข้างมากทีเดียว
ข้อสังเกตอีกประเด็น ผู้เขียนได้ลองเปิดเครื่องปรับอากาศ(air condition) ในห้องเก็บกีตาร์ ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
เปอร์เซ็นต์ความชื้นจากเดิมที่ 51-52% จะสามารถลดลงมาอยู่ที่ 45% บวกลบนิดหน่อย (ตามภาพประกอบข้างต้น)
ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญ ที่ทำให้เห็นว่า อากาศที่เย็น มีส่วนช่วยทำให้ความชื้นลดลงได้ ค่อนข้างมากทีเดียว
ดังนั้น หากนำกีตาร์ ออกมาเล่นในห้องทีเปิดแอร์ ย่อมมีผลดีกว่า การที่จะนำกีตาร์ออกมาเล่นในที่ open (โล่งแจ้ง) โดยไม่มีแอร์ แน่นอน
บทสรุป ความจำเป็น ของ “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า”
ประเด็นหนึ่ง…
กีตาร์โปร่ง โดยเฉพาะกีตาร์ สเปค All Solid จะดูดและอุ้มความชื้น ไว้ได้อย่างรวดเร็ว กว่า Laminate
ดังนั้น ท่านที่มีกีตาร์ All Solid หรือแม้แต่ Top Solid ผู้เขียนแนะนำว่า ควรหา “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” มาไว้ใช้
ประเด็นสอง…
สำหรับกีตาร์ใหม่ ยิ่งจำเป็นมาก เพราะยังมีการอุ้มความชื้นอยู่มาก อีกทั้งไม้อาจจะยังไม่คุ้นชิน กับเปอร์เช็นต์ความชื้นที่ขึ้นลง บ่อยๆ
การคุมความชื้นให้คงที และอยู่ในระดับ % ที่เหมาะสม ย่อมเป็นผลดีอย่างแน่นอน
ส่วนกีตาร์อายุหลายสิบปี อาจจะมีความเสี่ยงเรื่องความชื้นน้อย เพราะไม้ได้คลายความชื้นออกไปมาก แล้ว
แต่ไม่ใช่จะไม่เสี่ยง! เพราะเมื่อใดที่ความชื้นสูงถึงระดับ 70% ขึ้นไป ย่อมมีความเสี่ยงสูงตามมา
ประเด็นสาม…
ความชิ้นที่เหมาะสม นอกจากป้องกันเรื่องความเสียหายต่อกีตาร์ แล้ว ยังส่งผลมายังเรื่อง “เสียงกีตาร์” !?
เพราะหากไม้ “อุ้มความชื้น ไว้สูงเกินไป” จะทำให้กีตาร์ “ไม่สามารถถ่ายทอดเสียง ได้อย่างที่ควรจะเป็น”
นั่นคือ ไม้อุ้มความชื้นมาก ทำให้เกิดน้ำหนักเพิ่มขึ้น การสั่นตัวจะทำได้ไม่ดี หรือจะมีอิสระในการสั่นไม่มาก เท่าที่ควรจะเป็น
ผู้เขียนเชือว่าตามหลักการนี้… หากดูแลความชื้นในระดับเหมาะสม กีตาร์จะเปล่งเสียงได้กังวาน ใส และชัดเจนทุกตัวโน็ต มากขึ้นเป็นแน่
“เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า” จึงเป็นเสมือน อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง และอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับกีตาร์โปร่ง
และช่วยให้เรา ได้ยินเสียงกีตาร์ ที่ดีขึ้นอีกด้วย
สอบถามรายละเอียด “เครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า GW E-333″
ได้ที่ร้าน Music Collection (คลิก www.Music.co.th)
แฟนเพจ https://www.facebook.com/musiccollectionthai
ผู้เขียน/เรียบเรียง โดย
ทีมงานอะคูสติกไทย