รู้จักไม้ Rosewood ไม้ยอดนิยมของคนรักกีตาร์โปร่ง:
ไม้ Rosewood จัดเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมาประกอบใช้เป็น
ส่วน Back & Sides (ไม้หลัง/ไม้หลัง) ของกีตาร์โปร่ง เนื่องจากให้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุด
อีกทั้ง Rosewood ยังให้ลายไม้ ที่มีความสวยงาม และยังมีความทนทานต่อทุกสภาวะอากาศอีกด้วย(ไม่เปราะง่าย)
ไม้ Roewood มีอยู่หลากหลายสายพันธ์ แต่ที่ถูกใช้กันมากคือ Indian Rosewood
ส่วนที่มีราคาแพงและหายากที่สุด คือ “Brazilian Rosewood” ซึ่งในยุค คศ. 1930-1960
บริษัทที่ทำกีตาร์สายเหล็กส่วนมาก จะนิยมใช้ไม้ “Brazilian Rosewood” กันอย่างมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป
ไม้ “Brazilian Rosewood” เริ่มน้อยลง ต่อมาจึงได้ถูกขึ้นเป็นไม้สงวน เช่นในประเทศอเมริกา
หากต้องการส่งไม้ “Brazilian Rosewood” ออกจากนอกประเทศ จะต้องมีการทำเรื่องขออนุญาตส่งออก
มีขั้นตอนอยู่มากมาย รวมทั้งยังต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบอีกด้วย
จึงทำให้ต้นทุนของกีตาร์ที่ทำจากไม้ “Brazilian Rosewood” สูงตามไปด้วย
ไม้ Indian Rosewood มีชื่อเต็มว่า East Indian Rosewood
จุดกำเนิดจากประเทศอินเดีย ในขณะที่ Brazilian Rosewood หายากขึ้น
ไม้ East Indian Rosewood จึงเริ่มถูกใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่กลาง ปี ค.ศ. 1960
ไม้ชนิดนี้ เป็นไม้มีสีน้ำตาลเข้ม มีลายไม้ที่ตรง หาง่ายราคาจึงไม่แพงนัก
แต่หากเป็นไม้คัดเกรด ลายไม้มีความถี่ๆ ก็จะค่อนข้างหายาก และมีราคาสูงพอควร
บริษัทผู้สร้างกีตาร์มักจะคัดเอาไว้ ใช้กับกีตาร์รุ่นที่มีราคาสูง แต่ก็เชื่อกันว่า
ความสวยงามของลายไม้นั้น ไม่ได้ส่งผลต่อเสียงกีตาร์แต่อย่างไร
ไม้ East Indian Rosewood นี้ ให้เสียงต่ำทุ้มฟังสบายหู เสียงเบสที่หนา ให้ความลึกของเสียง ฟังรู้สึกอุ่นๆ
มีความคมชัดใสเหมือนโลหะ และ ให้เสียงที่มีความสมดุลย์(Balance) ในทุกๆย่านเสียง อย่างยอดเยี่ยม
เมื่อนำไปประกอบ Back & Sides ในกีตาร์ตัวใหญ่ เช่น ทรง Dreadnought หรือ Jumbo Body
จะยิ่งให้เสียงที่กังวาลมากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ แต่หากนำไปใช้ในกีตาร์ตัวเล็กลงมาเช่น OM หรือ GA
ก็จะช่วยทำให้กีตาร์เสียงดังขึ้น อีกทั้งโน๊ตเสียงในแต่ละเสียงนั้น ยังมีความหนา ลักษณะอ้วนกลม จึงมีพลังเสียงที่ดี
นอกจากไม้ East Indian Rosewood ที่มีจุดกำเนิดจากประเทศอินเดีย แล้ว ยังมีอีกหลายๆสายพันธ์
ที่มีจุดกำเนิดในประเทศอื่นๆ ที่นิยมใช้สร้างกีตาร์ในยุคต่อมา เช่น Madagascar Rosewood Honduran Rosewood
Cocobolo Rosewood และ African Rosewood เป็นต้น
ไม้ Rosewood เจอะปัญหาหนัก !
เมื่อไม้ Rosewood ได้รับความนิยม และถูกตัดนำมาใช้งานในหลากหลายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์ หรือ ฟอนิเจอร์ ฯลฯ
จึงไม่แปลกเลยที่จะถูกจับตาจากหน่วยงานอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงได้เกิดอนุสัญญา “ไซเตส(CITES)” ขึ้นมา
ไซเตส(CITES) ก่อตั้งเมื่อปี 2518 เป็นอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์
ประเทศไทยนั้น จัดเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 วันที่ 21 มกราคม 2526
โดย CITES จัดเป็น 3 หมวด คือ Appendix I, II และ III ตามระดับความจำเป็นในการปกป้อง
…สำหรับไม้ RoseWood นั้น ถูกจัดอยู่ใน CITES Appendix II คือ ห้ามส่งออกโดยไม่ใด้รับอนุญาติ
ดังนั้น หากใครจะส่งออกจะต้องมี Export Permit ก่อนส่งออก หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลเรื่องส่งออกคือศุลกากร
โดยจะตรวจสอบ Export Permit ก่อนส่งออกทุกๆครั้ง หากผู้ส่งออกไม่มีการขออนุญาตการจะโดนยึดสินค้า
ในทางกลับกัน เมื่อสินค้ามาถึงเมืองไทย ผู้นำเข้าเองก็แสดงเอกดังกล่าวเพื่อยืนยันว่า สินค้าดังกล่าวส่งออกมาอย่างถูกต้องเช่นกัน
ปัจจุบันการนำเข้าและส่งออกไม้ Rosewood นั้น ทำได้ยากขึ้น เนื่องจากจะต้องขออนุญาตส่งออกหรือนำเข้า ตามที่กล่าวข้างต้น
ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศอเมริกา แต่รวมถึงอีก 183 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีประเทศไทย อยู่ในนั้นด้วย
โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2560 เป็นต้นมา
แน่นอนว่า กีตาร์โปร่งที่มีส่วนประกอบของ Rosewood ต่างได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์ที่ทำจาก
ประเทศอเมริกา เกาหลี และรวมไปถึงกีตาร์ที่ทำในประเทศจีน ที่ช่วง 3-5 ปีมานี้ กีตาร์ส่วนใหญ่มากกว่า 80% ทำจากจีน
ดังนั้น กีตาร์โปร่ง ที่มีส่วนประกอบ Rosewood(ไม่ว่าจะส่วนใดก็ตาม) ที่ส่งออกมาไทย หลังวันที่ 2 มกราคม 2560 ก็จะต้องมี
ใบอนุญาตส่งออกจากประเทศต้นทางกำกับมาด้วยทุกๆตัว หากไม่มีเอกสารที่ได้รับอนุญาตก็จะถูกยึดและทำลายต่อไป
นอกจากนั้นแล้ว ผู้นำเข้ายังมีความผิดทางกฏหมายอีกด้วย
ช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า กีตาร์หลายๆแบรนด์ดังของโลก เริ่มมีการขยับปรับเปลี่ยนสเปคกีตาร์
เช่น กีตาร์ รุ่น XXX เคยใช้สเปค Rosewood Back/Sides ก็ได้ปรับมาใช้ไม้อื่นแทน อาจเพราะว่า ไม้ Rosewood
ในสต๊อกมีเหลือไม่มาก จึงได้พยายามเลี่ยงที่จะใช้ไม้ Rosewood กับกีตาร์รุ่นล่างๆ และนำไปใช้กับกีตาร์รุ่นราคาสูงๆ แทน
หรือแม้แต่ กีตาร์โปร่งรุ่นสูงๆ(ที่มีราคาสูง) ก็ยังมีการปรับเปลี่ยนสเปคไม้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น นอกเหนือจากสเปค Rosewood Back/Sides
ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ เช่น อาจจะใช้ KOA ฺBack/Sides มาทดแทนเป็นต้น
บริษัทผู้ผลิตกีตาร์หลายๆแบรนด์ เจอะปัญหาไม้ Rosewood ในสต๊อกที่มีอยู่ ไม่สามารถหาหลักฐานการที่มาของไม้ได้
เนื่องจากไม้ Rosewood บางล๊อตที่อยู่ในสต๊อกนั้น มีมาหลายปี บางกองอาจจะเกิน 10 ปี ดังนั้น เป็นการยากเหมือนกัน
ที่จะไปค้นหาเอกสาร หรือตามหาแหล่งที่มา จึงทำให้กองไม้ Rosewood นั้น ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากปล่อยมันไว้แบบนั้น !!!
ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า หากบริษัทผู้ผลิตกีตาร์ในต่างประเทศ ต้องการส่งออกกีตาร์โปร่งที่มีส่วนประกอบของ Rosewood นั้น
จะต้องมีหลักฐานชัดเจนที่บ่งบอกได้ว่า ไม้ Rosewood ที่ได้มานั้น ซื้อมาก่อนปี 2560 หรือ 2017 นั่นเอง
และในการขออนุญาตนั้น จะมีกระบวนการตรวจสอบมากมายหลายขั้นตอน และมีค่าธรรมเนียมหลาย USD กระบวนการเหล่านี้
จึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของผู้ผลิตกีตาร์ และ กระทบต่อผู้รักกีตาร์ที่มักชอบสั่งซื้อกีตาร์ทางเวบไซด์ในต่างประเทศ
เพราะ หากผู้ส่งไม่มีเอกสารขออนุญาตส่งออกแล้ว หากหลุดรอดออกมาถึงไทย อาจจะถูกยึดสินค้า ได้ !!
ดังนั้น ก่อนสั่งสินค้า จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ทางผู้ส่งมี Export Permit สามารถออกเอกสารนั้นได้หรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยง
ไม้ Rosewood หลายพันธุ์ ที่มีการปลูกป่าทดแทน เช่น Indian Rosewood ดังนั้น หากบริษัทผู้ผลิตกีตาร์รายใด มีแหล่งปลูกป่าทดแทน ก็ถือว่าโชคดี
เพราะ ไม้ Rosewood ถูกจัดอยู่ใน CITES Appendix II กล่าวคือ ไม่ได้ห้ามส่งออก แต่ขอให้มีเอกสารใบรับรอง ว่าเป็นไม้จากสวนป่าทดแทน
พอสรุปทิ้งท้ายได้ว่า สำหรับผู้รักกีตาร์โปร่งนั้น หากยังรัก และหลงไหลในไม้ Rosewood อยู่ละก็ ต้องรีบๆ กันหน่อย
เพราะอนาคตอันไม่ไกลจากนี้ กีตาร์ Rosewood อาจจะมีราคาสูง ขึ้นเทียบชั้นเช่นไม้ “Brazilian Rosewood” สายพันธ์รุ่นพี่ อย่างแน่นอน.
รู้จักไม้ Rosewood สายพันธ์ต่างๆ และ ลักษณะเสียง:
พบว่าในปัจจุบันมีเกือบ 10 ชนิด ที่ถูกนำมาใช้เป็นด้านหลัง และข้างของกีตาร์ ที่ถูกใช้กันมาก
และเห็นบ่อยที่สุดก็คือ “Indian Rosewood” ส่วนที่หายาก และแพงที่สุดก็คงจะเป็น “Brazilian Rosewood”
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างไม้ Rosewood ยอดนิยม มาสัก 5 ตัวอย่าง เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักลักษณะเสียงของ Rosewood แต่ละสายพันธ์
Indian Rosewood
มีชื่อเต็มว่า East Indian Rosewood จุดกำเนิดจากประเทศอินเดีย ถูกใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่กลาง
ปี ค.ศ. 1960 ในขณะที่ Brazilian Rosewood หายากขึ้น. East Indian Rosewood เป็นไม้มีสีน้ำตาล
ลายตรง หาง่ายราคาจึงไม่แพงนัก แต่ที่เป็นไม้คัดลายถี่ก็ค่อนข้างหายาก และมีราคาสูงพอควร
ไม้นี้ให้เสียงต่ำทุ้มดังกังวาล โดยเฉพาะเมื่อใช้ประกอบกีต้าร์ขนาดใหญ่ บางท่านวิจารณ์ว่าเสียงสูง
ที่ได้จากไม้มีความคมชัดใสเหมือนโลหะ
Brazilian Rosewood
บางทีอาจถูกเรียกว่า “Jacaranda” เป็นไม้ที่มีปริมาณจำกัดเพราะถูกตัดโค่นมากเกินไปในอดีต
ปัจจุบันจึงมีราคาแพงมาก ต้นกำเนิดมาจากประเทศบราซิล มีสีน้ำตาลเข้มออกม่วง โดยมากจะมี
ลวดลายไม้เหมือนใยแมงมุม เนื้อไม้มีกลิ่นหอม หลายท่านยอมรับว่าเป็นไม้ที่ให้เสียงดีที่สุดในตระกูลนี้
แต่ก็มีหลายท่านที่เชื่อว่าเสียงไม่แตกต่างไปจาก Indian Rosewood สักเท่าไหร่ ไม้นี้ยังมีจุดอ่อน
คือปริแตกได้ง่ายถ้าถูกเก็บในที่ๆ ความชื้นไม่พอเพียงหรือ ที่ๆ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป
Madagascar Rosewood
ไม้นี้จัดว่าเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติคล้าย Brazilian Rosewood สีน้ำตาลแดงปนส้มและม่วง
และมีลวดลายสวยงามมาก (ผู้เขียนเห็นแล้วติดใจมาก) ปัจจุบันผู้ผลิตกีต้าร์ Hand Made
เริ่มใช้ไม้ชนิดนี้มากขึ้น เพราะเชื่อว่ามีเสียงใสใกล้เคียง และอาจเป็นตัวแทน Brazilian Rosewood ในอนาคต
เนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ราคาจึงแพงพอควร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะหาได้ไม่ยากนัก
Honduran Rosewood
ในปัจจุบันไม้ชนิดนี้เริ่มหายากขึ้น เนื้อไม้จะแน่นกว่า Indian Rosewood และให้เสียง Balance
ดีเทียบเท่า Brazilian Rosewood บางท่านบอกเสียงใสเหมือนกระดิ่ง โทนสีของไม้ค่อนข้างไปทาง
อิฐแดง บางครั้งก็มีลายดำ ไม้บางชิ้นอาจมี Sapwood ตรงกลางทำให้ดูเป็นเอกลักษณ์แปลกตาดี
ข้อดีอีกอย่างของไม้นี้คือ ไม่เปราะเกินไปง่ายต่อการตัดผลิต
Cocobolo Rosewood
ไม้นี้มีสีส้มแดง ตอนถูกตัดใหม่ๆ แต่จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลแดงลายดำตามกาลเวลา เป็นไม้หนักกว่า
ให้เสียงใกล้เคียงกับ Brazilian Rosewood แต่ราคาไม่แพงเท่า ข้อเสียคือเปราะ และปริแยกง่ายถ้ารักษาไม่ดี
ส่งท้ายบทความนี้ หากท่านเป็นผู้ที่มีรสนิยมชอบความสวยงามบนไม้ Rosewood หรือ ชอบความมีเสน่ห์แห่งเสียงจากไม้ชนิดนี้
คงต้องรีบๆ ตัดสินใจซื้อสะสมไว้ก่อนที่จะมีราคาขยับสูง และนับวันยิ่งหาได้ยากขึ้น ก่อนที่จะมาร้องเสียใจภาคหลัง
เข้าตำราที่ว่า รู้อะไรก็ไม่เท่า “รู้งี้” ….. !