Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ  (อ่าน 4216 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 10:47:59 »
กระทู้นี้เป็นภาคสองของกระทู้ "ประวัติโรงงาน Guild" ครับ

http://acousticthai.net/webboard/index.php?topic=58116.0

ประวัติโรงงาน Guild ภาคจบ

กีตาร์ Guild นั้นเกิดใด้หลังจากกีตาร์ Epiphone ย้ายโรงงานจาก New York, New York ไปเมือง Philadelphia, PA ในปี 1952 เพราะทะเลาะกับสหภาพแรงงานจนต้องปิดโรงงานไปสี่เดือน ตอนนั้นมีช่างเชื้อสายอิตาเลี่ยนหลายคนๆไม่อยากย้ายก็เลยไปชวน Alfred Dronge ซึ่งร่ำรวยมาจากการนำเข้าหีบเพลงชัก (accordian) จากอิตาลี่มาทำกีตาร์ยี่ห้อใหม่กันเล่นดีกว่า

ในปี 1952 นั้นดนตรีร้อคยังไม่เกิด พวกชนชั้นกรรมกรก็ฟังเพลง country ส่วนพวกคนมีสตางค์ก็ฟังเพลง jazz กีตาร์ Epiphone ในยุคนั้นเขาครองตลาดกีตาร์ archtop อยู่แบบ Gibson ต้องอิจฉา ตัวอย่างกีตาร์ Epiphone ที่วางขายในยุคนั้นดูใด้ข้างล่างครับ







Al Dronge นั้นเป็นคนคิดการไกลก็เลยตัดสินใจที่จะผลิตกีตาร์โปร่งขายด้วยแบบ Gibson ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับช่างที่ทำกีตาร์ archtop ใด้ ในปี 1956 กีตาร์โปร่งของ Guild มีราคาขายดังนี้ครับ

F-20 = $85, F-30 = $125, F-40 = $165, F-50 = $240

กีตาร์ไฟฟ้า archtop นั้นราคาสูงกว่าและกำไรมากกว่ากีตาร์โปร่งพอสมควร:

1. X-150 = $210, X-175 = $285, X-350 + $375, X-550 = $465

ในช่วงนั้นไม่มีใครคิดว่าดนตรี rock, folkและ country จะทำให้เกิดตลาดใหม่สำหรับกีตาร์โปร่งและไฟฟ้าในยุค '60s แผนการตลาดของ Guild จึงเน้นไปที่มือกีตาร์ jazz ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Gretsch หันไปหนุนมือกีตาร์ country แทน




ตอนนั้นไม่มีใครคิดหรอกครับว่าพวกขาร้อคฝั่งอังกฤษที่ชื่นชอบศิลปินอย่าง Chet Atkins และ Duane Eddy อย่างวง The Beatles, The Animals, The Who จะเอากีตาร์ Gretsch มาใช้จนขายดิบขายดีแบบผลิตไม่ทันในยุคนั้น ส่วนกีตาร์ไฟฟ้าของ Guild นั้นก็ขายใด้แบบเช้าชามเย็นชามเพราะไม่มีศิลปินใช้ (นอกจาก The Kinks)

ถึงจะไม่ติดกระแสเหมือน Fender, Gibson หรือ Gretsch แต่ Guild ก็ยังพยายามดันกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่ากีตาร์โปร่งในยุค '60s ซึ่งเห็นใด้ในโฆษณาที่ส่วนใหญ่หนักไปทางกีตาร์ไฟฟ้าและแอมป์




ส่วนกีตาร์โปร่งของ Guild นั้นแม้ทางบริษัทไม่ใด้ไปจ้างศิลปินมา endorse แต่เสียงและคุณภาพของมันก็ทำให้ศิลปินที่ดังเป็นพลุแตกในยุคปลาย '60s อย่าง Paul Simon และ John Denver ใช้ Guild เป็นกีตาร์คู่กาย




Guild น่าจะโชคดีที่ยอดขายไม่ใด้เพิ่มแบบฮวบฮาบเหมือน Gibson และ Martin ในยุคนั้นทำให้กีตาร์ Guild ไม่ต้องลดคุณภาพลงเพื่อผลิตให้มากขึ้นเหมือนคู่แข่ง การลดคุณภาพแบบนี้ในที่สุดก็ทำให้ผู้บริโภคเสี่อมความนิยมดังเห็นใด้จากยอดขายของ Martin ในยุค '70s ถึง '80s (กีตาร์ Gibson ก็ขายไม่ออกเหมือนกันแต่หาตัวเลขไม่ใด้ครับ)

ลองมาเทียบยอดขายของกีตาร์อเมริกันสามยี่ห้อดูครับ




Martin นั้นเกือบล้มละลายในยุคต้น '80s ที่กระแส disco มาแรงและไม่มีวงไหนใชกีตาร์เป็นเครื่องดนตรีหลัก ส่วน Ovation นั้นฮิตติดลมบนไปแล้ว ยอดขาย Guild ซึ่งเป็นกีตาร์โปร่งเกิน 90% ตกลงบ้างแต่ก็ยังไม่เดือดร้อนครับ

เดี๋ยวมาเล่าต่อครับ

TOM1869

  • member
  • ***
  • กระทู้: 19,247
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 12:12:50 »
ชอบ Guild เป็นกีต้าร์ที่อยากได้ ตั้งแต่ เรียนหนังสือ ช่วงนั้น นครหลวงการดนตรี ข้างตึกอื้อจือเหลียง เป็นตัวแทน แต่ได้แต่มอง ครับ





ได้มาแล้วไม่ผิดหวัง ครับ

ตัวนี้ F50R
Line id: 081-8718003

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 12:23:41 »
70's-80's สิ่งที่หายไปของ martin คืออะไรครับ การคัดไม้ หรือไปจ้างช่างที่ไม่มีทักษะ มาประกอบ เพื่อลดต้นทุน มันคืออะไรครับ แต่ถ้าประกอบไปซัก 10 ตัว ก็น่าจะเริ่มชำนาญแล้วครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 21:35:54 »
70's-80's สิ่งที่หายไปของ martin คืออะไรครับ การคัดไม้ หรือไปจ้างช่างที่ไม่มีทักษะ มาประกอบ เพื่อลดต้นทุน มันคืออะไรครับ แต่ถ้าประกอบไปซัก 10 ตัว ก็น่าจะเริ่มชำนาญแล้วครับ

ยุค 1970s ซึ่งเรียกกันว่าเป็นยุคมืด (Dark Age) ของ Martin เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุใด้แก่

1. การปรับปรุงโครงสร้างกีตาร์ที่ทำให้แข็งแรงขึ้นแต่เสียงทึบขึ้น

ในยุค'60s กีตาร์ Martin มี waiting list เกินหนึ่งปีทุกปีดังนั้นเสียงของกีตาร์จึงไม่ใช่เรืองสำคัญเท่ากับความแข็งแรงเพราะทุกครั้งที่ต้องซ่อมกีตาร์ก็ต้องดึงช่างออกมาจากไลน์การผลิตเนื่องจาก Martin ไม่มีแผนกซ่อมและ authorized service centers เหมือนสมัยนี้
การทำให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้น Martin ทำโดยการเปลี่ยน bridge plate จาก maple เป็น rosewood ในปี 1968 และขยายขนาดจาก 1 3/8" เป็น 3 1/4" ตั้งแต่ปี 1969-1987










2. การติด pickguard ก่อนเคลือบไม้

วิธีนี้ประหยัดทั้งเวลาและแรงงานแต่ปิคการ์ดในยุคนั้นมักหดตัวซึ่งก็เปลี่ยนใด้แต่เสียเวลาครับ




3.ปัญหาในการประกอบกีตาร์

ในยุค '70s Martin เริ่มใช้กาวสังเคราะห์ Titebond แทนกาวธรรมชาติ hot hide glue ที่ใช้ยากกว่าแต่แข็งตัวเป็นเนื้อเดียวกับไม้ กาวสังเคราะห์ในยุคนั้นทำให้การถ่ายทอดความสั่นสะเทือนระหว่างชิ้นน้อยลงและทำให้เสียงทึบขึ้น
การขาด supervision ในขั้นตอนการผลิตทำให้กีตาร์จำนวนไม่น้อยในยุคนั้นติด bridge ผิดตำแหน่งและมีปัญหาเรื่อง intonation

4.ปัญหาด้านการลงทุนผิดประเภท

ผู้บริหารในยุคนั้น (1970-1982) คือ Frank Herbert Martin เข้ามารับตำแหน่งในยุคที่ Martin กำลังรวยเละแต่เขาเป็นคนที่ไม่ชอบกีตาร์ก็เลยผลาญเงินทองโดยการไป take over กิจการอื่นๆเช่นในปี 1970 เขาไปซื้อ Vega Banjos, Darco Strings และ Fibes Drums ต่อมาก็ยังไปซื้อ Levin Guitars ของสวีเดน การเอาเงินไปลงทุนในกิจการอื่นแทนที่จะเอาบางส่วนมาใช้บำรุงรักษาหรือปรับปรุงเครื่องจักร์และอบรมบุคคลากรก็ทำให้คุณภาพโดยรวมของ Martin guitar ต่ำลง

Frank Martin โดนพ่อของเขาไล่ออกในปี 1982 โดยเขาทิ้งหนี้เก้าล้านเหรียญใว้ให้ครอบครัว Martin เป็นที่ระลึกครับ กิจการที่เขาซื้อมานั้นมีรอดอยู่เจ้าเดียวคือ Darco Strings





nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 08, 2020, 10:23:08 »
ระยะปลอดโรค แสดงว่าต้องมองหา 90's ขึ้นไป น่าจะดีกว่าหรือปล่าวครับ น้ากฤษณ์ ได้ลองเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับยุคหลังครับ   
โดยส่วนตัวไม่ค่อยได้สนใจมากเท่าไหร เสียงดีมากๆ แต่ไม่เทไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นกีต้าร์ร้อง เสียงต้องออกกลางๆไปแข่งกะเสียงร้องไม่ได้ ไม่งั้นคนเล่นจะเหนื่อย ไม่รู้เข้าใจถูกหรือปล่าวครับ พึ่งมาสนใจตอนอ่านบทความของน้า สิ่งที่เราซื้ออาจจะไม่ใช่เสียงแต่เราซื้อประวัติศาสคร์  ตามที่น้าเคยบอกไว้

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 08, 2020, 17:23:00 »
ระยะปลอดโรค แสดงว่าต้องมองหา 90's ขึ้นไป น่าจะดีกว่าหรือปล่าวครับ น้ากฤษณ์ ได้ลองเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับยุคหลังครับ   
โดยส่วนตัวไม่ค่อยได้สนใจมากเท่าไหร เสียงดีมากๆ แต่ไม่เทไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นกีต้าร์ร้อง เสียงต้องออกกลางๆไปแข่งกะเสียงร้องไม่ได้ ไม่งั้นคนเล่นจะเหนื่อย ไม่รู้เข้าใจถูกหรือปล่าวครับ พึ่งมาสนใจตอนอ่านบทความของน้า สิ่งที่เราซื้ออาจจะไม่ใช่เสียงแต่เราซื้อประวัติศาสคร์  ตามที่น้าเคยบอกไว้

ถ้าเป็น Martin ใช่ครับแต่ Guild ไม่เคยมียุคตกต่ำเหมือนชาวบ้านเขา ถ้าจะคุยเรื่องนี้คงเป็นเรื่องยาวเหมือนกัน

คำว่า "ยุคตกต่ำ" ของแต่ละยี่ห้อนั้นส่วนมากเป็นยุคปลาย '60s ตลอด '70s และลามมาถึง '80s กีตาร์ที่ผลิตในยุคตกต่ำนั้นนั้นราคามือสองจะถูกเพราะมีความเชื่อว่าคุณภาพหรือเสียงดีสู้ยุคอื่นไม่ใด้ ชอสรุปคร่าวๆดังนี้ครับ

Fender "CBS Era" 1966-1984..เริ่มเข้าสู่ยุคตกต่ำในปี 1966 หนึ่งปีหลัง CBS ซื้อกิจการจาก Leo Fender และกลับมาอีกครั้งหลังจาก CBS ขายกิจการทิ้งในปี 1984 เมื่อสามสิบปีที่แล้วกีตาร์ Fender ในยุค "CBS Era" นั้นราคาถูกเหมือนให้ฟรีแต่หลังปี 2000 Demand ก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจนเดี๋ยวนี้แพงกว่ากีตาร์ใหม่แล้วครับ

<a href="http://youtu.be/7-9UWWQ02EQ" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/7-9UWWQ02EQ</a>


<a href="http://youtu.be/O5Gka-RB2iM" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/O5Gka-RB2iM</a>


Gibson "Norlin Era" 1970-1986...Gibson ก็ถูกซื้อไปโดยบริษัทที่มีสตางค์แต่ไม่ใด้มีความสนใจเรื่องเครื่องดนตรีซึ่งมีผลให้คุณภาพตกต่ำลงเพราะเป้าหมายหลักคือผลกำไรสูงสุด ผมไม่ซื้อ Gibson ไฟฟ้ายุคนี้ไม่ใช่เพราะเรื่องเสียงแต่เป็นเรื่องน้ำหนักครับ (การซื้อไม้แบบไม่คัดน้ำหนักทำให้ Les Paul ในยุคนั้นหนักเกิน 5  กิโลก็มี) ส่วนกีตาร์โปร่งนั้นผมซื้อเพราะมันทนถึกกว่ากีตาร์สมัยนี้และเสียงก็เป็น Gibson 100%

Gibson ในยุค '80s นั้นเสื่อมเสียชื่อเสียงจน Norlin ต้องขายทิ้งแบบเหมาหมดรวมโรงงานใหม่ที่ Nashville ให้กับกลุ่มนักลงทุนนำโดย Henry E. Juszkiewicz ในราคาเพียง 5 ล้านเหรียญซึ่งต่ำมากเมือเทียบกับ Fender ที่ CBS ขายไปในราคา 12 ล้านเหรียญไม่รวมโรงงานที่ Fullerton

กระทู้นี้ผมจะคุยเรื่องกีตาร์ไฟฟ้าของ Guild USA เป็นหลักเพราะยังไม่เคยเห็นมีใครพูดถึงกันแต่สงสัยเรื่องไหนก็ถามมาใด้ครับ



กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 08, 2020, 22:16:08 »
กีตาร์ไฟฟ้าของ Guild USA นั้นผู้ผลิตพยายามจับตลาดกีตาร์ jazz ก็เลยมียอดขายไม่มากทั้งๆที่ผมว่าคุณภาพดีและเสียงดีกว่ากีตาร์ Gibson ในราคาใกล้เคียงกัน ในปีสุดท้ายที่ดูยอดผลิตใด้จาก serial number คือปี 1997 นั้น Guild ผลิตกีตาร์โปร่ง 17,371 ตัวและผลิตกีตาร์ไฟฟ้าใด้เพียง 3,613 ตัวในขณะที่ Gibson ผลิตกีตาร์โปร่งจากโรงงาน Bozeman ใด้ประมาณ 10,000 ตัวแต่ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าใด้ประมาณ 30,000 ตัวจากโรงงานที่ Nashville และ Memphis

กีตาร์ไฟฟ้าของ Guild นั้นผลิตโรงงานเดียวกับกีตาร์โปร่งมาเกือบทุกยุคทุกสมัยยกเว้นแค่ระหว่างปี 2004-2010 ที่ผลิตกีตาร์โปร่งอย่างเดียวและตั้งแต่ปี 2015 ที่ผลิตกีตาร์โปร่งในจีนและอเมริกาแต่ไปจ้างเกาหลีผลิตกีตาร์ไฟฟ้า

กีตาร์ไฟฟ้า Newark Street Series ที่จ้างโรงงาน Peerless ที่เกาหลีผลิตน่าจะขายดีเกินคาดเพราะในปี 2020 มีขายอยู่ถึง 56 รุ่นซึ่งน่าจะมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Guild ดูรายละเอียดและฟังเสียงใด้ใน website ครับ

เมื่อโรงงาน Westery ปิดในปี 2000 บริษัทแม่ก็ใด้มอบหมายให้ Fender Custom Shop เป็นผู้ผลิตกีตาร์ไฟฟ้า Guild เพราะไลน์การผลิตปกติไม่ใด้ทำทั้งกีตาร์ set neck และ hollow body โดยมี Bob Benedetto เป็นผู้ดูแลการผลิตกีตาร์ archtop

Fender Custom Shop ผลิต Guild อยู่ทั้งหมด 12 รุ่นตามคาตาล้อคด้านล่างที่ผมแสกนมาให้ชมครับ



















กีตาร์ไฟฟ้า Guild ตอนนั้นขายราคาสูงกว่า Fender เยอะเริ่มจากรุ่น Bluesbird Standard ราคา $1,800 ถึงรุ่น Artist Award ราคา $10,000

Fender Custom Shop เขาปลื้มมากที่ใด้เป็นผู้ผลิต Guild เลยเอารูปจากไลน์การผลิตมาลงอวดในนิตยสาร Frontline




เดี๋ยวมาต่อครับ



กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 09, 2020, 21:12:48 »
กีตาร์ไฟฟ้า Guild ค่อนข้างหายากในตลาดมือสอง ผมหาซื้อมายี่สิบกว่าปีเพิ่งหาใด้ 5 ตัวครับ

Solid Body: 2001 Guild Bluesbird by Fender Custom Shop

เมื่อ Fender Custom Shop เริ่มผลิตกีตาร์ไฟฟ้า Guild นั้นเขาเลือกที่จะผลิต Bluesbird เป็นรุ่นแรกเพราะมันเป็นกีตาร์ solid body ที่ช่าง Fender Custom Shop ทำใด้สบายมาก (แต่ไลน์ปกติทำไม่เป็นเพราะต้องเหลาและต่อคอแบบ fixed neck joint) ในล้อตแรกประมาณ 80 ตัวนั้น Custom Shop ทำตั้งแต่ต้นจนจบจึงใด้รับตราตัว V เป็นเครื่องหมายเกียรติยศ













ความจริงแล้ว Bluebird ดรงงาน Corona ก็ผลิตโดย Custom Shop ทุกตัวแต่หลังจากล้อตแรกเขาส่งไปให้ไลน์ปกติพ่น nitro และขัดเงาซึ่งก็ไม่มีผลกับเสียงแต่ราคามือสองของตัวที่มี Custom Shop Logo แพงกว่าตัวที่ไม่มี 50% เพราะมันหาคนปล่อยยากมากครับ Bluesbird USA ผลิตครั้งสุดท้ายในปี 2011-2013 ที่โรงงาน New Hardtford







Guild ผลิต Bluesbird มาตั้งแต่ปี 1954 โดยตอนแรกใช้ชื้อว่า M-75 Aristocrat ขั้นตอนการผลิตของ Bluesbird นั้นมีการขุดบล้อค solid mahogany ออกเพื่อทำเป็น resonance chamber ซึ่งต่างจาก Gibson Les Paul ที่มีใช้การเจาะรูเพื่อลดน้ำหนักเฉยๆ เสียงของ Bluesbird จึงไม่กร้าวสะใจเหมือน Les Paul แต่มี resonance มากกว่าเยอะครับ




ลองฟังเสียงเปรียบเทียบกันดูครับ

<a href="http://youtu.be/EVp2r_EEcSo" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/EVp2r_EEcSo</a>


<a href="http://youtu.be/eqQEqwd26Co" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/eqQEqwd26Co</a>

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 09:26:21 »
Thin-Line Hollow Body: 2000 Starfire II Westerly

 รุ่น Starfire II เป็น full hollow body เหมือน Epiphone Casino และออกวางตลาดพร้อมๆกันในปี 1961 กีตาร์ thinline ที่เห็นกันส่วนใหญ่จะเป็น semi-hollow body สไตล์ Gibson ES-335 (1958) ที่มีบล้อคไม้ตรงกลางเพื่อลด feedback (แต่เพิ่มน้ำหนัก)




ตัวนี้น่าจะเป็นล้อตสุดท้ายที่ผลิตจากโรงงาน Westerly สภาพ mint ครับ










เสียงจะเป็น acoustic มากกว่าพวก semi-hollow ครับ

<a href="http://youtu.be/neRTZu9dT0k" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/neRTZu9dT0k</a>



Thinline Hollow Body: Starfire III Corona Factory

ตัวนี้เป็นกีตาร์มือหนึ่ง unopened box ที่ผมซื้อในอเมริกาในปี 2002 ด้านหลัง headstock ยังไม่ใด้แกะ stock number จากโรงงานออกเลยครับ
Starfire III คือ Starfire II+Bigsby ตัวนี้ serial number 000011 เป็นตัวที่ 11 ของ Fender Custom Shop กล่องจากโรงงานเป็นของ C&G ที่ยังไม่ใด้ติดโลโก้ Guild










ความจริงแล้ว Starfire ทั้งสองรุ่นเสียงน่าจะเหมือนกัน 100% เพราะใช้โครงสร้าง ไม้และปิคอัพเหมือนกันแต่ผมคิดว่า Fender Custom Shop ไม่ใด้อ้างอิง blue print เก่าเพราะตัวนี้เสียงอลังการงานสร้างกว่าตัว Westerly มากมายทั้งๆเล่นเสียงคลีนผ่านแอมป์ตัวเดียวกัน ลองฟังดูครับ

<a href="http://youtu.be/y_7QERw9g7U" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/y_7QERw9g7U</a>


ลองเทียบเสียงคลีนกับพวก semi-hollow ที่มีบล้อดไม้ตรงกลางครับ

<a href="http://youtu.be/zU-BBgexPCY" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/zU-BBgexPCY</a>


<a href="http://youtu.be/LZ9lESQWcjk" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/LZ9lESQWcjk</a>








Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 00:09:44 »
ตามอ่านเก็บความรู้มาจนภาคจบ เยี่ยมมากค่ะ ;) :D

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 22:02:27 »
17" Archtop: 1993 X-170 Manhattan Blonde (Westerly)
















<a href="http://youtu.be/VF2xf_vIFAk" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/VF2xf_vIFAk</a>



17" Archtop: 2002 X-170D Savoy (Corona)
















<a href="http://youtu.be/S_WqPjeqcLU" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/S_WqPjeqcLU</a>


จบครับ

Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2020, 19:28:04 »
กระทู้ดีๆแบบนี้ก็ไม่อยากให้ตกไปเช่นกัน ฝาก Admin ปักหมุดรวมกันไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาไม่ได้หรือคะ

THAWAT JAITHIANG

  • member
  • ***
  • กระทู้: 595
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2020, 11:13:20 »
<a href="http://youtu.be/ErvgV4P6Fzc" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/ErvgV4P6Fzc</a>

Carboy

  • member
  • ***
  • กระทู้: 420
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2020, 16:40:10 »
ขอบคุณมากครับ 

Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 22:10:34 »
ใครชื่นชอบ guild ก็ตามหาข้อมูลได้ต่อไป

Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2020, 23:19:52 »
 :) :) :) :D :D ;D ;D

guitar_import

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,175
Re: ประวัติกีตาร์ Guild ภาคจบ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2020, 00:31:21 »
ผมเองก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การย้ายโรงงานจากNew Hartford มาOxnardเหมือนกัน ผมคือคนเสื้อเขียวในคลิปที่ขับรถบรรทุกนาทีที่0.15ครับ จำได้ว่าใช้รถทั้งหมด20คันในการขนย้าย
https://youtu.be/HMkiG7BSWJA

วันนั้นผมเอาGAD-30R(Made in China)ติดรถไปด้วยแล้วก็ได้เอาไปให้เขาดู ช่าง3-4คนมามุงดูกันใหญ่บอกว่าไม่เคยเห็นรุ่นนี้