Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ยุคนี้ คนเล่นกีตาร์เป็นมีเยอะกว่ายุคก่อนๆ ขออัพเดทมุมมองหน่อยครับ  (อ่าน 4111 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

radhanasiri

  • member
  • ***
  • กระทู้: 65
ลูกหลานบางคนสนใจดนตรี แต่เวลาคุยกันเราก็ช่วยแนะนำได้จำกัด ไม่กล้าฟันธงแนวโน้มอะไรเท่าไร

เพราะผมเน้นหลักๆใช้ฝึกเรื่องสมาธิและให้สติไว
ถ้าได้อย่างอื่นก็เป็นของแถม (แต่อาจมีคุณค่ามากๆก็ได้)

จึงอาจเข้าใจบางอย่างผิดความจริงไป
รบกวนช่วยอัพเดทหน่อยครับ

* เรื่องความเท่ในกลุ่ม แบบวัยรุ่น ยังเป็นจุดเด่นแค่ไหนครับ
ยุคก่อนหลายคนๆฝึกเล่นกีตาร์เอาแค่จีบสาวขำๆด้วยซ้ำ
ยุคนี้ถ้าเล่นแค่ถูไถผมมองว่าไม่ใช่จุดเด่น เป็นแค่งานอดิเรกที่บางคนพยายามมีเพื่อสร้างตัวตนให้กลุ่มยอมรับ  เพราะถ้าชอบจริงจังน่าจะทำได้เกินจุดนั้นเยอะ

ส่วนที่บ่งบอกว่าเท่ได้จริงๆ คือสุดท้ายแล้วจบที่เล่นเดี่ยวได้ดี หรือมีวงเอง ไปเข้าวงโรงเรียนอะไรทำนองนั้น
ึ่กลายเป็นเพื่อนในกลุ่มก็เล่นดนตรีทุกคน 

อาจโดดเด่นได้หน่อยเมื่อจบมาทำงานนอกสายดนตรี
ความที่เล่นดนตรีได้ ก็ช่วยเรื่องสังคมเรื่องคอนเน็คชั่น เรื่องความสัมพันธ์ได้หลายอย่าง

* เรื่องความน่าสนใจ ในดนตรีสด
สมมุติคนที่มายืนดู 5% ก็เล่นกีตาร์เป็นหรือเลิกเล่นไปแล้ว
กำลังฝึกอีก5% อะไรประมาณนี้
เทียบกับยุคสามสี่สิบปีก่อน
คนดูมีประสบการณ์สร้างสรรค์ทางดนตรีน้อย เอาแค่มีฟังมีเสพก็ตื่นเต้นแล้ว นั่งพับเพียบกันเรียบร้อยเลย

* เรื่องประสบการณ์ด้านเสพ
 กีตาร์กลายเป็นเครื่องดนตรีพื้นฐาน คนสามารถหาดูกีตาร์เล่นสดๆได้ง่ายกว่า หลากหลากกว่ายุคก่อน ทั้งในแง่ คุณภาพ ปริมาณ และความถี่

นอกจากเอาสนุกได้บรรยากาศ ยังเอาคุณภาพเสียงมากขึ้น มีความเคยชินเรื่องเครื่องเสียงรถเครื่องเสียงบ้าน มีร้านต่างๆมาเทียบอีก นักเที่ยวสายคาราโอเกะก็เยอะ

ถ้าการเล่นสดไม่สะดุดหูจริงๆเขาเดินผ่านเลย
พอเล่นเนี๊ยบมากๆ(วงฝีมือดีมีเยอะมาก)
ก็เดินผ่านอีก บางคนอาจคิดว่าเปิดไฟล์เพลงด้วยซ้ำ

การสร้างบรรยากาศ และให้คนดูมีส่วนร่วม แบบเจาะจงลงไปที่คนฟังคนดูแต่ละคน จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กรณีขาจรก็พยายามเล่นเพลงแบบเจาะรายกลุ่มกันอยู่แล้ว

ในอนาคตจะมี AI อะไรต่างๆมาช่วยแยกแยะตรงนี้ให้แน่ๆ
แต่การจะใช้ข้อมูลตรงนั้นได้ดี สำหรับวงเล็กๆเล่นได้จำกัดไม่ใช่เรื่องง่าย

* ขอออกไปนอกเรื่องกีตาร์ สักข้อ
เพลงในยุคก่อน
อาศัยฝีมือเฉพาะทางดนตรีหรือบรรเทิงแบบเก่าๆที่อ้างอิง ใช้เรื่องการงานความเป็นอยู่มาเล่นร่วมกันได้หมด เพราะคนส่วนใหญ่ทำนาไร่อาชีพเดียวกัน วิถีสังคมแตกต่างกันไม่มาก กลายเป็นวัฒนธรรมร่วม แต่งเพลงอิงเรื่องไกล้ตัวก็อยู่รอดได้

แต่ยุคนี้เอาแค่คนในบ้านเดียวกัน
ถ้าทำอาชีพต่างสายงานกันก็คุยงานกันไม่รู้เรื่องแล้ว
ถ้าอยู่ในสังคมที่มีภาพรวมเหลื่อมล้ำมากก็จินตนาการถึงประสบการณ์ของคนต่างสังคมได้ยาก
เอาแค่จุดบอดสองเรื่องนี้ คนทำเพลงที่หากินกับดนตรีเป็นหลักก็ขาดทั้งวัตถุดิบและจุดเชื่อมโยงที่จะเล่าเรื่องไปมาก

การเขียนเพลงเชื่อมต่อผู้คนต่างกลุ่ม ต่างสังคม
ให้ลงลึกไปได้มากกว่า เรื่องกลางๆ พวกอารมณ์ รักชอบเกลียดชัง เสรีภาพ อะไรต่างๆ ให้เข้าถึงซึ้งใจกันได้ จึงยากและท้าทายมากกว่าเดิม

ผมเข้าใจว่าบางท่านพบเจอมาคล้ายๆกัน
แต่น้าๆหลายท่านน่าจะมองได้ดีกว่าผม

mai_911

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,243
ผมว่าที่พิมพ์มาซีเรียสเกินไปครับ ใครสนใจอะไรแค่ไหน ก็เป็นเรื่องปัจเจก บังคับอะไรกันไม่ได้ครับ
ทุกคนมีทางเดินของตัวเอง เล่นดนตรีเป็นหรือไม่เป็น ชอบดนตรีมากหรือน้อย ลึกหรือตื้น ไม่เกี่ยวเท่าไหร่ครับ ชีวิตนี้มันมีเรื่องอื่นพาไปเจอโอกาสอีกเยอะ

เล่นดนตรีเป็นนั้นดีแน่ แต่เล่นไม่เป็น หรือเล่นเป็นแต่ไม่จริงจัง เล่นแบบผิวเผิน ผ่อนคลาย ก็ไม่ได้ถือว่าเสียโอกาสอะไรครับ

A4

  • member
  • ***
  • กระทู้: 22
ลูกหลานบางคนสนใจดนตรี แต่เวลาคุยกันเราก็ช่วยแนะนำได้จำกัด ไม่กล้าฟันธงแนวโน้มอะไรเท่าไร

เพราะผมเน้นหลักๆใช้ฝึกเรื่องสมาธิและให้สติไว
ถ้าได้อย่างอื่นก็เป็นของแถม (แต่อาจมีคุณค่ามากๆก็ได้)

จึงอาจเข้าใจบางอย่างผิดความจริงไป
รบกวนช่วยอัพเดทหน่อยครับ

* เรื่องความเท่ในกลุ่ม แบบวัยรุ่น ยังเป็นจุดเด่นแค่ไหนครับ
ยุคก่อนหลายคนๆฝึกเล่นกีตาร์เอาแค่จีบสาวขำๆด้วยซ้ำ
ยุคนี้ถ้าเล่นแค่ถูไถผมมองว่าไม่ใช่จุดเด่น เป็นแค่งานอดิเรกที่บางคนพยายามมีเพื่อสร้างตัวตนให้กลุ่มยอมรับ  เพราะถ้าชอบจริงจังน่าจะทำได้เกินจุดนั้นเยอะ

ส่วนที่บ่งบอกว่าเท่ได้จริงๆ คือสุดท้ายแล้วจบที่เล่นเดี่ยวได้ดี หรือมีวงเอง ไปเข้าวงโรงเรียนอะไรทำนองนั้น
ึ่กลายเป็นเพื่อนในกลุ่มก็เล่นดนตรีทุกคน 

อาจโดดเด่นได้หน่อยเมื่อจบมาทำงานนอกสายดนตรี
ความที่เล่นดนตรีได้ ก็ช่วยเรื่องสังคมเรื่องคอนเน็คชั่น เรื่องความสัมพันธ์ได้หลายอย่าง

* เรื่องความน่าสนใจ ในดนตรีสด
สมมุติคนที่มายืนดู 5% ก็เล่นกีตาร์เป็นหรือเลิกเล่นไปแล้ว
กำลังฝึกอีก5% อะไรประมาณนี้
เทียบกับยุคสามสี่สิบปีก่อน
คนดูมีประสบการณ์สร้างสรรค์ทางดนตรีน้อย เอาแค่มีฟังมีเสพก็ตื่นเต้นแล้ว นั่งพับเพียบกันเรียบร้อยเลย

* เรื่องประสบการณ์ด้านเสพ
 กีตาร์กลายเป็นเครื่องดนตรีพื้นฐาน คนสามารถหาดูกีตาร์เล่นสดๆได้ง่ายกว่า หลากหลากกว่ายุคก่อน ทั้งในแง่ คุณภาพ ปริมาณ และความถี่

นอกจากเอาสนุกได้บรรยากาศ ยังเอาคุณภาพเสียงมากขึ้น มีความเคยชินเรื่องเครื่องเสียงรถเครื่องเสียงบ้าน มีร้านต่างๆมาเทียบอีก นักเที่ยวสายคาราโอเกะก็เยอะ

ถ้าการเล่นสดไม่สะดุดหูจริงๆเขาเดินผ่านเลย
พอเล่นเนี๊ยบมากๆ(วงฝีมือดีมีเยอะมาก)
ก็เดินผ่านอีก บางคนอาจคิดว่าเปิดไฟล์เพลงด้วยซ้ำ

การสร้างบรรยากาศ และให้คนดูมีส่วนร่วม แบบเจาะจงลงไปที่คนฟังคนดูแต่ละคน จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กรณีขาจรก็พยายามเล่นเพลงแบบเจาะรายกลุ่มกันอยู่แล้ว

ในอนาคตจะมี AI อะไรต่างๆมาช่วยแยกแยะตรงนี้ให้แน่ๆ
แต่การจะใช้ข้อมูลตรงนั้นได้ดี สำหรับวงเล็กๆเล่นได้จำกัดไม่ใช่เรื่องง่าย

* ขอออกไปนอกเรื่องกีตาร์ สักข้อ
เพลงในยุคก่อน
อาศัยฝีมือเฉพาะทางดนตรีหรือบรรเทิงแบบเก่าๆที่อ้างอิง ใช้เรื่องการงานความเป็นอยู่มาเล่นร่วมกันได้หมด เพราะคนส่วนใหญ่ทำนาไร่อาชีพเดียวกัน วิถีสังคมแตกต่างกันไม่มาก กลายเป็นวัฒนธรรมร่วม แต่งเพลงอิงเรื่องไกล้ตัวก็อยู่รอดได้

แต่ยุคนี้เอาแค่คนในบ้านเดียวกัน
ถ้าทำอาชีพต่างสายงานกันก็คุยงานกันไม่รู้เรื่องแล้ว
ถ้าอยู่ในสังคมที่มีภาพรวมเหลื่อมล้ำมากก็จินตนาการถึงประสบการณ์ของคนต่างสังคมได้ยาก
เอาแค่จุดบอดสองเรื่องนี้ คนทำเพลงที่หากินกับดนตรีเป็นหลักก็ขาดทั้งวัตถุดิบและจุดเชื่อมโยงที่จะเล่าเรื่องไปมาก

การเขียนเพลงเชื่อมต่อผู้คนต่างกลุ่ม ต่างสังคม
ให้ลงลึกไปได้มากกว่า เรื่องกลางๆ พวกอารมณ์ รักชอบเกลียดชัง เสรีภาพ อะไรต่างๆ ให้เข้าถึงซึ้งใจกันได้ จึงยากและท้าทายมากกว่าเดิม

ผมเข้าใจว่าบางท่านพบเจอมาคล้ายๆกัน
แต่น้าๆหลายท่านน่าจะมองได้ดีกว่าผม


ผมเคยลองใช้การเล่นดนตรีเพื่อการเจริญสติอยู่ช่วงหนึ่ง และพบว่าจิตวิ่งหลายช่องเกินไป ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับจิต จนยากที่จะตั้งมั่นและเป็นกลางได้ จึงต้องกลับมาใช้แบบเดิม (แต่ถ้าเป็นกรณีฝึกสติ,สมาธิแบบทางโลก เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานเลี้ยงชีพ ก็ใช้ได้ดีอยู่ครับ)

ส่วนเรื่องมุมมองทางดนตรีนั้น สำหรับผมเห็นว่าไม่มีอะไรที่ต้องซีเรียสเลยครับ อย่างไรเสียมันก็ไม่ได้เป็นภารกิจกู้โลกนี่เนาะ

Bond1742

  • member
  • ***
  • กระทู้: 26
ตอนนี้ผมอายุ 28 นะครับ พึ่งเล่นกีตาร์ได้ 3 ปี

เรื่องว่าเท่หรือไม่เท่โดดเด่นหรือได้รับการยอมรับอะไรนี่เอาตรงๆมันเชยไปนานแล้วครับ สมัยเรียนอยู่มัธยมสัก 10กว่าปีก่อนก็เท่นะครับ เห็นสาวกรี๊ดกัน ตอนนั้นก้งง คิดในใจว่าอะไรนักหนาวะ 555 พอไปเรียนมหาลัย ก้แทบไม่เห็นเขากรี๊ดกันแล้วนะครับ พอมาทำงานยิ่งไม่เห็นเลยครับ ถ้าสนุกเขาก้ไปเต้นเอามันส์กันอย่างเดียวไม่ได้กรี๊ดอะไร


ต่อมาประเด็น เล่นเพราะอะไร หรือความน่าสนใจ คือส่วนตัวผมเล่นเพราะแค่ชอบครับ ชอบที่จะเล่น ชอบการได้เล่นครับ ชอบวิธีการเล่น สนุกดี เคยรู้มาก่อนว่าดนตรีเพิ่มสมาธิสติอะไรแบบนี้แต่ก้ไม่ใช่ประเด็นหลัก

ประเด็นการเสพ ก้ไม่ได้ชอบการฟังเพลงแบบกีต้าร์จ๋าๆ ด้วยครับ ยิ่งเปิดหมวกซึ่งถ้าไม่มาโหดจริงๆคงไม่หยุดฟัง ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่เคยหยุดฟังเลย ชอบฟังอะไรที่มันลึกๆ ชอบดนตรีที่มันมีกิมมิคเยอะๆมากกว่า

ทุกวันนี้เล่นเป็นงานอดิเรกครับแต่ก้ไม่ได้แปลว่าไม่ได้อยากจะเล่นเก่งหรือเอาแค่พอถูไถนะครับ แต่แค่ไม่ได้อยากจะเอาดีด้านนี้ หรือไปมีวง ไปเปิดหมวกหรือไปโชวใคร เพราะเพลงที่เล่นก้ไม่ค่อยมีใครรู้จักอยู่แล้ว

เรื่องสุดท้ายโนคอมเม้นครับ แต่บอกได้ว่าทางใครก้ทางเขาครับ คนเราชอบต่างกัน สมัยนี้ยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าสมัยก่อนเพราะเทคโนโลยี ยิ่งเป็นไปไมาได้เลยที่เขาจะชอบอะไรคล้ายๆกัน

radhanasiri

  • member
  • ***
  • กระทู้: 65
ขอบคุณทุกท่านครับ :)

Tongsan

  • member
  • ***
  • กระทู้: 117
แต่คนที่เล่นได้เทพๆ ก็หาได้น้อยนะ โดยเฉพาะในสายอคูสติกในบ้านเรา บ้านเราส่วนใหญ่จะเล่นในแนว cover ร้องเพลงมากกว่า ส่วนพวกที่เทพๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกฝรั่งที่เล่นแนวฟิงเกอร์สไตค์ ซึ่งเขาก็ทัวร์คอนเสิร์ตเป็นว่าเล่น ยกตัวอย่าง ตาลุงทอมมี่ แต่คอนเสิร์ตเขาจะเน้นไปเฉพาะกลุ่ม แต่บ้านเราคงหาแฟนคลับได้น้อย

guitar_import

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,175
ผมว่าการเข้าถึงในยุคสมัยนี้ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะ ทั้งยังประหยัดทั้งเงินและเวลา เมื่อก่อนอยากได้คอร์ดเพลงซักเพลงต้องไปหาซื่อหนังสือเพลง แต่เดี๋ยวนี้หาได้ฟรีทั้งในGoogleและYouTube

radhanasiri

  • member
  • ***
  • กระทู้: 65

ผมเคยลองใช้การเล่นดนตรีเพื่อการเจริญสติอยู่ช่วงหนึ่ง และพบว่าจิตวิ่งหลายช่องเกินไป ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับจิต จนยากที่จะตั้งมั่นและเป็นกลางได้ จึงต้องกลับมาใช้แบบเดิม (แต่ถ้าเป็นกรณีฝึกสติ,สมาธิแบบทางโลก เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานเลี้ยงชีพ ก็ใช้ได้ดีอยู่ครับ)

ส่วนเรื่องมุมมองทางดนตรีนั้น สำหรับผมเห็นว่าไม่มีอะไรที่ต้องซีเรียสเลยครับ อย่างไรเสียมันก็ไม่ได้เป็นภารกิจกู้โลกนี่เนาะ

ขอบคุณครับ
และเห็นด้วยครับ

เรื่องทางด้านสมาธิ
ผมเคยมีประเด็นตอนวัยรุ่น ติดฟุ้งซ่าน วาดภาพก็ช่วยเรื่องสมาธิได้ แต่เป็นสมาธิบนพิ้นฐานกำลังสติที่ไม่แข็งแรงเท่าไร หลายๆครั้งหลงไปในความคิด
สติยังตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ช้า ไม่สามารถสลับมาตอบสนองกับโลกภายนอกแล้วกลับไปโฟกัสกับการวาดภาพต่อได้ ถ้ามีใครขัดจังหวะอาจต้องรอเวลาเป็นวันๆกว่าจะวาดต่อได้

พอมาฝึกเล่นดนตรี จับหลักได้ว่าเรื่องเสียงเอาแค่พอไปกันได้ อย่าอินมาก เล่นผิดก็แค่เล่นโน๊ตถัดไป ต้องระวังตัวตลอด ฝึกแบบนี้ทำให้สติไวกว่าเดิม พอกลับมาวาดรูปก็สามารถสลับอารมณ์วาดต่อได้เลยเพราะสติไว ทิ้งอารมณ์เดิมได้ทัน

 ส่วนหนึ่งเพราะการวาดภาพไม่มีกรอบเวลาบังคับ
แต่เล่นดนตรีต้องทำให้โน๊ตลงจังหวะและหยุดตามจังหวะ
ไม่อาจเผลอคิดรวดเดียวยาวๆแบบตอนวาดรูปได้ จึงช่วยเรื่องกำลังสติได้ดีกว่า

หลังจากการฝึกเล่นดนตรีในช่วงนั้น ผมฝึกสมาธิได้ก้าวหน้ามากๆเห็นผลชัดเจน เพราะพื้นฐานกำลังสติไวขึ้น
จึงเห็นว่าสำหรับคนทั่วไป ถ้าอารมณ์ยังแกว่งๆ
 ดนตรีช่วยปรับพื้นฐานได้ระดับหนึ่ง
 แต่พอชำนาญมากๆเปลี่ยนเป็นอิน เผลอ เพลินไปกับเสียง กลายเป็นหลง ตันอยู่แค่นั้น
ต่อให้ไม่หลง เสียงดนตรีก็มีข้อจำกัดทางกายภาพ
 ไม่อาจใช้เป็นเครื่องมือฝึกในระดับสูงขึ้นไปแบบสมาธิทางพุทธได้

A4

  • member
  • ***
  • กระทู้: 22
ครับ  ช่างบังเอิญจริงที่ผมก็วาดรูป และเล่นดนตรีเช่นกันครับ

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านเจ้าของกระทู้นะครับ

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
จริงๆเดี๋ยวนี้เทพๆกันเยอะ แต่ไม่ค่อยแสดงตัว เหมือนเป็นเรื่องปกติ ผมว่าเพราะโอกาสเปิดมากขึ้น เรียนกันตั้งแต่เด็กๆ พอ 15 ก็เริ่มเทพแล้ว หลักๆคือพ่อแม่มีกำลังสนับสนุนให้ไปเรียน ผมมีหลานอยู่ 2คน พี่ชายเล่นงานโรงเรียน มีคนมาเจอเลยจ้างไปเล่นตามงาน เพราะเด็กน้อย คิดค่าแรงแบบเอาเฮ  ทำเอาสนุก เข้ามหาลักก็เลิก  น้องเก่งกว่าเยอะแต่ไม่รับงาน เล่นอยู่กะบ้าน ซ้อมเยอะ เพิ่งเลิกเรียนตอนเข้ามาหาลัย (เทคนิคคงได้กันหมด วัดกันที่เรียบเรียงแล้วครับ)

konnmao

  • member
  • ***
  • กระทู้: 38
มันไม่ใช่เครื่องเรื่องดนตรีหรอก มันทุกๆเรื่อง เด็กยุคหลังมันจะต้องเก่งกว่ารุ่นเราอยู่แล้ว เพราะโอกาสในการเรียนรู้ของสมัยนี้กับสมัยก่อนแตกต่างกัน มันอยู่ที่ว่าไอ้สิ่งที่เค้าทำตอนนี้จะเอาไปเป็นอาชีพ เป็นงานอดิเรกหรืออะไรก็ว่าไป

เอาจริงๆที่ว่าคนสมัยก่อนมันรวมกลุ่มกันติด เป็นเรื่องดีไม่ได้แล้วแต่มุมมอง อย่าลืมสมัยก่อนมันไม่ได้มีอะไรให้เลือกมาก บอลโลกมาทีเป็นข่าวใหญ่ เพราะเด็กผู้ชายก็มีสิ่งให้ทำไม่กี่อย่าง เตะบอล ถ้าอยากจะเล่นอย่างอื่น มันก็อาจไม่มีเพื่อน สมัยนี้ใครอยากรวมกลุ่มอะไรก็ง่ายกว่า เล่นเกมไม่ต้องเจอหน้ากันก็ได้ เขาทรายมาอยู่ยุคนี้อาจจะไม่ดัง เพราะบางคนก็ดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ ปั่นจักรยาน มีกลุ่มนั่นกลุ่มนี่ให้ทำเยอะแยะ 

ส่วนคนจะทำเพลงแบบที่เจ้าของโพสต์ว่า ผมว่าจะมีหรือไม่มี มันไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สังคมเป็นไง เพลงก็ไปแบบนั้น ถ้าย้อนไป 30 ปี ลองแต่งเพลงเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ อาจเป็นเพลงล้ำสมัยไปเลยก็ได้ 


Kwang @ Uttaradit

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,470
  • Kwang @ Uttaradit


     เล่นกีตาร์ได้ ... ไม่ยาก

     เล่นกีตาร์ได้ ดี  ...  ยากกว่า

     เล่นกีตาร์ได้ ดี และไพเราะ  ...............................................................................................  ยากกว่ามาก

     เล่นกีตาร์ได้ ดี  ไพเราะ จนคนฟังมีความรู้สึก อยากร่วมร้องเพลงด้วย และอยากฟังซ้ำ ๆ ไม่เบื่อ     ....  ยากแบบ โคตร ๆ


Finger Picking Style

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
เรียนน้า Kwang @ Uttaradit  มันจบไปตั้งแต่ ถ้าน้า น่ารักเหมือน  bnk49 ทำอะไรก็ไม่มีผิดเลยครับ 

radhanasiri

  • member
  • ***
  • กระทู้: 65
จริงๆเดี๋ยวนี้เทพๆกันเยอะ แต่ไม่ค่อยแสดงตัว เหมือนเป็นเรื่องปกติ ผมว่าเพราะโอกาสเปิดมากขึ้น เรียนกันตั้งแต่เด็กๆ พอ 15 ก็เริ่มเทพแล้ว

อันนี้ชัดเจนครับ
ตอนผมเด็กๆต้องรอรุ่นพี่วางกีตาร์ค่อยได้จับ
เด็กได้เรียนดนตรีคือพ่อแม่ทำมาหากินกะดนตรี หรือไม่ก็เป็นลูกหลานคนมีฐานะ แทบไม่มีอย่างอื่นเลย

ตอนนี้ผมอายุ 28 นะครับ พึ่งเล่นกีตาร์ได้ 3 ปี...

เรื่องความหลากหลายของกิจกรรมชัดเจนครับ
เด็กรุ่นหลังมีทางเลือกเยอะกว่ารุ่นหิ้วปิ่นโตเดินไปโรงเรียนมาก

แต่คนที่เล่นได้เทพๆ ก็หาได้น้อยนะ..


ใช่ครับ น่าจะเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ในบ้านเรายังมองดนตรีเป็นความสนุก ไม่ค่อยมีหน้าที่อย่างอื่น
 เพลงบรรเลงทำนองสวยงาม คนเล่นฝีมือดีๆก็เลยขายงานได้ยาก สู้แนวเฮฮาโจ๊ะๆไม่ได้
แม้งานเศร้าก็ยังช่วยกันทำให้สนุกเพื่อกลบความเศร้า อันนี้เป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างจากยุโรปอเมริกาชัดมากๆ
สังคมฝรั่งเขามองบรรยากาศต่างไป แถมดนตรีไปพร้อมกับศาสนาด้วย
มีดนตรีมีไวน์ประกอบงานกันตั้งแต่เกิดจนตาย ก็มองดนตรีต่างกันไป

ผมว่าการเข้าถึงในยุคสมัยนี้ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะ...
การเข้าถึงสื่อแตกต่างกันมาก
ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และความถี่

ยุคก่อน rs song hits ใช้กันจนกระดาษยุ่ยตัดแปะต่อเขียนมือ กรอเทปเดาเอาว่าจับคอร์ดตรงไหน โน๊ตที่สายไหน และกรอซ้ำจุดเดิมบ่อยๆไม่ดี เทปจะยืดเร็ว
ยุคนี้เห็นมือเห็นนิ้วกลายป็นการแกะเพลงทีแทบไม่ต้องแกะ เหมือนมีครูสอนส่วนตัวไปมาก

มันไม่ใช่เครื่องเรื่องดนตรีหรอก มันทุกๆเรื่อง เด็กยุคหลังมันจะต้องเก่งกว่ารุ่นเราอยู่แล้ว เพราะโอกาสในการเรียนรู้ของสมัยนี้กับสมัยก่อนแตกต่างกัน มันอยู่ที่ว่าไอ้สิ่งที่เค้าทำตอนนี้จะเอาไปเป็นอาชีพ เป็นงานอดิเรกหรืออะไรก็ว่าไป

เอาจริงๆที่ว่าคนสมัยก่อนมันรวมกลุ่มกันติด เป็นเรื่องดีไม่ได้แล้วแต่มุมมอง.......มีกลุ่มนั่นกลุ่มนี่ให้ทำเยอะแยะ 

ส่วนคนจะทำเพลงแบบที่เจ้าของโพสต์ว่า ผมว่าจะมีหรือไม่มี มันไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สังคมเป็นไง เพลงก็ไปแบบนั้น ถ้าย้อนไป 30 ปี ลองแต่งเพลงเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ อาจเป็นเพลงล้ำสมัยไปเลยก็ได้ 



เรื่องทางเลือกและโอกาสนี่ต่างกันมากจริงๆครับ เด็กยุคนี้ตั้งเป้าแล้วก็สามารถลงลึกได้ด้วย 


     เล่นกีตาร์ได้ ... ไม่ยาก

     เล่นกีตาร์ได้ ดี  ...  ยากกว่า

     เล่นกีตาร์ได้ ดี และไพเราะ  ...............................................................................................  ยากกว่ามาก

     เล่นกีตาร์ได้ ดี  ไพเราะ จนคนฟังมีความรู้สึก อยากร่วมร้องเพลงด้วย และอยากฟังซ้ำ ๆ ไม่เบื่อ     ....  ยากแบบ โคตร ๆ




ผมคิดว่า ยากตรงความเป็นอคูสติกครับ
ความอิสระในจังหวะและทำนอง ต้องแลกมาด้วยความแม่นยำ ยิ่งเล่นเดี่ยว ผิดแค่นิดเดียวโน๊ตมันฟ้องชัดทันที
ประหยัดโน๊ตมากไปจนเสียเอกลักษณ์ของเพลงก็ไม่ได้อีก เป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องหาแนวทาง หาจุดสมดุลกันเอาเอง