Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: เบรซซิ่งด้านที่สัมผัสกับไม้ Top มันเหลาแบบมี radius รึเปล่าครับ  (อ่าน 1511 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

leomonke

  • member
  • ***
  • กระทู้: 96
นั่งเพลินๆ คิดๆ ดูเล่นๆ ก็บังเอิญเห็นไม้หน้าท้องป่องๆ
ก็ไม่ได้ป่องมาก ป่องมาย อะไรหรอกครับ

ตามหลักการทางฟิสิกส์ แรงดึงสายตั้งมากมาย
ยังไงซะ ไม้หน้ามันก็ต้องถูกดึงขึ้นมาให้ป่องซะหน่อยแหละ

ก็เลยเกิดเป็นความสงสัยครับ
ไอ้เจ้าเบรซซิ่งเนี่ย มันเหลาเรียบๆ แปะไว้เฉยๆ
หรือๆๆ เค้าตั้งใจเหลาให้มันโค้งหน่อยๆ
เผื่อไว้กับความโค้ง ความป่อง เวลาขึ้นสายครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
ความจริงเขาเหลาให้มันป่องทั้งด้านหน้าและด้านหลังมาจากโรงงานแล้วครับ การเหลาสมัยนี้ เขาใช้ CNC machine และใช้ radius dish ในการขึ้นรูปไม้หน้า ไม้หลัง


leomonke

  • member
  • ***
  • กระทู้: 96
มันโค้งหน่อยๆอย่างที่คิดจริงๆด้วย
ขอบคุณนะครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Gibson ใช้ radius ไม้หน้า 28 ฟุตและไม้หลัง 25 ฟุตครับ ในรูปเป็นรุ่น SJ-200











leomonke

  • member
  • ***
  • กระทู้: 96
ขอบคุณมากครับ
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย

สงสัยอีกอย่างครับ
แรงตึงของสาย กับ ความชื้น
ทำให้ radius เปลี่ยนได้หรือไม่ครับ
เห็นกีต้าร์โปร่งบางตัวก็ท้องป่องเหลือเกิน

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
แรงตึงของสาย กับ ความชื้น
ทำให้ radius เปลี่ยนได้หรือไม่ครับ
เห็นกีต้าร์โปร่งบางตัวก็ท้องป่องเหลือเกิน

เรื่องท้องป่องจากแรงดึงของสายเป็นเรื่องปกติที่ทางคนสร้างเขาเผื่อใว้แล้วแต่เรื่องความชื้นนี่เป็นเรื่องที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวกีตาร์ใด้ครับ

แผ่นไม้ที่ถูกเลี่อยมาจากท่อนซุงเพื่อนำมาทำกีตาร์โปร่งนั้นจะมีความชื้นตามธรรมชาติมากเกินไปจึงต้องมีขบวนการไล่ความชื้นก่อนที่จะเอามาใช้ การสูญเสียความชื้นนั้นทำให้ไม้หดตัวในแนวตั้งฉากกับเกรน (tangential) แนวขนานกับเกรน (radial) และปริมาตร (volumetric) ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนว tangential มากกว่าแนว radial (T/R ratio) เยอะครับ ข้อมูลการหดตัวของไม้ทุกชนิดสามารถเปิดดูใด้ใน Wood Database




สัดส่วนการขยายตัว vs การหดตัว (Swelling vs Shrinkage)

ถ้าดูจาก Wood Database ข้างบน adirondack spruce นั้นจะหดตัวถึง 7.8% ในแนวตั้งฉากกับเกรนเมื่อไม้แห้ง การทำให้ไม้แห้งของผู้ผลิตกีตาร์มีอยู่สามวิธีคือ

1.การอบแห้ง (kiln dried)...วิธีนี้ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้เพราะไม่ต้องใช้เวลา สถานที่และต้นทุนในการสต้อคไม้

2.การตากแห้ง (air dried) ...วิธีนี้ใช้ใด้เฉพาะผู้ผลิตรายเล็กๆอย่าง K. Yairi หรือ Asturias เพราะต้องใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าไม้จะแห้งสนิท

3. Air Dried+Kiln Dried...ผู้ผลิตบางรายเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ไม้มีความเสถึยร (dimensional stability) ดีกว่าการอบแห้งอย่างเดียวและไม่ต้องเสียเวลาและพื้นที่ในการตากแห้งมากเกินไป Martin จะมีการตากแห้ง 1 ปีในขณะที่ Yamaha Japan จะตากแห้งประมาณ 2 ปีก่อนที่จะนำมาอบแห้งอีกครั้ง

การผลิตกีตาร์นั้นเขาจะควบคุมความชื้นใว้ที่ 45-55% ที่อุณหภูมิ 22 องศา C ถ้าที่บ้านเราความชื้นมากกว่านี้ไม้ก็จะขยายตัวซึ่ง Taylor Guitars แบ่งใว้เป็นสองระดับคือสูง (60-70%) และสูงมาก (80-90%) ซึ่งถ้าปล่อยใว้นานๆอาจทำให้กาวหลุด bridge เผยอ action สูง คอยกหรือคอบิดใด้

การเช็คว่ากีตาร์ของคุณมีอาการบวมจากความชื้นหรือไม่นั้นไม่ควรเช็คความโค้งของไม้หน้าเพราะตอนที่ออกจากโรงงานมันก็โค้งอยู่แล้ว Taylor เขาแนะนำให้เช็คสองจุดนี้คือ

1. ไม้หลัง...กีตาร์จะบวมด้านซ้ายขวาแต่จะแบนตรงกลางเพราะมี tail block ยึดอยู่




2. ความสูง fret board เมื่อเทียบกับ bridge...กีตาร์ปกติ fret board กับ bridge จะอยู่ในระนาบเดียวกันแต่แต่กีตาร์ท้องบวมตัว bridge จะอยู่สูงกว่า fret board




จากประสพการณ์ของผมเองกีตาร์ที่อายุมากหรือผ่านการ air dried จะบวมน้อยกว่ากีตาร์ที่อายุน้อยหรือถูกอบแห้งแบบ kiln dried เมื่อเจอกับความชื้นสูงครับ






leomonke

  • member
  • ***
  • กระทู้: 96
ขอบคุณมากครับ
เห็นภาพทั้งหมดชัดเจนเลย