Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ  (อ่าน 3163 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

leomonke

  • member
  • ***
  • กระทู้: 96


มันแยกเป็น 2 ชิ้น หรือด้านล่างมันเป็นชิ้นเดียวครับ
เห็นแล้วมันดูเจ๋งดี bridge มันหลุดไม่ได้แน่ๆ
(ใครมี K.Yairi ที่ bridge แบบนี้ รบกวนถ่ายด้านในให้ดูทีครับ)

Thammarat

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,353
  • เพศ: ชาย
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2019, 15:06:50 »
ข้อมูลที่น้ากฤษณ์เคยเขียนไว้ครับ
มีทั้ง แปลน รูปด้าน รูปตัด ครับ

K. Yairi เขาไม่ใด้ออกแบบระบบ direct coupled bridge มาเพื่อแก้ปัญหากีตาร์ท้องป่องด้านหลังและยุบด้านหน้าจาก bending moment นะครับ ที่เขาไม่ทำก็เพราะกีตาร์ของเขาไม่เคยมีปัญหานี้อยู่แล้วไม่ว่าจะใช้ bridge ระบบไหน.




DC Bridge นั้นมีประโยชน์สองอย่างคือ

1. ฺBridge ไม่มีทางอ้าหรือยก...การแยก bridge เป็นสองส่วนอิสสระคือตัว saddle box ด้านหน้าที่รับแต่แรงกดของสายและ bridge pin box ด้านหลังที่เป็นชิ้นเดียวกับ bridge plate ด้านล่างทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องบริดจ์ยกแน่นอน

2. Bridge ปกตินั้นต้องมีพื้นที่กว้างพอสำหรับติดกาวกันแรงยกและต้องหนาพอที่จะไม่แตกตรงรู bridge pin เมื่อโดนดึงนานๆ bridge ก็เลยต้องหนาและหนักซึ่งไปถ่วงให้ไม้หน้าสั่นน้อยลง ตัว saddle box ของ DC bridge นั้นทำหน้าที่เหมือน floating bridge ของกีตร์ archtop ที่รับแรงกดอย่างเดียวก็เลยสามารถทำให้เบาและบางใด้ เมื่อมี dead mass น้อยลงเสียงก็ดังขึ้นครับ

ผมหารูปแนวตัดของระบบนี้ไม่เจอเลยต้องเขียน free body diagram ใหม่เองในรูปด้านล่างครับ




จากรูปจะเห็นใด้ว่าการใช้ bridge plate รูปตัว T เป็นตัวรับแรง tension และ bending moment ก็เลยทำให้ไม้หน้ารับแต่แรงกด (compression) อย่างเดียวสบายตัวไป การทำ bridge plate ให้มีพื้นที่ด้านหน้ามากกว่าด้านหลังก็ทำให้ลด moment ใด้ในคู่แนวตั้งด้วย

ผมว่าระบบนี้ยอดมากแต่น่าสงสัยว่าทำไมไม่เห็นใครก้อปไปใช้ทั้งๆที่ลิขสิทธิ์ก็หมดอายุมาเกินสิบปีแล้ว

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2019, 16:16:24 »
ข้อมูลที่เคยเขียนใว้รายละเอียดยังไม่ชัดเจนนัก ผมมีรูปด้านใต้ไม้หน้าที่เคยถ่ายใว้มาให้ดูก่อนครับ




จากรูปจะเห็นใด้ว่า K. Yairi ใช้การฝังบล้อค ebony ที่กลึงเป็นรูป T-bar เพื่อมารับแรงดึงจาก bridge pin โดยเฉพาะแทนที่จะให้ bridge plate และไม้หน้าที่ทำจากไม้อ่อนกว่าและบางกว่าเป็นตัวรับแรงดึงซึ่งเมื่อใช้งานไปนานๆก็มักจะเกิดความเสียหายใด้




บังเอิญไปเจอรูป section ของระบบนี้จากโฆษณาเก่าของ Alvarez Yairi ซึ่งแสดงรายละเอียดของระบบนี้ใว้ชัดเจนครับ


fungi321

  • member
  • ***
  • กระทู้: 249
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2019, 18:52:42 »
เข้ามาเก็บ ความรู้ล้วนๆ ขอบคุณครับ

leomonke

  • member
  • ***
  • กระทู้: 96
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2019, 22:45:22 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

Matin ปีเก่าที่ Bridge plate เป็น rosewood หนาๆ
เสียงมันจะทึบ ใช่มั้ยครับ

แล้วในกรณี Bridge plate ของ K.Yairi แบบนี้
ดูจากรูปแล้วมันเป็น Maple บางๆก็จริง แต่ก็มี T-Bar ที่เป็น Ebony ค้ำอยู่
เสียงมันจะ drop หรือ อั้นๆ รึเปล่าครับ

TOM1869

  • member
  • ***
  • กระทู้: 19,247
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2019, 12:11:22 »
Error 404 (Not Found)!!1


มีตัวนึงไม่รู้ ว่าเสียงอั้นหรือเปล่า
Line id: 081-8718003

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2019, 14:59:44 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

Matin ปีเก่าที่ Bridge plate เป็น rosewood หนาๆ
เสียงมันจะทึบ ใช่มั้ยครับ

แล้วในกรณี Bridge plate ของ K.Yairi แบบนี้
ดูจากรูปแล้วมันเป็น Maple บางๆก็จริง แต่ก็มี T-Bar ที่เป็น Ebony ค้ำอยู่
เสียงมันจะ drop หรือ อั้นๆ รึเปล่าครับ


หน้าที่ของ Bridge plate ในด้านวิศวกรรมโครงสร้าง

Bridge Plate มีสองหน้าที่หลักคือ

1. รับแรงกดจากตัว saddle และแรงดึงจากสายเพราะไม้หน้าไม่มีทางรับไหว

2. รับแรงบิด (bending moment) ตามรูปข้างล่าง




เรื่องการรับแรงกดและแรงดีงในข้อ 1 นั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ อย่าง Martin สมัยโบราณใช้ bridge plate ไม้เมเปิ้ลกว้างแค่ 1" ก็รับใด้สบายแล้ว พอมาถึงยุคหลังสงครามคนเริ่มใช้สายเบอร์ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจน bridge plate ยกตัวด้านหลังและยุบตัวด้านหน้าทำให้ท้องป่องหลัง bridge และท้องยุบหน้า bridge จนทางโรงงานต้องซ่อมให้ฟรีๆเยอะมาก เพื่อแก้ปัญหานี้ Martin เลยใช้ rosewood กว้าง 3 1/4" มาเป็น bridge plate ซึ่งถ้าดูจากรูป free body diagram ด้านบนจะเห็นใด้ว่า bridge plate กว้างขึ้นสามเท่ามีแรงยกและแรงกดบนไม้หน้าน้อยลงสามเท่าเหมือนกัน (F1xL1 = F2xL2)




ระบบ Direct Coupled Bridge ของ K. Yairi นั้นตัดปัญหาเรื่อง bending moment ออกไปเพราะตัว bridge รับแต่แรงกดและส่งผ่านไปลงที่ตัว X-brace โดยตรงส่วนตัว T-bar ก็รับแต่แรงดึงจึงไม่อาการหลังป่องหน้ายุบเหมือนกีตาร์ flat top ทั่วไปครับ




การเพิ่ม mass ให้ไม้หน้าไม่ว่าจะเป็นการใส่ rosewood bridge plate ของ Martin หรือการใส่ T-bar ของ K. Yairi ไม่ใด้มีผลให้เสียงทึบขึ้นอย่างชัดเจนแต่การเพิ่มมวลทำให้ไม้หน้าเริ่มต้นสั่นน้อยลงมีผลให้เสียง fundamental เบาลงแต่ mass ที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้ไม้หน้าสั่นนานขึ้นมีผลให้ sustain นิ่งขึ้นและยาวขึ้นเหมือนกัน

ส่วน ebony T-bar นั้นผมไม่คิดว่ามันจะไปเพิ่ม mass รวมเพราะตัว bridge plate ของระบบนี้บางและแคบกว่าปกติเยอะเหมือนกันครับ

anantayut

  • member
  • ***
  • กระทู้: 303
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2019, 17:22:03 »
กระจ่างเลย : D สงสัยมานานเกี่ยวกับบริดจ์ของ เค ยาริ   ต้องขอบคุณน้ากฤษณ์ที่อธิบายอย่างลึกซึ่งถึงโครงสร้างทางวิศวะกรรมของบริดจ์กีต้าร์ต่างๆ ได้อย่างละเอียดมาก     

Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2020, 23:45:39 »
มีกระทู้สาระดีๆให้อ่านเยอะเลย

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2020, 16:49:55 »
ใส่รูปใหม่ให้แล้วครับ

Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215
Re: Bridge ของ K.Yairi ทรงนี้ ด้านใต้มันเป็นยังไงครับ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2020, 09:59:42 »
ใส่รูปใหม่ให้แล้วครับ
เยี่ยมเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ