Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ  (อ่าน 2700 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

poo3605

  • member
  • ***
  • กระทู้: 273
ตอนนี้ผมสนใจที่จะซื้อโปร่ง Gibson มาเล่น แต่รุ่นที่สนใจเป็นปีเก่า และเห็นแล็คเกอร์มันมีอาการร้าว ลองหาข้อมูล เห็นเป็นกันแทบทุกตัว
อยากทราบว่ามันเกิดจากอะไรครับ L8 gen1 ผมอายุ 40ปี แล็คเกอร์ยังปกติดีอยู่เลย

taylor814aura

  • member
  • ***
  • กระทู้: 866
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2019, 10:35:37 »
ของผมเป็นครึ่งตัวแล้วครับ รอให้เต็มตัวอยู่ครับฮิ ฮิ

poo3605

  • member
  • ***
  • กระทู้: 273
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2019, 11:28:31 »
ถ้าไม่แตกนี่อาจเป็นของปลอม ค่อยรู้สึกดีขึ้นมาหน่อย ของเพื่อนผมก็เป็น

THAWAT JAITHIANG

  • member
  • ***
  • กระทู้: 595
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2019, 11:42:19 »
nitrocellulose มันจะแห้งได้เรื่อยๆ ขึ้นกับการผ่านโลกมาของตัวกีต้าร์ ผมเคยเห็นทั้ง แห้งจนแตก แห้งจนติดเนื้อไม้ เคยเห็นเป็นทั้ง 2 แบบ ในกีต้าร์ Martin,  Guild, YAMAHA และ Gibson ที่เคยเปนเจ้าของ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2019, 12:32:49 »
สาเหตุของการแตกลายงานั้นเกิดจากการหดตัวของผิวเคลือบซึ่งในกรณีของกีตาร์ก็จะเกิดกับผิวเคลือบที่เป็น nitrocellulose lacquer เท่านั้น

ผิวแตกลายงาหรือ finish checking นั้นถ้าเป็นกีตาร์ Fender ก็จะเกิดกับตัวที่ผลืตก่อนปี 1968 เท่านั้นเพราะในปีนั้น Fender เปลี่ยนมาใช้ polyurethane finish แทนเนื่องจากกฏหมายควบคุมมลพิษใหม่ของ California ทำให้พ่นไนโตรไม่ใด้ (ส่วน Gibson, Guild, Martin ที่โรงงานตั้งอยู่ในรัฐอื่นก็ยังคงใช้ไนโตรต่อไปจนถึงปัจจุบัน)

ต่อมาในยุค '90s กีตาร์ Fender รุ่นเก่าๆสภาพเน่าๆที่ใช้ nitro finish ราคามือสองขึ้นไปสูงมาก ทาง Fender Custom Shop จึงเริ่มเอา nitro finish ที่ทำให้เก่ามาเป็นจุดขายใน Time Machine Series โดยแบ่งการทำ relic ออกเป็น Closet Classic ที่ผิวแตกลายงานิดหน่อยและ Relic ที่เพิ่มเติมรอยถลอก สนิม คราบและ finish checking เข้าไปให้เหมือนกีตาร์เก่าที่ผ่านเวทีมาหลายสิบปี

คราวนี้ Finish Checking ก็เลยเปลี่ยนภาพลักษณ์จากลูกเป็ดขี้เหร่มาเป็นเอกลักษณ์ที่คนไฝ่หาเพราะเชื่อกันว่ามันเป็นคุณสมบัติของกีตาร์ที่ไม้แห้งสนิท ผิวเคลือบบางและเสียงเปิดเต็มที่แล้ว ส่วน Fender Custom Shop นั้นก็ตั้งราคาแพงลิบลิ่วสำหรับการทำ relic อย่างในตัวอย่างราคาของ EC Strat ข้างล่าง




ลองดู finish checking ในรุ่น 1956 Strat ของผมครับ










กีตาร์ Fender Custom Shop Time Machine Series นั้นเสียงเปิดขึ้นตามเกรดแน่นอนแต่ผมคิดว่าน่าจะเกิดจากการคัดเลือกไม้และการทำสีไนโตรบางลงมากกว่าเกิดจากการทำให้แตกลายงา

1960 New Old Stock (NOS) grade, no relic process.

<a href="http://youtu.be/xMVud-I7xII" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/xMVud-I7xII</a>


1960 Closet Classic grade (+$300), finish checking + dull hardwares

<a href="http://youtu.be/oAoEOOnJcKA" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/oAoEOOnJcKA</a>


1966 Relic grade ($650), checking+tainted hardwares+dents.

<a href="http://youtu.be/WdwJ8m7f8t4" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/WdwJ8m7f8t4</a>




เรื่องการทำ finish checking โดยเจตนานี่ฝรั่งเพิ่งมาทำเป็นในยุค '90s แต่ช่างไทยเราทำกันมานานแล้วเวลาปลอมพระสมเด็จวัดระฆัง





ส่วนเรื่องที่เขาลือกันว่ากีตาร์ที่แตกลายงานั้นเสียงจะเปิดมากขึ้นนั้นจริงหรือไม่จริงเชิญลงฟังดูครับ

J-45 True Vintage, Very thin nitro finish

<a href="http://youtu.be/POMZMRPglIs" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/POMZMRPglIs</a>


J-45 original, lot of finish checking

<a href="http://youtu.be/k8e44mbFSZ4" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/k8e44mbFSZ4</a>









กีตาร์ Yamaha L-Series ไม่แตกลายงาเพราะเขาไม่ใด้ใช้ nitro finish ครับ







poo3605

  • member
  • ***
  • กระทู้: 273
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2019, 22:15:10 »
ขอบคุณมากครับ ผมพึ่งรู้ว่า L series ไม่ได้ใช้ไนโตร

THAWAT JAITHIANG

  • member
  • ***
  • กระทู้: 595
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2019, 22:43:13 »
ผมเคยมีคือรุ่นนี้นะครับ lj36 มันแห้งจนเกือบเหมือนซาตินเลยเปนปี 2004

https://www.musicarms.net/yamaha-lj36/

https://europe.yamaha.com/en/products/musical_instruments/guitars_basses/ac_guitars/l_series/specs.html

 

THAWAT JAITHIANG

  • member
  • ***
  • กระทู้: 595
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2019, 14:14:12 »

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2019, 18:16:16 »
น้า Thawat เอาสเป็ค L-Series ปี 2019 มาใช้กับ L-Series ในปี 1976 ไม่ใด้หรอกครับ

Yamaha LL Series ที่ผลิตในญี่ปุ่นในปัจจุบันใช้ nitro finish แต่ผมไม่เชื่อว่า L Series ที่ผลิตในยุค '70s ใช้ nitro เพราะผมเคยมีอยู่สิบกว่าตัวแต่ไม่เคยเห็นตัวไหนมี weather checking บนไม้หน้าเลย

ผมมีรุ่น LL26 ที่ผลิตเดือนมกราปี 2004 ซึ่งเป็นล้อตแรกของ New LL Series รุ่นปัจจุบัน ตอนนี้มันอายุเกิน 15 ปีแล้วแต่แลกเกอร์ก็ยังเงางามเหมือนใหม่และไม่มีรอยแตกลายงาเลยแม้แต่น้อยผมเองก็ไม่เคยสนใจว่าเขาเคลือบแบบไหนแต่ถ้าใช้ไนโตรก็ไม่แปลกเพราะราคามันแพงกว่า Martin D-28 หลายหมื่นบาท (LL26 $4,025, D-28 $3,149)








วิธีการเคลือบด้วยไนโตรหรือโพลี่นั้นขั้นตอนเหมือนกันทุกอย่างคือ

1.ลง pore filler
2.ขัดกระดาษทราย
3.พ่น base coat
4.รอให้แห้ง
5.ขัดกระดาษทราย
6.พ่นเคลือบ
ึ7.รอให้แห้ง
8.ขัดละเอียด
9. ขัดเงา

ถ้าดูในคลิปชมโรงงานคุณไม่มีทางรู้เลยว่าเขาพ่นไนโตรหรือโพลี่




ความแตกต่างระหว่างการเคลือบlสองวิธีนี้คือ

1. ไอไนโตรเป็นไอพิษที่ต้องกำจัดก่อนปล่อยออกจากห้องพ่น (ที่โรงงาน Hamamatsu เขาใช้ม่านน้ำเป็นตัวซับ)

2. โพลี่พ่น base coat เสร็จก็เอาไฟส่องให้แห้งแล้วพ่น clear coat ทับอีกชั้นเดียวก็เอามาขัดใด้เลย รับรองว่าวันเดียวจบ ส่วนไนโตรนั้นต้องรอให้ทินเนอร์ระเหยเป็นวัน (ถ้าพ่นที่บ้านและอากาศชื้นอาจต้องรอหลายวันกว่าจะแห้ง) การลงตัวเคลือบใสก็ต้องลงบางๆประมาณสามสี่ชั้น แต่ละชั้นก็ต้องรอให้แห้งก่อนแลัวจึงขัดดังนั้นจึงต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์กว่าจะทำเสร็จ ถ้าลงชั้นเคลือบหนาไปก็จะเกิดผิวเปลือกส้ม (orange peel) ถ้าลงแค่สองสามชั้นก็จะบางเกินไปทำให้เงาไม่มีความลึกเกิดรอยแตกที่ผิวใด้ง่าย

เรื่องนี้เป็นเรื่องช้ำใจของช่างไทยหลายคนที่ไม่มีห้องพ่นสีแบบควบคุมอุณภูมิและความชื้นและระบบกรองอากาศเพราะกว่างานสีจะเสร็จก็ต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์กว่าจะส่งงานใด้แต่มีช่างไทยบางคนที่รับงานหลักแสนแต่ใช้การเคลือบแบบโพลี่วันเดียวเสร็จโดยที่ลูกค้าไม่ใด้รู้ความแตกต่างเลยแม้แต่น้อย

ผมมี Yamaha อยู่ตัวเดียวที่ไม้หน้าแตกลายงา มันเป็นรุ่น FG580 ปี 1972 ครับ




รุ่นนี้ไม้หน้าคงใช้ไนโตรแต่ส่วนอื่นใช้โพลี่เพราะไม่มีรอยแตกที่อื่นเลย








THAWAT JAITHIANG

  • member
  • ***
  • กระทู้: 595
Re: ทำไม แล็คเกอร์ของ Gibson ถึงมีอาการ Crack ครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2019, 20:39:08 »
ขอบคุณ​มากครับได้ความรู้​เพิ่มพูน​ คือ ผมเทียบเฉพาะตัวที่ผมมีคือ lj36​ นะครับว่ามันไม่แตกแต่มันแห้งเลย