Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ทาคามิเนะ San tafe 48  (อ่าน 2179 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เหาฉลาม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 672
ทาคามิเนะ San tafe 48
« เมื่อ: เมษายน 14, 2019, 14:54:41 »
อยากได้ความเห็นจากน้าๆ เรื่องความคุ้มค่าของทาคามิเนะ รุ่น san tafe Tsf 48C ไม้หลัง Indian rose wood ในแง่ของความคุ้มค่าที่จะนำไปเล่นออกงานและในแง่ของการเป็นกีตาร์สะสมครับ ความทนทานของปรีแอมป์แบบหลอดของรุ่นนี้ครับ

TOM1869

  • member
  • ***
  • กระทู้: 19,247
Re: ทาคามิเนะ San tafe 48
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 14, 2019, 16:23:19 »
ชอบมาก เสียงเปล่าใช้ได้ ออกแอมป์ สุดยอด เป็นรุ่นที่ควรมีครับ
Line id: 081-8718003

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ทาคามิเนะ San tafe 48
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 17, 2019, 15:20:41 »
กำเนิดของ Takamine Santa Fe Series

ก่อนทีจะซื้อกีตาร์เพื่อเอามาสะสมก็ควรศึกษาประวัติและคุณค่าของกีตาร์รุ่นนั้นก่อนครับ

Takamine Santa Fe Series เป็นผลงานจากไอเดียของ Ovation USA ล้วนๆโดยมีเป้าหมายหลักคือการถ่ายทอดศิลปะเก่าแก่ของชาวเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาหรือชาวอินเดียนแดงมาใส่บนกีตาร์โปร่งโดยมีลูกสาวของ Charles Kaman ซึ่งเป็นนักโบราณคดีเป็นผู้ออกแบบ

เหตุผลที่ทางฝั่งอเมริกันเป็นคนออกแบบก็เพราะว่าตลาดใหญ่ของ Takamine ในตอนนั้น (1992) อยู่ที่อเมริกาและศิลปินใหญ่ที่ใช้ Takamine อย่างเช่น The Eagles, Bruce Springteen, Jon Bon Jovi ก็เป็นคนอเมริกันทั้งสิ้น

ไอเดียของผู้ออกแบบก็คือ fingerboard inlays ต้องเป็นสัญญลักษณ์นกอินทรีย์ (eagle) ของชาวอินเดียนแดงและ soundhole rossette ต้องเป็น สัญญลักษณ์อีกาดำ (black crow) ตัว rossette ต้องทำด้วยไม้และตัว inlay ต้องทำด้วย turquoise แท้เพราะมันคืออัญญมณีของอินเดียนแดง




ปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือการเอา turquoise มาทำ inlay ที่ไม่มีใครเขาใช้กันเนื่องจากมันทั้งเปราะทั้งพรุนจนไม่สามารถเลื่อยด้วยใบเลื่อยใด้โดยไม่แตกหัก ดังนั้นพอส่งแบบร่างไปให้ญี่ปุ่นดู ญี่ปุ่นก็ส่ายหัวอย่างเดียวเลย




เมื่อญี่ปุ่นบอกว่าทำไม่ใด้ทางอเมริกาก็เลยพยายามหาช่างอเมริกันที่สามารถทำใด้และก็มาเจอ Michael Millard ซึ่งเป็นเจ้าของกีตาร์ยี่ห้อ Froggy Bottom ที่ยอมรับทำกีตาร์ต้นแบบให้สองตัวในราคาแพงลิบลิ่ว




เคล็ดลับของตา Michael ก็คือแกไปจ้างโรงงานตัด turquoise inlay ด้วยแสงเลเซอร์ คราวนี้พอต้นแบบผ่าน ทางญี่ปุ่นก็เลยต้องยอมลงทุนซื้อ CAD/CAM Laser cutter สองตัวมาใช้เพื่อผลิตกีตาร์ประจำปี 1993 1,200 ตัวภายในเวลา 1 ปี ตั้งแต่นั้นมา Takamine LTD ทุกรุ่นก็เลยมี inlay สวยๆแปลกๆที่ตัดด้วยเครื่องเลเซอร์มาจนถึงทุกวันนี้ครับ




Takamine ตั้งชื่อซีรี่ย์นี้ว่า Santa Fe ตามชื่อเมือง Santa Fe, New Mexico ซึ่งเป็นเมืองที่มีชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่มากที่สุดในอเมริกาครับ




ดังนั้นถ้าจะซื้อเอาไปใช้งานก็ควรซื้อรุ่น TSF48C ที่เป็นรุ่นปัจจุบันเพราะเรื่องเสียงออกแอมป์มันไม่เป็นรองกีตาร์ยี่ห้ออื่นแน่นอนแต่ถ้าจะซื้อเพื่อสะสมก็ต้องหาซื้อรุ่น ESF93 มือสองสภาพสวยๆครับ





รุ่นนี้ช่างต้าหิ้วกลับมาจากญี่ปุ่นเมื่อ 26 ปีที่แล้วตัวนึง

<a href="http://youtu.be/WggQ-RwG4uc" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/WggQ-RwG4uc</a>






เหาฉลาม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 672
Re: ทาคามิเนะ San tafe 48
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 19, 2019, 23:05:04 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ที่มีคุณค่ามากครับ