Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องความหนาของไม้หน้าเเละระยะเวลาการเปิดของเสียง(เล่นวันละ30-1ชม)  (อ่าน 6281 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396


 ความหนาประมาณนี้พอทราบใหมคับว่ามันจะใช้เวลาเท่าไร ผมใช้หน้าหน่วย เซนติเมตรถ่ายจำไม่ได้ว่าไอเส้นเล็กๆนั้นเขาเรียกว่า มิลลิเมตรรึเปล่าคับ

zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396
Error 404 (Not Found)!!1

ขออีกเรื่องคับ พอดีผมอยากลองหัดเล่นเพลงนี้ ตอนช่วงครอด 0:48 ต้องจับปิ๊กท่าใหนหรอคับ ผมจับแบตีคร์อดเเล้วมันไม่ได้อะคับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
ไม้หน้ากีตาร์คุณในรูปมันหนาแค่ 2.5 มม. นะครับ ผมลองใช้เวอร์เนียวัดกีตาร์โปร่งของผมดูสามสี่ตัว ไม้หน้า Yamaha Japan หนา 3.43 มม.แต่ถ้าเป็นกีตาร์อเมริกันจะหนาประมาณ 3 มม.ครับ




ไม้บางแค่ 2.5 มม.มีข้อดีคือเสียงเปิดเร็วแน่นอนและประหยัดไม้ด้วยส่วนข้อเสียผมไม่ทราบเพราะไม่เคยใช้ครับ


zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
เรียนถามน้าๆเรื่องเสียงเปิด ผมว่าเป็นแค่เรื่องเล่าที่ดูเกินจริงไปหน่อย  ผมเล่น classic มี cedar กะ spruce สลับเล่นไปมา มันก็เป็นบ้างที่ถ้าไม่จับตัวไหนสักเดือน มันก็เสียงอับๆหน่อย เป็นธรรมดา แต่พอมาจับ สัก 2-3 วันเสียงก็จะกลับมา ไม้ที่ทำกีต้าร์ส่วนใหญ่ก็แห้งสุดๆอยู่แล้ว คงไม่แห้งมากไปกว่านี้เท่าไหร่  ผมว่าอย่างมากไม่น่าเกิน 10% ( จากกีต้าร์ที่ใช้ซ้อมเป็นปกติ ไม่ใช่เริ่มนับจากกีต้าร์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นปี) ซ้อมเยอะๆ กะใช้ที่ดูดความชื้น สักเดือนหนึ่ง  กะให้ซ้อมเป็น 10ปี เสียงไม่น่าต่างกันมากไปกว่านี้  ผมยังไม่เห็นว่ากีต้าร์เสียงที่เปิดแล้วจะกลายเป็นหงส์ไปได้ในตอนท้าย

5150ed

  • member
  • ***
  • กระทู้: 198
เรียนถามน้าๆเรื่องเสียงเปิด ผมว่าเป็นแค่เรื่องเล่าที่ดูเกินจริงไปหน่อย  ผมเล่น classic มี cedar กะ spruce สลับเล่นไปมา มันก็เป็นบ้างที่ถ้าไม่จับตัวไหนสักเดือน มันก็เสียงอับๆหน่อย เป็นธรรมดา แต่พอมาจับ สัก 2-3 วันเสียงก็จะกลับมา ไม้ที่ทำกีต้าร์ส่วนใหญ่ก็แห้งสุดๆอยู่แล้ว คงไม่แห้งมากไปกว่านี้เท่าไหร่  ผมว่าอย่างมากไม่น่าเกิน 10% ( จากกีต้าร์ที่ใช้ซ้อมเป็นปกติ ไม่ใช่เริ่มนับจากกีต้าร์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นปี) ซ้อมเยอะๆ กะใช้ที่ดูดความชื้น สักเดือนหนึ่ง  กะให้ซ้อมเป็น 10ปี เสียงไม่น่าต่างกันมากไปกว่านี้  ผมยังไม่เห็นว่ากีต้าร์เสียงที่เปิดแล้วจะกลายเป็นหงส์ไปได้ในตอนท้าย

ถอดความจากน้า nuchinge นะ แบ่งประเด็นออกเป็น
1. ความแห้งของไม้
2. เล่นเยอะๆ เสียงเข้าที่

ประเด็นแรกน้า กฤษณ์ เคยตอบใว้ระเอียดแล้ว รบกวนอ่านกระทู้เก่าครับ
http://acousticthai.net/webboard/index.php?topic=68369.0
http://acousticthai.net/webboard/index.php?topic=56289.0

ประเด็นที่ 2 เสียงเข้าที่ กับ เสียงเปิด ผมว่าต่างกันครับ
เสียงเข้าที่จากประสบการณ์ที่ผมเคยเจอมา ก็แบบเดียวกันกับที่น้า nuchinge อธิบายมาข้างต้น

ส่วนเสียงเปิดมันเหมือน กีตาร์ตัวเดิมพัฒนาไปเป็นอีกตัวตัวเลย ไม่เคยเจอกับตัวอธิบายยากครับ

ส่วนตัว ผ่านประสบการณ์กีตาร์โปร่งมาประมาณ 10 กว่าตัว
1. กีตาร์ใหม่ๆ ออกจากร้าน เสียงมักจะ หนา ใหญ่ แต่ขุ่น เล่น chord เสียงแต่ละสายรวมกันเป็นก้อน ไม่อิสระจากกัน เล่นแรงๆเสียงอั้นๆ ทู่
2. เล่นไปได้สักพัก (เสียงเข้าที่) เสียงจะชัดเจนขึ้น เสียงแต่ละสายจะแยกแยะ อิสระจากกันมากขึ้น หางเสียงยาวขึ้น
3. เสียงเปิด เสียงจะคม ชัด กังวาล พริ้ว แห้ง เสียงแต่ละสายจะ อิสระจากกัน เสียงไม่อั้น
เหมือนความขุ่นมัวที่มีมาแต่แรกมันตกตะกอน ทำให้เหมือนเสียงจะบางลง แต่ ย่านความถี่เสียงจะกว้างขึ้น ย่านเสียงสูงทอดยาวไปได้ใกลชึ้น ย่านเบสลึกขึ้นชัดขึ้น

เรื่องเสียงเปิดมันเหมือนเรื่องผีครับ ไม่เคยเจอกับตัวเอง ไม่ค่อยเชื่อ

ส่วนปัจจัยที่ทำให้เสียงเปิดเร็วๆ เท่าที่ศึกษามาและลองมาเองกับตัวครับ
1. เล่นเยอะๆ บ่อยๆ เล่นให้ทั่วคอ ไล่ crometic scale ทั้งคอ
2. ใส่สายใหญ่ actionสูง เสียงเปิดเร็วขึ้น (ทำให้โครงสร้างกีตาร์ทำงานหนักขึ้น)
3. ใช้ตัวช่วย burnin guitar พวก tonerite   primevibe   หรือ เปิดเพลงให้กีตาร์สั้น
พวกนี้เท่าที่ลองมา เป็น 1000 ชั่วโมง ทำให้กีตาร์ไปได้ถึงแค่ เสียงเข้าที่ครับ แต่มันสามารถย่นระยะเวลาได้

zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396
ผมยังไม่เห็นว่ากีต้าร์เสียงที่เปิดแล้วจะกลายเป็นหงส์ไปได้ในตอนท้าย
 หงส์แดงหรอคับน้า5555

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
เรียนถามน้า 5150ed
  1. แสดงว่าต้องขึ้นกับวาสนาด้วย อาจไม่มีโอกาสเสียงเปิดเลยตลอดช่วงชีวิต
  2. แม้ว่ากีต้าร์นอนกล่องเป็นหลักอยุ่หลายปี ซึ่งไม้หน้าจะแห้งมาก เวลาเอามาเล่น ก็ยังต้องใช้เวลาหลายปี หรืออาจไม่มีโอกาส
  3. ไม้ที่เปิดแล้ว กลับไปนอนกล่อง  เสียงจะยังเปิดหรือปล่าว หรือต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ครับ
  4. ถ้าไม่ใช่กีต้าร์ของเรา ถ้าเราไปยืมเล่น จะสามารถรู้ได้เลยหรือปล่าวครับว่าเสียงเปิด ซึ่งเราอาจจะเคยเจอเป็นครั้งแรก ไม่รู้เสียงเป็นมาอย่างไร

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
พึ่งเห็นของน้า กฤษณ์  แสดงว่าขึ้นกับอายุเป็นสำคัญ ไม่เกี่ยวกับการเล่น  การเล่นเพียงแค่ให้เสียงเข้าที่เท่านั้น หรือปล่าวครับน้า5150ed

5150ed

  • member
  • ***
  • กระทู้: 198
เรียนถามน้า 5150ed
  1. แสดงว่าต้องขึ้นกับวาสนาด้วย อาจไม่มีโอกาสเสียงเปิดเลยตลอดช่วงชีวิต
  2. แม้ว่ากีต้าร์นอนกล่องเป็นหลักอยุ่หลายปี ซึ่งไม้หน้าจะแห้งมาก เวลาเอามาเล่น ก็ยังต้องใช้เวลาหลายปี หรืออาจไม่มีโอกาส
  3. ไม้ที่เปิดแล้ว กลับไปนอนกล่อง  เสียงจะยังเปิดหรือปล่าว หรือต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ครับ
  4. ถ้าไม่ใช่กีต้าร์ของเรา ถ้าเราไปยืมเล่น จะสามารถรู้ได้เลยหรือปล่าวครับว่าเสียงเปิด ซึ่งเราอาจจะเคยเจอเป็นครั้งแรก ไม่รู้เสียงเป็นมาอย่างไร

ขอออกตัวว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญครับ แค่แชร์ประสบการณ์ อะไรที่พอตอบได้ก็ขอตอบ
อะไรที่เกินความรู้ก็ขอผ่านนะครับ

1. ใช่ครับ
2. ลองมองเป็นแค่เสียงเปลี่ยนดูครับ กีตาร์เก็บใส่กล่องไม่ได้เล่นจนไม้แห้งเสียงก็เปลี่ยน
กีตาร์ไม้ยังไม่แห้งสนิดเล่นบ่อยๆเสียงก็เปลี่ยน กีตาร์ไม้แห้งเล่นบ่อยๆเสียงก็เปลี่ยนอีกแบบ
ผลเคยเจอทั้งกีตาร์อายุ 2-3 ปีเล่นบ่อยๆเสียงเปิด กับกีตาร์อายุ 50-60 ปี ผ่านการเล่นมามาก เสียงเปิดสุดๆ เลยไม่รู้จะบอกยังงัย
3. เท่าที่เจอมา กีตาร์เสียงเปิดแล้วเปิดเลยครับ ไม่ได้เล่นนานๆ อาจจะต้องเล่นสักพักถึงจะเข้าที่
4. อันนี้ผมไม่ทราบครับ กีตาร์บางตัวมันถูกจูนมาให้เหมือนเสียงเปิดอยู่แล้ว ลองหาคำว่า eastman vs martin หรือ blueridge vs martin กับ vintage martin ใน youtube ดูครับ martin เก่าๆ เสียงจะ ออกโปร่ง คม ชัดสดใส เหล็กๆ ลวดๆ เสียงสายชัด ในขณะที่ martin ใหม่ จะหนา อุ่น อิ่มกว่า   Eastman หรือ Blueridge จะออกมาใกล้เคียง martin เก่าๆมากกว่า

ผมมีทั้ง  martin และ blueridge และเคยลอง martin อายุ 40 ปี ผมรู้สึกว่า blueridge เสียงใกล้เคียง martin เก่ามากกว่าครับ

หรือพวก boutique guitar Collin, Santa Cruz, Bourjeols พวกนี้เคยลองในร้านก็เหมือนเสียงจะเปิดมาจากโรงงานเลยครับ

พึ่งเห็นของน้า กฤษณ์  แสดงว่าขึ้นกับอายุเป็นสำคัญ ไม่เกี่ยวกับการเล่น  การเล่นเพียงแค่ให้เสียงเข้าที่เท่านั้น หรือปล่าวครับน้า5150ed

ผมยังไม่เคยมีกีตาร์เก่า ที่ไม่ได้ผ่านการเล่นครับ

แต่จากที่เจอมา การเล่นมากๆ สำคัญกว่าเก่าเก็บครับ

กีตาร์เล่นเยอะๆ -> เสียงเปิด
กีตาร์เล่นเยอะๆ + ไม้แห้ง -> เสียงโคตรเปิด

ลองมองอย่างนี้ครับ ถ้าตัดเรื่องไม้แห้งออกไปก่อน
และสมมุติว่า เสียงเปิดคือผลของการณ์ที่กีตาร์ตอบสนองแรงสั่นได้อิสระกว่า

กีตาร์ถ้าเล่นบ่อยๆ สั่นบ่อยๆ มันจะคุ้นชินกับการสั่นสะเทือน
กีตาร์ที่ไม่ได้ผ่านการเล่น มันจะไม่คุ้นชินกับการสั่นสะเทือน

กีตาร์ที่คุ้นชินกับการสั่นสะเทือนไม้+โครงสร้างก็อ่อนตัวกว่า สามารถสั้นได้อิสระกว่า

ทีนี้ ถ้าไม้แห้งกว่า เท่ากับน้ำหนักไม้เบากว่า
ไม้เบากว่า สามารถขยับได้อิสระกว่า


5150ed

  • member
  • ***
  • กระทู้: 198
ผมยังไม่เห็นว่ากีต้าร์เสียงที่เปิดแล้วจะกลายเป็นหงส์ไปได้ในตอนท้าย
 หงส์แดงหรอคับน้า5555

เห็นด้วยครับน้า มันก็เป็นแค่กีตาร์ตัวเดิมที่เสียงเปิดแล้วครับ

Taylor Series 1 ที่เสียงเปิด ก็เป็นแค่ Series 1 ที่เสียงเปิดครับ
ไปเทียบชั้น Series 9 ไม่ได้แน่นอน ^^

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
ยอดเยี่ยมเลยครับน้า 5150ed :) :) :)

zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396
Error 404 (Not Found)!!1

แบบนี้มันเริมเปิดยังอะคับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
ผมเคยอธิบายเรื่อง "เสียงเปิด" ตามหลักวิทยาศาสตร์ไปแล้วในกระทู้เก่าๆ วันนี้ขอเล่าเรื่องกีตาร์ "เสียงเปิด" จากประสพการณ์ของตัวเองให้ฟังครับ

เมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้วผมสั่งซื้อ Guild D-50 มือหนึ่งของโรงงาน Tacoma ที่ใช้ไม้หน้าเป็น adirondack spruce มาตัวหนึ่งจากอเมริกาเพราะอยากจะลองเทียบเสียงกับรุ่นที่ใช้ sitka spruce ที่มีอยู่แล้วแต่พอใด้ลองแล้วเสียงมันสู้ตัวเก่าไม่ใด้ก็เลยเก็บใส่ตู้ใว้ที่บ้านโดยไม่ใด้เอาออกมาเล่นอีกเลย

ตู้เก็บกีตาร์โปร่งที่บ้านครับ (กีตาร์โปร่งที่เล่นบ่อยผมจะเก็บใว้ที่คอนโด)




อีกสองปีต่อมาในงานเปิดบ้านประจำปีก็มีน้องคนหนึ่งเดินมาถามผมว่า Guild D-50 Tacoma ผมจะปล่อยไหม ผมก็ตอบไปว่าจะซื้อไปทำไมเพราะเสียงมันก็งั้นๆแหละ พอน้องคนนั้นเอามาเล่นให้ฟังผมก็ตกใจเพราะเสียงมันโปร่งขึ้น กังวาลขึ้นและเบสชัดขึ้นกว่าเดิมราวฟ้ากับเหว ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาผมก็เลยเชื่อเรื่อง "เสียงเปิด" ครับ

ผมเชื่อว่ากีตาร์นั้นเก็บใว้เฉยๆโดยไม่ต้องเล่นเสียงก็เปิดใด้โดยมีข้อแม้ว่าห้ามผ่อนสายก่อนเก็บ แรงดึงของสายกีตาร์บนไม้หน้านั้นเกิน 70 กิโลกรัมในขณะที่แรงดีดเวลาคุณเล่นอย่างเก่งก็แค่ 0.4 กิโลกรัมซึ่งไม่น่ามีผลอะไรกับโครงสร้างของกีตาร์

กีตาร์ตัวแรกของผมนั้นอยู่กับผมมา 47 ปีโดยผมไม่เคยผ่อนสาย เสียงมันเปิดขึ้นเรื่อยๆ ลองฟังดูครับว่า "เสียงเปิด" คืออะไร

<a href="http://youtu.be/jtiqpXRSZ2o" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/jtiqpXRSZ2o</a>


สเป็คของมันคือ solid sitka spruce top, laminated arched maple back, solid maple side, mahogany neck รุ่นนี้หลังปี 1977 เปลี่ยนไปใช้คอ maple อย่างตัวในคลิปข้างล่างเป็นต้น

<a href="http://youtu.be/IEkyWhvS1mA" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/IEkyWhvS1mA</a>

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
เรียนถามน้าๆเรื่องเสียงเปิด ผมว่าเป็นแค่เรื่องเล่าที่ดูเกินจริงไปหน่อย  ผมเล่น classic มี cedar กะ spruce สลับเล่นไปมา มันก็เป็นบ้างที่ถ้าไม่จับตัวไหนสักเดือน มันก็เสียงอับๆหน่อย เป็นธรรมดา แต่พอมาจับ สัก 2-3 วันเสียงก็จะกลับมา ไม้ที่ทำกีต้าร์ส่วนใหญ่ก็แห้งสุดๆอยู่แล้ว คงไม่แห้งมากไปกว่านี้เท่าไหร่  ผมว่าอย่างมากไม่น่าเกิน 10% ( จากกีต้าร์ที่ใช้ซ้อมเป็นปกติ ไม่ใช่เริ่มนับจากกีต้าร์ที่ถูกทิ้งไว้เป็นปี) ซ้อมเยอะๆ กะใช้ที่ดูดความชื้น สักเดือนหนึ่ง  กะให้ซ้อมเป็น 10ปี เสียงไม่น่าต่างกันมากไปกว่านี้  ผมยังไม่เห็นว่ากีต้าร์เสียงที่เปิดแล้วจะกลายเป็นหงส์ไปได้ในตอนท้าย

มีเหตุผลสามข้อนะครับที่กีตาร์คลาสสิคเสียงจะเปิดช้าหรือไม่เปิดเลย

1. ไม้ cedar ไม่มีเสียงเปิดเพราะมันไม่มี resin canal
2. แรงดึงของสายไนล่อนมีแค่ 50% ของสายเหล็ก
3. ไม้ spruce ที่ใช้กับกีตาร์มักเป็นประเภทที่ flexible ซึ่งเปิดน้อยกว่าไม้ที่ stiff อย่าง adirondack spruce

ลองฟัง Kohno 3 ตัวนี้ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกัน (Model 20 เปลี่ยนชื่อเป็น Professional J ในยุด '80s) แต่อายุต่างกัน 28 ปี ผมว่าเสียงที่เปลี่ยนอย่างชัดเจนมีสาเหตุจากการหยุดใช้ brazilian rosewood มาใช้ jacaranda หลังปี 1992 มากกว่า

<a href="http://youtu.be/0UiLamWs21s" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/0UiLamWs21s</a>


<a href="http://youtu.be/ec81LnR_lvc" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/ec81LnR_lvc</a>


<a href="http://youtu.be/mI2-RJ1iknE" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/mI2-RJ1iknE</a>

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
ถ้าตามที่น้า อธิบาย แสดงว่าปัจจัยจริงๆคือเวลา งั้นถ้าเราซื้อมือหนึ่ง หรือสั่งทำกีต้าร์ใหม่ โอกาสจะได้ยินเสียงของมันจริงๆ อาจจะไม่มี ตามหลังวิทยาศาสตร์ ที่น้าได้อธิบาย ไว้ ถ้า spruce ก็จะประมาณ 30 ปี  จะอยู่ถึงหรือปล่าว มันชักน่าเศร้าขึ้นเรื่อยๆ

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
ทำไมแรงตึงสายถึงมีผลครับน้า ในเมื่อ มันเกิดจากการหดตัวของ resin canal จากการที่มันแห้ง มันน่าจะเป็นไปตามธรรมชาติ มากกว่าแรงที่ไปกระทำ

Mod1961

  • member
  • ***
  • กระทู้: 175
ถ้าตามที่น้า อธิบาย แสดงว่าปัจจัยจริงๆคือเวลา งั้นถ้าเราซื้อมือหนึ่ง หรือสั่งทำกีต้าร์ใหม่ โอกาสจะได้ยินเสียงของมันจริงๆ อาจจะไม่มี ตามหลังวิทยาศาสตร์ ที่น้าได้อธิบาย ไว้ ถ้า spruce ก็จะประมาณ 30 ปี  จะอยู่ถึงหรือปล่าว มันชักน่าเศร้าขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อก่อนผมก็คิดว่าเสียงเปิดเป็นยังไง ฟังเสียงก็เหมือนๆกันแยกไม่ออกวุ้ย ส่วนมากฟังจากคลิป ไม่ได้ลองเล่นตัวจริง ถ้าซื้อกีตาร์ที่ราคาไม่แพงแล้วรอให้เสียงเปิดคงไม่ทัน555และแล้วมันต้องพิสูจน์ จากนั้นตระเวณลองกีตาร์ราคาตั้งแต่หลักพันยันหลักแสน(Colling,Bourgeois,Lowdenแสนอัพ, Kevin Ryan 580,000)เป็นกีตาร์ใหม่ มีโอกาสแล้วช้าอยู่ใย ลองให้เยอะที่สุด ลองกีตาร์ใหม่แล้วก็ต้องลองแบบVintageด้วย (ลองที่ร้านดังแห่งหนึ่ง) ลองแล้วก็เจ็บตัว ตัวเบาสิครับ (จำใจหิ้วCollingsกลับบ้าน)ตั้งแต่นั้นมาผมก็หายสงสัยเและสามารถแยกเสียงได้ว่าเสียงเปิดเป็นอย่างไร กีตาร์บูติคแพงแต่เสียงดีตั้งแต่เกิด ไม้ที่จะเอามาทำ เค้าAir Dry มาเป็นสิบๆปี ยิ่งเวลาผ่านไปเสียงก็จะดีขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แนะนำให้ไปลองเยอะๆ ครับ ค่อยๆฟังแล้วเปรียบเทียบดู อันนี้เป็นทางลัดที่รู้ได้เร็ว ว่าเสียงเปิดเป็นอย่างไร จะรู้ว่ากีตาร์เสียงสวรรค์มีจริงๆ555 (กีตาร์ยิ่งแห้งมากจะยิ่งเบาและเปิดสุดๆแต่จะชอบเสียงหรือไม่ต้องลองครับ ส่วนตัวชอบไม้ที่แห้งกำลังดีครับ)สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำครับ(เป็นค.ห.ส.ต ล้วนๆครับ)

5150ed

  • member
  • ***
  • กระทู้: 198
ผมเคยอธิบายเรื่อง "เสียงเปิด" ตามหลักวิทยาศาสตร์ไปแล้วในกระทู้เก่าๆ วันนี้ขอเล่าเรื่องกีตาร์ "เสียงเปิด" จากประสพการณ์ของตัวเองให้ฟังครับ

เมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้วผมสั่งซื้อ Guild D-50 มือหนึ่งของโรงงาน Tacoma ที่ใช้ไม้หน้าเป็น adirondack spruce มาตัวหนึ่งจากอเมริกาเพราะอยากจะลองเทียบเสียงกับรุ่นที่ใช้ sitka spruce ที่มีอยู่แล้วแต่พอใด้ลองแล้วเสียงมันสู้ตัวเก่าไม่ใด้ก็เลยเก็บใส่ตู้ใว้ที่บ้านโดยไม่ใด้เอาออกมาเล่นอีกเลย

ตู้เก็บกีตาร์โปร่งที่บ้านครับ (กีตาร์โปร่งที่ผมชอบเสียงผมจะเก็บใว้ที่คอนโด)




อีกสองปีต่อมาในงานเปิดบ้านประจำปีก็มีน้องคนหนึ่งเดินมาถามผมว่า Guild D-50 Tacoma ผมจะปล่อยไหม ผมก็ตอบไปว่าจะซื้อไปทำไมเพราะเสียงมันก็งั้นๆแหละ พอน้องคนนั้นเอามาเล่นให้ฟังผมก็ตกใจเพราะเสียงมันโปร่งขึ้น กังวาลขึ้นและเบสชัดขึ้นกว่าเดิมราวฟ้ากับเหว ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาผมก็เลยเชื่อเรื่อง "เสียงเปิด" ครับ

ผมเชื่อว่ากีตาร์นั้นเก็บใว้เฉยๆโดยไม่ต้องเล่นเสียงก็เปิดใด้โดยมีข้อแม้ว่าห้ามผ่อนสายก่อนเก็บ แรงดึงของสายกีตาร์บนไม้หน้านั้นเกิน 70 กิโลกรัมในขณะที่แรงดีดเวลาคุณเล่นอย่างเก่งก็แค่ 0.4 กิโลกรัมซึ่งไม่น่ามีผลอะไรกับโครงสร้างของกีตาร์

กีตาร์ตัวแรกของผมนั้นอยู่กับผมมา 47 ปีโดยผมไม่เคยผ่อนสาย เสียงมันเปิดขึ้นเรื่อยๆ ลองฟังดูครับว่า "เสียงเปิด" คืออะไร

<a href="http://youtu.be/jtiqpXRSZ2o" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/jtiqpXRSZ2o</a>


สเป็คของมันคือ solid sitka spruce top, laminated arched maple back, solid maple side, mahogany neck รุ่นนี้หลังปี 1977 เปลี่ยนไปใช้คอ maple อย่างตัวในคลิปข้างล่างเป็นต้น

<a href="http://youtu.be/IEkyWhvS1mA" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/IEkyWhvS1mA</a>


ผมเชื่อว่ากีตาร์นั้นเก็บใว้เฉยๆโดยไม่ต้องเล่นเสียงก็เปิดใด้โดยมีข้อแม้ว่าห้ามผ่อนสายก่อนเก็บ แรงดึงของสายกีตาร์บนไม้หน้านั้นเกิน 70 กิโลกรัมในขณะที่แรงดีดเวลาคุณเล่นอย่างเก่งก็แค่ 0.4 กิโลกรัมซึ่งไม่น่ามีผลอะไรกับโครงสร้างของกีตาร์

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยมากครับ เคยอยากจะถามแต่ ไม่รู้จะตั้งคำถามยังงัย

ผมสังเกตุ กีตาร์ที่ท้องป่องแทบทุกตัว เสียงส้วนมากจะดีจะแม้เล่นยาก

เคยมีกีตาร์ที่ท้องป่องมากกว่าปรกติ เลยผ่อนสาย ใส่ที่ดูดความชื้น
เก็บใว้ 2-3 เดือนจนไม้หน้ากลับมาปรกติ เสียงก็ drop ลงไปพอสมควร
แม้จะ setup เปลี่ยน saddle ให้ความสูงสายเท่าเดิมครับ

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639


อธิบาย คร่าวอย่างนี้นะครับ ผมไม่เก่งมาก ผมขี้เกียจหาพันธะของ H2O มา เอาแบบอื่นจิตนาการเอาครับ แขนแต่ละตัว ที่ยื่นออกมา เราเรียกว่าพันธะ โมเลกุลจับยึดกันด้วยพันธะเหล่านี้ถึงคงรูปอยู่ได้ การจะทำให้สลายไปจะต้องทำลายพันธะเหล่านี้ ให้แยกออกมาเป็น C O H เพื่อให้มันระเหยออกไปในสถานะก๊าซ ให้นึกถึงน้ำ การทำให้น้ำระเหยออกไป การเร่งปฏิกริยา เราจะใส่พลังงานจลเข้าไป โดยการเอาไปต้ม ความร้อนที่เราได้ออกมา คือการสั่นของโมเลกุล เมื่อโมเลกุลสั่นมากๆ จนเอาชนะพันธะ ที่ยึดกันไว้ก็จะหลุดออกเป็น ก๊าซ C O หรือ  H  ดั้งนั้นการเล่นๆบ่อย คือการใส่พลังงานจล เข้าไปที่โมเลกุล ของอำพัน และน้ำ แต่จะสามารถเอาชนะพันธะ ได้หรือปล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าแรงระหว่างพันธะมี่ค่าเท่าไหร แต่ก็ไมาน่าเกิน 5-10 % คุ้มราคาของเครื่องมือหรือปล่าว แล้วแต่น้าๆครับ
   (ขอบคุณอ.ธงจุฑา น่าจะเขียนชื่อผิด แต่เอาเถอะยังไงก็คงไม่เข้ามาดู คนทำเสียงเบื่อหน่ายตอนที่โทรไปหา คงอยากจะด่า ว่าเรื่องอะไรไร้สาระ 555)