Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องความหนาของไม้หน้าเเละระยะเวลาการเปิดของเสียง(เล่นวันละ30-1ชม)  (อ่าน 6278 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
การผ่อนสาย ตึงสาย(พลังงานศักย์)  หรือ ไม่ใส่สาย จะไม่มีผลเพราะไม่ได้มี พลังงานจลเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการสลายไปตามปกติ เหมือนการบีบขวดโค้ก พลาสติด ไม่ทำให้น้ำพุ่ง ต้องเขย่าครับ

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639


ขอยืมภาพของน้ากฤษณ์ มานะครับ  (ความเห็นส่วนตัว)  ไม้อายุน้อย resin ยังไม่แห้งมาก ความแข็งแรงของเนื้อไม้น่าจะยังมีสูงอยู่ แต่พอนานๆหลายปี ความชื้นระเหยออกไป ความแข็งแรงน่าจะลดลง ให้มองถึงอิฐบล็อค มันจะมีรูอยู่ เราถมปูนลงไปในรูเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ถ้านานๆสมมุติปูนหายไปเหลือแต่ส่วนของอิฐ ที่เป็นรู ความแข็งแรงย่อมหายไปตาม ดังน้ันที่น้า5150ed บอกไว้ว่า"กีตาร์ที่ท้องป่องแทบทุกตัว ส่วนเสียงจะดี (กีต้าร์ตัวที่มาตรฐานดี)" ก็น่าจะเป็นไปได้ครับ เพราะ resin มันแห้งไปแล้ว

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
ทำไมแรงตึงสายถึงมีผลครับน้า ในเมื่อ มันเกิดจากการหดตัวของ resin canal จากการที่มันแห้ง มันน่าจะเป็นไปตามธรรมชาติ มากกว่าแรงที่ไปกระทำ

เรื่องแรงดึงของสายมันเป็นเรื่องของสมมุติฐานซึ่งผมยังไม่เคยเห็นว่ามีการพิสูจน์ทางทฤษฎีครับ

zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396
ขอถามเพิ่มนะคับ ถ้าเราเอากีต้าร์ไปตากแดดแรงๆแต่ไม่ได้ตั้งสาย หรือ เอาถ่านติดไฟไห้แดงแต่ไฟไม่ลุก ไปใส่ในตัวกีต้าร์ ละคับ จะพินาศใหม55555

5150ed

  • member
  • ***
  • กระทู้: 198


ขอยืมภาพของน้ากฤษณ์ มานะครับ  (ความเห็นส่วนตัว)  ไม้อายุน้อย resin ยังไม่แห้งมาก ความแข็งแรงของเนื้อไม้น่าจะยังมีสูงอยู่ แต่พอนานๆหลายปี ความชื้นระเหยออกไป ความแข็งแรงน่าจะลดลง ให้มองถึงอิฐบล็อค มันจะมีรูอยู่ เราถมปูนลงไปในรูเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ถ้านานๆสมมุติปูนหายไปเหลือแต่ส่วนของอิฐ ที่เป็นรู ความแข็งแรงย่อมหายไปตาม ดังน้ันที่น้า5150ed บอกไว้ว่า"กีตาร์ที่ท้องป่องแทบทุกตัว ส่วนเสียงจะดี (กีต้าร์ตัวที่มาตรฐานดี)" ก็น่าจะเป็นไปได้ครับ เพราะ resin มันแห้งไปแล้ว


ผมสนใจเรื่องกีตาร์เสียงเปลี่ยน(เสียงเปิด)มาเป็นระยะเวลาหนึง

โดยส่วนตัวผมมองไปที่เรื่องคุณสมบัติของการตอบสนองการสั่นสะเทือน(vibration) และการสลายการสั่นมากกว่าครับ ไม้แห้งก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ แต่ เท่าที่เคยเจอมา ไม่ยังไม่แห้งสนิดเสียงก็เปิดได้ครับ

ผมเคยเจอกีตาร์อายุน้อย 2-3 ปี ที่เสียงเปิด หรือ กีตาร์ใหม่ที่เสียงเปิดมาตั้งแต่ในร้านเลยหลายตัวอยู่

ผมมองอย่างนี้ครับ หากเรามองไม้หน้าของกีตาร์เป็นสปริง
สมมุติว่าสปริงใหม่ๆยังแข็งอยู่ไม่สามารถยืดหดได้เต็มที่

A. พอผ่านการใช้งานไปเรื่อยๆสปริงตัวเดิมอ่อนตัวขึ้น
สามารถขยับตัวได้อิสระขึ้น ยืดๆ หดๆ ได้เต็มที่
สามารถสะท้อนแรงกระทำได้ใกล้เคียง 100%

B. พอผ่านการใช้งานไปถึงอีกจุดหนึ่ง สปริงอ่อนตัวลงอีก
ความสามารถสะท้อนแรงที่โดนกระทำจะลดลง
แต่สามารถสลายแรงกระทำส่วนเกินได้เพิ่มขึ้น
(แรงกระทำส่วนเกิน ผมหมายถึงแรงที่เกินกว่าระบบจะรับได้ใน 1 cycle)

A กับ B ต่างกันตรงที่
A. รับแรงทั้งหมดมาและสะท้อนกลับ แรงบางส่วนยังคงสั่นค้างอยู่ในระบบ
B. รับแรงทั้งหมดมาและสะท้อนกลับบางส่วน สลายทิ้งไปบางส่วน
ผลคือแรงสั่นที่เหลือค้างอยู่ในระบบน้อยมาก

กลับมาที่กีตาร์ครับ
A. คือกีตาร์ที่ผ่านการใช้งานมาพอสมควร เสียงจะดังขึ้นกว่าเดิม สั่นมากขึ้น แต่ยังอ้นๆ อู้ๆ อยู่บ้าง
B. คือกีตาร์เสียงเปิด ในความคิดของผม คือ เสียงโปร่ง ใส คม ชัด ย่านเสียงต่ำสะอาด ลึก
Attack Decay Sustain แยกกันชัดเจน เนื้องจากไม่มีการสั่นที่ค้างอยู่ไปกวน

ดังนั้นที่อยากจะบอกคือ
1. บางยี่ห้อสามารถทำกีตาร์ให้ ไปถึงจุด B ได้เลย ตั้งแต่ออกจากโรงงาน
2. การขึงสายทิ้งใว้ให้เกิดแรงกระทำกับกีตาร์อยู่ตลอดเวลาก็น่าจะสามารถทำให้ไปถึงจุด B ได้เหมือนกันครับ

Kwang @ Uttaradit

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,470
  • Kwang @ Uttaradit


อธิบาย คร่าวอย่างนี้นะครับ ผมไม่เก่งมาก ผมขี้เกียจหาพันธะของ H2O มา เอาแบบอื่นจิตนาการเอาครับ แขนแต่ละตัว ที่ยื่นออกมา เราเรียกว่าพันธะ โมเลกุลจับยึดกันด้วยพันธะเหล่านี้ถึงคงรูปอยู่ได้ การจะทำให้สลายไปจะต้องทำลายพันธะเหล่านี้ ให้แยกออกมาเป็น C O H เพื่อให้มันระเหยออกไปในสถานะก๊าซ ให้นึกถึงน้ำ การทำให้น้ำระเหยออกไป การเร่งปฏิกริยา เราจะใส่พลังงานจลเข้าไป โดยการเอาไปต้ม ความร้อนที่เราได้ออกมา คือการสั่นของโมเลกุล เมื่อโมเลกุลสั่นมากๆ จนเอาชนะพันธะ ที่ยึดกันไว้ก็จะหลุดออกเป็น ก๊าซ C O หรือ  H  ดั้งนั้นการเล่นๆบ่อย คือการใส่พลังงานจล เข้าไปที่โมเลกุล ของอำพัน และน้ำ แต่จะสามารถเอาชนะพันธะ ได้หรือปล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าแรงระหว่างพันธะมี่ค่าเท่าไหร แต่ก็ไมาน่าเกิน 5-10 % คุ้มราคาของเครื่องมือหรือปล่าว แล้วแต่น้าๆครับ
   (ขอบคุณอ.ธงจุฑา น่าจะเขียนชื่อผิด แต่เอาเถอะยังไงก็คงไม่เข้ามาดู คนทำเสียงเบื่อหน่ายตอนที่โทรไปหา คงอยากจะด่า ว่าเรื่องอะไรไร้สาระ 555)



        ............ " ดั้งนั้นการเล่นๆบ่อย คือการใส่พลังงานจล เข้าไปที่โมเลกุล ของอำพัน และน้ำ " ....... 

        เป็นคำจำกัดความที่เป็นประโยชน์มาก  เพราะจะทำให้เกิดการพัฒนาฝีมือ และวิธีการเล่น ให้มีทักษะฯ มากยิ่งขึ้น

        อีกทั้งยังทำให้การเล่นกีตาร์ ที่เสียงยังไม่เปิด  ไพะเราะ อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ตามไปด้วย





       
Finger Picking Style

5150ed

  • member
  • ***
  • กระทู้: 198
ลองเปลียบเทียบดูครับ D28  ปี 1971  VS  D41 ของใหม่

https://www.youtube.com/watch?v=w6yKqsDWHmc&t=335s

Bua

  • member
  • ***
  • กระทู้: 215