Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: สีกีต้าร์แบบ Relic Paisley มีขั้นตอนการทำอย่างไรครับ  (อ่าน 4033 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย




ทำสี แล้ว กระเทาะออก // ทำเฉพาะจุด // ทำ Paisley แล้วทำสีทับอีกที

ยิ่งคิดยิ่ง "งง" ครับ แต่สวยดีจริงๆ

คงจะใช้หลายขั้นตอนการทำ อยากหาคลิปดูจัง

หรือเว็บอธิบายก็ได้ครับ

ขอบคุณครับ

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
เจอแต่วิธีทำ Paisley ธรรมดาครับ

<a href="http://youtu.be/4YMeCTrka48" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/4YMeCTrka48</a>


<a href="http://youtu.be/1ZYImPBgOAc" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/1ZYImPBgOAc</a>

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
แล้วก็เจอวิธีทำ Relic แบบทั่วๆไป  แต่ที่ทำแล้ว ชั้นสีด้านล่างเป็น Paisley นี่ ไม่เจอครับ

<a href="http://youtu.be/8xHQc8oc_V4" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/8xHQc8oc_V4</a>

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
ก่อนจะพูดถึงขั้นตอนการทำ ข้อสงสัยของผมก็คือ Fender ทำไปทำไม เอาอะไรมาเป็นหลักในเมื่อ

1. Fender USA ไม่เคยผลิต Paisley Strat เพื่อขาย (อาจผลิตหนึ่งตัวเป็น prototype) ตามปกติการทำ relic โดย Fender Custom Shop คือการเลียนแบบกีตาร์รุ่นเก่าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชนจนเนื้อตัวถลอกปอกเปิก การทำ relic กับกีตาร์รุ่นที่ไม่เคยมีขายในอดีตผมว่ามั่วไปหน่อยครับ

2. ถ้าผลิต Custom Shop Relic มาแบบไม่กำหนดว่าเป็นกีตาร์ปีไหนก็ยังพอทนแต่นี่ดันกำหนดปีอย่างเช่น 1957 และ 1963 ทั้งๆที่ของจริงนั้นผลิตปี 1968-69 และผลิตรุ่น Telecaster เท่านั้น ทำไมดูถูกแฟน Fender จังครับ

ถามไปก็ไม่มีใครตอบหรอก มาดูของที่ขายกันให้เกลื่อนบางตัวดีกว่า







เดี๋ยวมาตอบต่อครับ

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
น้ากฤษณ์พูดได้เห็นภาพเลยครับ ว่า Fender มั่วได้ใจจริงๆ

แล้วการที่มัน Relic แล้วเห็นลาย Paisley เนี่ย มันผิดธรรมชาติมาก

ถ้ามันผ่านการใช้งานมาเยอะๆ มันควรเป็นแบบนี้มากกว่า



เพราะการ Relic แบบด้านล่างนี้ มันเหนือธรรมชาติมากเลย

สีเขียวถลอก แล้วเจอลาย Paisley สีชมพู


กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
วิธีพ่นสีทับบนสีเดิมและทำ relic

Fender ในยุค '60s ยังใช้ nitrocellulose lacquer finish บน body ข้อดีของ nitro อย่างหนึ่งก็คือเราสามารถพ่นสีทับสีเก่าใด้เลยโดยไม่ต้องมาเสียเวลาลอกออก Fender ในยุคนั้นขายดีมากดังนั้น body ที่พ่นสีแล้วแต่ไม่ผ่าน QC เพราะสีมีตำหนิเขาก็เลยเอามาพ่นสีทับโดยไม่มีการลอกสีเก่าออกเพราะไม่ต้องการเสียเวลา

คราวนี้พอใช้ไปนานๆจนสีถลอกสีเก่ามันก็โผล่ขึ้นมา ความจริงแล้วมันเป็นเรื่องที่ควรจะขายหน้าแต่เพราะความหาดูยากของการทำสีซ้อนสีแบบนี้ทาง Custom Shop ก็เลยเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสโดยการทำ relic แบบสีซ้อนสีซะเลยและขายราคาแพงระยับทั้งๆที่ความจริงแล้วมันก็คือ manufacturing defect นั่นเอง




เรื่องที่ตลกก็คือกีตาร์ "สีซ้อนสี" กลับขายดีแบบเทน้ำเทท่าซึ่งผมก็งงเพราะเสียงของมันไม่น่าจะดีกว่ากีตาร์ relic ปกติ (ที่ราคาถูกกว่า) เนื่องจากสีมันหนาขึ้นหนึ่งเท่าตัว


เมื่อ Brad Paisley เฮงยิ่งกว่าถูกหวย

เมื่อปี 1968 Fender ออก Telecaster ใหม่มาสองรุ่นคือรุ่น Pink Paisley และ Blue Flower เพื่อเอาใจบุปผาชนแต่ขายไม่ดีเนื่องจากบุปผาชนไม่มีเงินซื้อ (เพราะไม่ยอมทำงานทำการ) Fenderก็เลยต้องเลิกผลิตไปในปี 1969 ในยุค '70s ที่เป็นยุคของ hard rock กีตาร์สองรุ่นนี้ขายถูกๆยังไม่มีใครซื้อก็เลยมีเจ้าของหลายคนพ่นสีทับซะเลย (แต่ผมไม่เคยเห็นหลักฐานว่าโรงงาน Fender เคยพ่นสีทับเองนะครับ)

ศิลปิน country ชื่อเสียงโด่งดังคือ Brad Paisley น่าจะเป็นศิลปินคนเดียวในยุคนี้ที่ใช้ Fender Tele Pink Paisley เป็นกีตาร์คู่กาย วันหนึ่งเขาก็ไปเจอ Tele ปี 1969 ในสภาพค่อนข้างเน่าแต่เสียงเหลือเชื่อดีที่ร้าน Chicago Music Exchange ก็เลยซื้อมาแล้วเอาไปให้ช่างประจำลอกสีออกเพื่อทำเป็นลาย paisley พอช่างเริ่มลอกสีก็ surprise สุดขีดเพราะกีตาร์ตัวนี้เป็นลาย pink paisley ที่เจ้าของเดิมพ่นสีดำทับใว้ นับว่าเฮงสุดๆเพราะราคามือสองของ original pink paisley tele ตอนนี้เกินหมื่นเหรียญครับ



<a href="http://youtu.be/tvdoKvHYxcA" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/tvdoKvHYxcA</a>



ผมว่า Fender custom shop ก็คงใช้วิธีติด paisley wallpaper บน body เปลีอยแล้วพ่นสีชมพูในบริเวณที่เหลือ พอสีแห้งแล้วก็คงสาดสีอื่นทับแล้วเอามาทำ relic จนเห็นกระดาษและสีด้านในเหมือนในรูปข้างล่าง




เดี๋ยวค่อยมาเล่าต่อครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
มาต่อครับ

50 ปีของวิวัฒนาการรูปแบบลาย Paisley บนกีตาร์ Fender (1968-2018)

1968... ตอนนั้น Fender ซื้อ wallpaper แบบมีกาวด้านหลังมาแปะบนไม้เปลือย กระดาษของ wallpaper ค่อนข้างหนา (0.08-0.25 มม.) และยืดตัวไม่ใด้จึงติดใด้บนผิวแบนที่ไม่มีส่วนเว้าส่วนโค้งอย่างเช่นไม้หน้าและหลังของ Telecaster และ Telecaster bass เท่านั้น ลายที่ใช้ตอนนั้นมีสองลายคือ Pink Paisley และ Blue Flower ขั้นตอนการทำ wallpaper ในยุคนั้นดูคลิปสั้นๆใด้ด้านล่างครับ

<a href="http://youtu.be/8ycigOdc7FU" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/8ycigOdc7FU</a>


สมัยนั้นกีตาร์ทั้งสองลายขายไม่ค่อยออก Fender ก็เลยเลิกผลิตไปในปี 1969 Pink Paisley Telecaster น่าจะเป็นกีตาร์อีกรุ่นในประวัติศาสตร์ที่ถูกลืมเลือนในเรื่องความมักง่ายของ CBS Fender ในยุคนั้น

1984..Fender Japan....ในยุคต้น '80s เป็นยุคที่สินค้าจากญี่ปุ่นใด้รับความนิยมมากกว่าสินค้าอเมริกันเพราะคุณภาพดีกว่าและราคาถูกกว่า fender USA ก็เลยต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการไปชวนตัวแทนจำหน่ายที่ญี่ปุ่นคือ Yamano Music และ Kanda Shokai มาร่วมก่อตั้ง Fender Japan ในปี 1982 โดยฝ่ายญี่ปุ่นถือหุ้น 62% ในตอนนั้นกีตาร์ของ Fender Japan วางขายในตลาดญี่ปุ่นและบางรุ่นในตลาดยุโรปเท่านั้น ทาง Fender Japan ก็เลยออกรุ่นไหนก็ใด้ตามใจชอบและเขาก็ตัดสินใจออกรุ่น Telecaster Pink Paisley และ Blue Flower '69 Reissue แบบ limited run (200 ตัว) ในปี 1984

ในยุค '80s นั้นมีนวตกรรมใหม่คือ Dye Sublimation Printing ที่ที่ฉีดสีเข้าไปฝังในเนื้อของ PVC film ใด้สวยงามและทนทานกว่าวิธีพิมพ์ลายโดยแม่พิมพ์ในยุค '60s เยอะ เขาก็เลยใช้วิธีนี้โดยไม่ใด้สนใจเรื่อง authenticity เพราะของแท้ดั้งเดิมมันไม่ใด้สวยอยู่แล้ว




การใช้ PVC film แทนกระดาษนอกจากสวยกว่าแล้วมันยังยืดตัวใด้ (เหมือนพวกฟิล์ม wrap ที่เขาเอามาหุ้มรถทั้งคัน) ทำให้สามารถเอามาใช้กับกีตาร์ที่มีส่วนเว้าส่วนโค้งอย่าง Stratocaster ใด้ Fender Japan ก็เลยออกรุ่น Pink Paisley และ Blue Flower Stratocaster ซึ่งเป็น original design มาด้วยในปี 1984

เมื่อเปรียบเทียบด้านหลังของ USA Custom Shop Pink Paisley Relic ที่ใช้กระดาษกับ Japan Pink Paisley ที่ใช้ฟิล์มจะเห็นใด้ชัดเจนว่าของ Custom Shop เขาปิดสติกเกอร์ตรงส่วนแบนเท่านั้นส่วนญี่ปุ่นเขาใช้แผ่นฟิล์มปิดลงไปถึงส่วนเว้าใด้ด้วย




1990s..Black Paisley....Paisley บนพื้นดำมีการผลิตทั้ง Fender USA และ Fender Japan โดย Fender ผลิตรุ่น James Burton Telecaster (1991-2005) ที่ใช้การ transfer ลายสีทองลงบนไม้หน้าสีดำแล้วพ่น poly ทับ ส่วนรุ่น Richie Sambora Statocaster (1996-2001) นั้น Fender Japan นั้นใช้ PVC Film ติดด้านหน้าและด้านหลังตามสไตล์ของญี่ปุ่นเขา








2018 ..ความบ้าคลั่งของ Fender Custom Shop...ตอนนี้ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า Fender Custom Shop เพิ่งติดโรคจาก Gibson Custom Shop มาหรือเปล่าเพราะเอาสติกเกอร์ pink paisley มาแปะบนกีตาร์โดยอ้างอิงปีของกีตาร์ที่ตัวเองไม่เคยผลิตในลายที่ตัวเองไม่เคยใช้ ถ้าเป็นกีตาร์ราคาประหยัดยังพอทนแต่เล่นขายกันราคาตั้งแต่แสนกว่าถึงสองแสนกว่าบาท คงต้องรอดูต่อไปว่าจะกลายเป็นรุ่นสะสมไหม

สรุปวัสดุและลายของ Pink Paisley ตามยุคใด้ดังนี้ครับ