Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: แงะ ไม้หน้า กีต้าร์เจแปนวินเทจ มาดูกันจะๆ ว่า Laminate top เป็นยังไงกันแน่!  (อ่าน 5676 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

anantayut

  • member
  • ***
  • กระทู้: 303
... กระทู้นี้ เกิดจากความอยากรู้ของผมเอง เกี่ยวกับกีต้าร์เจแปนวินเทจครับ เนื่องจากผมได้ลองและสะสมกีต้าร์เจแปนวินเทจทั้งราคาถูกๆ และไม่ถูกมาหลายสิบตัว และด้วยความอยากรู้ อยากเห็น โครงสร้างข้างในกีต้าร์ที่ระบุสเปคว่าเป็น Laminate หรือบางครั้งผมก็เห็นเชียนว่า Veneer ว่าจะมีหน้าตายังไง เลยตัดสินใจหยิบกีต้าร์ Suzuki ที่มีราคาไม่แพงมาก เอามางัดไม้หน้าออกมาให้เห็นกันไปเลย เนื่องจากสุ้มเสียงของมันเมื่อไปลองเล่นเทียบกับกีต้าร์ Top solid ใหม่ๆ ราคา 6-7 พันบาท ผมว่ามวลเสียง ความแน่นหนาของเสียงฟังแล้วแทบไม่ต่างกันเลย (แต่ผมแอบชอบ Suzuki มากกว่าซะอีก เพราะมันมีหางเสียงเฉพาะตัวที่กีต้าร์ 6-7 พันบาทน้้นไม่มี)  ไปดูภาพกันครับว่ากีต้าร์ Laminate Top จริงๆ แล้วมันมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันแน่!

      เริ่มต้นด้วยภาพ sound hole ที่หลายคนใช้ระบุสเปคกีต้าร์ solid top/ laminate top กันเลยครับ


     
          ... ที่เห็นในภาพ เป็นขอบของโพรงเสียงกีต้าร์ suzuki ราคา 2-3 พันบาทครับ แน่นอนว่ามีโอกาสน้อยมากที่สเปคไม้หน้าจะเป็น solid บางท่านอาจจะสังเหตเห็นลายไม้ หรือเสี้ยนไม้วิ่งลงมาแล้วโค้งเข้าไปด้านใน ซึ่งมันดูเหมือนไม้จริงๆ ใช่ครับ ถ้าเป็นไม้หน้า solid ลายไม้ก็ย่อมจะวิ่งโค้งเข้าไปด้านในตามลอยตัด แต่ถ้าสังเกตดีๆ ดูรอบๆ ของวงกลมให้ทั่วๆ กีต้าร์ที่เป็น laminate top จะมีชั้นบางๆ ประกบซ้อนกันอยู่ ส่วนไอ้ลายไม้ที่เราเห็น จริงๆ แล้วก็เป็นการทำขึ้นมาให้ลายมันต่อกันนั่นเอง ผมคิดว่าทางผู้ผลิตคงต้องการให้มันดูมีลายต่อเนื่องสวยงาม มากกว่าที่จะมาหลอกกันว่าเป็นไม้หน้าจริง ส่วนวิธีทำลายแบบนั้นให้ต่อกันลงมาก็มีทั้งใช้ความร้อนเขียนลงไปบนเนื่อไม้ และใช้สีเขียนลงไปนีแหละครับ ส่วนบางยี่ห้อที่พิถีพิถันมากหน่อย ก็จะใช้วิธีพับไม้บางๆ แผ่นบนลงมาปิดลอยต่อของไม้ที่มันซ้อนกันอยู่ครับ แต่ถ้าใช้กระจกส่องดูด้านในก็ยังคงเห็นชั้นของไม้ด้านล่างสุดอยู่ดี อันนี้ทำให้หลายคนตกม้าตาย คิดว่าเป็นกีต้าร์ solid top มาแล้ว

    มาดูภาพโพรงเสียงด้านในกันบ้าง

 

  .... สังเกตเห็นอะไรไหมครับ กีต้าร์เก่าๆ ตัวนี้ไม่ได้เอาขี้เลื่อย หรือเศษไม้อัดที่ป่นๆ มาอัดทำกีต้าร์นะครับ เพราะดูตามลูกศรชี้ลง จะเห็นว่าแผ่นไม้ที่อยู่ด้านในมีลายไม้ไล่เรียงกันไปอย่างชัดเจน สบายใจได้เลยครับว่าไม่ใช่ขี้เลื่อยป่นๆ แน่นอน ส่วนจุดที่ลูกศรชี้ไปทางด้านซ้าย ผมให้ดูว่าตรงขอบโพรงเสียง เราจะเห็นชั้นของไม้ที่มากระกบกันอยู่ จากภาพนี้ ทำให้เราทราบว่า กีต้าร์รุ่นนี้ใช้ไม้ถึง 3 ชั้น มาประกบกันเป็นโครงสร้างของไม้หน้า ตอนนี้เราทราบแล้วว่า ไม้ชั้นบนสุด (ด้านหน้าที่เคลือบเงา) เป็นไม้แท้ๆ ฝานบางๆ สองแผ่นมาประกบกัน และไม้ด้านล่างสุด (ด้านในตัวกีต้าร์) ก็เป็นไม้ฝานบางๆ ที่นำมาต่อกันนั่นเอง  ประเด๋็นสุดท้ายก็คือ แล้วชั้นไม้ ตรงกลาง ล่ะ! มันเป็นขี้เลื่อยป่นๆ ที่นำมาอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นไม้หรือเปล่า?? ไปดูกันต่อครับ

   
แงะให้ดูไม้แผ่นกลางว่าเป็นขี้เลื่อยขึ้นรูปหรือเปล่า?

   .... จากภาพ กรอบสีฟ้าที่เห็นคือแผ่นไม้ชั้นล่างสุด หรือแผ่นไม้ด้านในกีต้าร์นั่นเอง จะเห็นว่าลายไม้หรือเสี้ยนไม้วิ่งขึ้นข้างบนแนวตั้งฉาก (ตามลูกศรชี้)   ส่วนในกรอบสีแดง ใช่แล้วละครับ มันคือ ไม้แผ่นตรงกลาง นั่นเอง!!  หายสงสัยกันไปเลยว่ามันไม่ใช่เศษไม้หรือขี้เลื่อยป่นๆ นำมาอัดขึ้นรูปอย่างที่ผมเองเคยเข้าใจแบบนั้นมาตลอด มันเป็นไม้ฝานบางๆ นำมาประกบกันนั่นเอง ดูภาพด้านล่างประกอบ จะเห็นว่าไม้แผ่นบนสุดจะวางตัวในทิศทางเดียวกับไม้แผ่นล่างสุด ส่วนแผ่นไม้ตรงกลางจะหันไปอีกทิศทางหนึ่ง ผมเดาว่าน่าจะเป็นเรื่องของการวางให้ลายไม้ เสี้ยนไม้มันตัดกันเป็นแนวตาราง เพื่อความแข็งแรงกระมังครับ และที่อะเมซซิงมากๆก็คือ เขาใช้กาวอะไรมามาประสานไม้บางๆ สามแผ่นให้มันติดกัน เพราะตอนผมแงะแต่ละชั้นมันติดกันแน่นมากๆ ต้องใช้ไดเป่าผมมาช่วยด้วยถึงจะแงะออกมาได้ และก็ไม่เห็นคราบกาวบนไม้แต่ละแผ่นด้วยนะครับ สงสัยอาจจะใช้พวกแรงดัน ความกดอากาศอะไรเทือกๆ นั้นตอนประกบไม้กระมังครับ (อันนี้เดาเอาเอง)
     

   แล้วแผ่นไม้บางๆ มันหนากี่ มิลลิเมตรกันแน่?



       ด้วยความอยากรู้ว่าไม้ทั้งสามแผ่นที่นำมาประกบกัน มีความหนาเท่าไร ผมจึงใช้ เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ วัดความหนาของไม้ครับ ซึ่งก็สรุปได้ว่า ไม้แผ่นบนสุด (ที่เคลือบผิว) กับไม้แผ่นล่างสุด (ด้านในตัวกีต้าร์) มีความหนาเท่ากันแป๊ะๆ คือ 1 มิลลิเมตร ส่วนไม้แผ่นกลาง มีความหนาเพียง 0.8 มิลลิเมตรครับ ทำให้เราทราบว่ากีต้าร์รุ่นนี้ ไม้หน้ามีความหนา 2.8 มิลเลเมตร (อันนี้คงจะแล้วแต่ยี่ห้อและ รุ่นด้วยครับ เพราะบางตัวผมก็วัดได้ 2.9, 3.0, 3.1 มิลลิเมตร ก็มีด้วยเช่นกัน )  .... เกือบลืมพูดถึงกีตาร์ ลามิเนต ยุคใหม่ๆ มันใช้โครงสร้างแบบนี้หรือเปล่า ขอตอบเลยครับว่า บางยี่ห้อยังใช้การฝานไม้บางๆ แปะแบบนี้อยู่ครับ ส่วนยี่ห้อโนเนม ราคาถูกนั้น ที่ผมเคยเอาสว่านทะลวงดู และเอากระจกส่องดูข้างใน ปรากฏว่า มีแค่ไม้แผ่นหน้าชั้นเดียวครับที่เป็นไม้แท้ๆ แต่บางโคตรๆ ครับ ส่วนไม้ชั้นกลางเป็นขี้เลื่อยที่เหลือจากการทำเฟอร์นิเจอร์กระมัง เอามาขึ้นรูปเป็นแผ่นบางๆ ใช้สว่านทะลวงดู เศษไม้อัดตรงกลางร่วงกรูกันออกมาเป็นผงเลย
      ... เพราะฉนั้น ถ้าเจอกีต้าร์ที่ระบุสเปคว่า Laminate top ก็อย่าเพิ่งร้องยี้ว่า ไม้อัด ขี้เลื่อยเปล่งเสียงได้ อะไรแบบนี้นะครับ เพราะกีต้าร์ลามิเนตบางตัวยังมีอะไรดีๆ อย่างที่เห็นครับ ; p



      บทสรุป สำหรับตัวผมเอง กีต้าร์ลามิเนตเก่าๆ ยังควรค่าแก่การหามาเล่นและดมกลิ่นไม้เก่าๆครับ! ; P



           ... กระทู้นี้อาจจะไม่มีประโยชน์สำหรับบางท่านที่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้ว แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านอื่นๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน เพราะผมเองก็สงสัยมานาน และได้พิสูจน์ด้วยตัวเองกันแบบจะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เราเคยเห็น เคยอ่านมานั้นน่าเชื่อถือได้ หรือมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริง ...สุดท้ายแล้ว กีต้าร์เก่าๆ สำหรับผมก็ยังดูมีเสน่ห์ดึงดูดใจกว่ากีต้าร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะเสียงที่โฉ่งฉ่างๆ ฉูดฉาด ที่ฟังแล้วดูจะไม่บาลานซ์กลมกล่อมเเหมือนกับกีต้าร์ใหม่ๆ แต่มันก็ให้อารมณ์ดิบๆ ดีครับ

TOM1869

  • member
  • ***
  • กระทู้: 19,247
Line id: 081-8718003

anantayut

  • member
  • ***
  • กระทู้: 303
Super like
                  ขอบคุณมากครับน้าทอม : D

Pocha Shipping

  • member
  • ***
  • กระทู้: 124
เยียมมากเลยครับ ;D

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
ได้ความรู้แบบเห็นภาพเลยครับ
น่าจะตีแผ่ laminated สมัยใหม่ให้ชมด้วยเลย 555

Thammarat

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,353
  • เพศ: ชาย
ชัดเจนไม่ต้องเอามาตีความเลยครับ
 :)

เส้นทางลูกผู้ชาย

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,065
การทำแบบนี้มันยากกว่า ที่จะเอาไม้จริงเพียงแผ่นเดียว มาทำเสียอีก ผมก็ยังมองไม่ออกว่าถ้าไม่เพื่อการลดต้นทุนแล้วเค้าจะทำมาเพื่ออะไรครับ ผมมีกีต้าร์เก่าๆที่เป็น ออล ลามิเนต อยู่ 3 ตัว ทั้ง ญี่ปุ่น และ เกาหลี เสียงมันก็ดีระดับนึง แต่ว่า มันไม่แน่นเท่า พวก กีต้าร์ โซลิด ทอป
คือกีต้าร์พวกนี้ผมคิดว่าเสียงมันบางกว่านะ (คหสต) ผมคิดว่า ลามิเนต ในแบบต่างๆ มันก็แตกต่างกันตามราคา เช่น พวก เทเลอร์ และ เค ยายริ จะค่อนข้างดีครับ

nuchinge

  • member
  • ***
  • กระทู้: 639
ขอบคุณมากๆๆครับ

tanaman

  • member
  • ***
  • กระทู้: 32
ชัดเจน และ ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ใช้สำหรับอ้างอิงได้เลยครับ

กลัวอยู่อย่างเดียวครับ นานๆไป รูปที่ฝากไว้หมดอายุ ภาพก็จะหายไป เหมือนหลายๆกระทู้ที่ผ่านมา ...


CalmForHappy

  • member
  • ***
  • กระทู้: 588
  • เพศ: ชาย
  • YAMAHA และ K.YAIRI
นี้ละเหตุผลทำไม ไม้ลามิเนตบางแบรนด์เสียงมันดีจัง..
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
กีต้าร์มหาเวทดูดดาว

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
"การทำแบบนี้มันยากกว่า ที่จะเอาไม้จริงเพียงแผ่นเดียว มาทำเสียอีก ผมก็ยังมองไม่ออกว่าถ้าไม่เพื่อการลดต้นทุนแล้วเค้าจะทำมาเพื่ออะไรครับ"

ใช่เลยครับ!!!! การที่เอาไม้ solid มาหนึ่งแผ่นแล้วเลื่อยแบ่งเป็นสามแผ่นบางๆ เอามาวางสลับเกรน ทากาวและอัดทิ้งใว้หลายวันจนกาวแห้งนี่จะทำไปทำไมครับ ถ้าเป็นกีตาร์โปร่งก็มีเจ้าเดียวที่ทำกับไม้หลังคือ Guild เพื่อดัดขึ้นรูปโค้งในบางรุ่น Guild เองก็บอกว่าการทำแบบนี้แพงกว่าใช้ไม้ solid แต่จำเป็นเพราะไม้ solid มันดัดขึ้นรูปไม่ใด้

การเอาไม้หน้า solid บางๆพันธุ์เดียวกันมาประกบกันสองหรือสามชั้นนั้นผมว่ากีตาร์ญี่ปุ่นเริ่มก่อนนะครับแต่บางเจ้าก็ไม่ใด้วางสลับเกรน ตัวอย่างเช่น Yamaha FG180 ป้ายแดงตัวข้างล่างเป็นต้น




เหตุผลที่เขาทำแบบนี้เพื่อประหยัดต้นทุนนั้นก็เพราะโรงงานกีตาร์ที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีโรงเลื่อยของตัวเองและซื้อไม้ซุงมาเลื่อยเองด้วย  การเลื่อยไม้หน้าเขาใช้วิธี quarter-sawing เท่านั้นอย่างในรูปข้างล่างครับ




ไม้ซุงที่ใหญ่พอจะเอามาทำกีตาร์โปร่งนั้นควรมีเสันผ่าศูนย์กลางประมาณ 24" เป็นอย่างต่ำ จากรูปจะเห็นใด้ว่าแผ่นไม้ที่ใช้ทำไม้หน้าสองชิ้นใด้จะมีอยู่แค่ประมาณ 30% เท่านั้นส่วนที่เหลืออีก 70% นั้นต้องโยนทิ้งแต่ถ้าเอาไม้หน้าแคบมาเรียงต่อกันเป็น 3-4-5 ชิ้นใด้ก็สามารถจะใช้ไม้ใด้เกือบหมดโดยที่ไม่ใด้มีผลต่อเสียงเลย
เมื่อกีตาร์ที่ไม้หน้ามากกว่าสองชิ้นไม่ใด้รับการยอมรับเขาก็เลยเลื่อยไม้แผ่นใหญ่ตรงกลางมาปะด้านหน้า ส่วนใส้กลางนั้นไม่มีใครมองเห็นเลยใช้กี่ชิ้นก็ใด้ อย่างตัวในกระทู้นี้ไม้แผ่นหลังเป็นไม้สามชิ้นครับ




ที่ผมยังสงสัยอยู่ก็คือทำไมเขาถึงวางไม้สลับเกรนกันเฉยเลย การวางแบบนี้เขาใช้กับกีตาร์ hollow body ที่ไม่ต้องการให้ไม้หน้าสั่นมากเพื่อลดอาการ feedback แต่มันน่าจะทำให้เสียงเบาลงถ้าใช้กับกีตาร์โปร่ง



anantayut

  • member
  • ***
  • กระทู้: 303
ขอบคุณน้ากฤษณ์ที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ : D

peedanai

  • member
  • ***
  • กระทู้: 507
ขอถามต่อนิดนึงครับไม้ jacaranda ที่เห็นในเจเปน วินเทจ
ส่วนมากคนขายจะชอบ บอกว่า
  jacaranda(brazillian rosewood) คือเป็นไม้ชนิดเดียวกันหรือดปล่าครับ เเละเป็น solid

anantayut

  • member
  • ***
  • กระทู้: 303
ขอถามต่อนิดนึงครับไม้ jacaranda ที่เห็นในเจเปน วินเทจ
ส่วนมากคนขายจะชอบ บอกว่า
  jacaranda(brazillian rosewood) คือเป็นไม้ชนิดเดียวกันหรือดปล่าครับ เเละเป็น solid

        ขออนุญาต หยิบยกบทความที่น้ากฤษณ์เคยมามาตอบในกระทู้หนึ่งให้นะครับ เพราะผมก็ไม่มีความรู้เรื่องสายพันธุ์ของไม้เลย น้ากฤษณ์เคยอธิบายไว้ในเว็บอะคุสติกไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง ผมไปหามาเจอพอดีเลยครับ  ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ  >>
       http://acousticthai.net/webboard/index.php?topic=62355.0

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Jacaranda ในภาษาญี่ปุ่นคือไม้ rosewood ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และกลางซึ่งรวมถึง brazilian rosewood ด้วยครับ

ความจริงแล้ว brazilian rosewood ก็มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "บุราจีเรี่ยนโอสุดูโอะ" ซึ่งยาวมากพวกคอกีตาร์โปร่งก็เลยเรียกกันว่า "ฮาราแคนด้า" ในยุค '50s, '60s นั้นไม้บราซิลเลี่ยนไม่ใด้แพงกว่าไม่อินเดี่ยนโรสวู้ดเพราะรัฐบาลบราซิลปล่อยให้ตัดกันตามอำเภอใจโดยไม่ต้องปลูกทดแทน (สมัยนั้นในอเมริกาไม้บราซิลเลี่ยนถูกกว่าด้วยซ้ำเพราะค่าขนส่งถูกกว่าเยอะ)

ในสมัยก่อนนั้นเขาจะขนไม้ซุงเป็นท่อนขึ้นเรือไปเลื่อยที่ประเทศปลายทางตอนนั้นเขาบอกว่าญี่ปุ่นขนไปตุนใว้เพียบแต่อเมริกาไม่มีการตุนเลย ในปี 1969 รัฐบาลบราซิลก็ออกกฎหมายห้ามส่งไม้ท่อนออกนอกประเทศและส่งใด้เฉพาะไม้ที่แปรรูปแล้วในบราซิลเท่านั้น แน่นอนว่าตอนนั้นไม้บราซิลเลี่ยนก็ราคาแพงและเริ่มขาดตลาดในอเมริกาจนผู้ผลิตอย่าง Martin และ Guild ต้องเปลี่ยนไปใช้ไม้อินเดี่ยนโรสวู้ดแทน

สำหรับผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Yamaha นั้นเขาใช้ brazilian rosewood ในยุค '60s และต้น '70s พอมายุคกลาง '70s ไม้บราซิลเลี่ยนเริ่มราคาแพงเขาก็เลยใช้ไม้ rosewood จากแหล่งอื่นในอเมริกาใต้แทนในรุ่นที่ไม่แพงมากอย่าง L-10 หลังจากปี 1980 Yamaha จะใช้ brazilian rosewood กับ custom order เท่านั้นครับ

สำหรับ Yamaha แล้วเขาเรียก brazilian rosewood ว่า Luxury Hacaranda ครับ ตารางด้านล่างผมใช้ google แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นนะครับ (ดูคำอธิบายศัพย์ด้านล่าง)




รวบรวมคำแปลจากภาษาญี่ปุ่น




ความจริงแล้วต้องโทษยามาฮ่าที่ทำให้ชาวบ้านสับสนเรื่องชื่อของไม้ สำหรับผู้ผลิตรายเล็กๆอย่าง Kohno นี่เขาก็ใช้ brazilian rosewood มาตลอดจนกระท่้งมีการห้ามส่งออกโดย CITES ในปี 1992 ถึงใด้เริ่มใช้ central and south american rosewood แทนครับ

anantayut

  • member
  • ***
  • กระทู้: 303
  ...พอดีไปเจอคลิปโรงงานทำกีต้าร์ใน เม็กซิโก เลยเอามาฝากกันครับ ในคลิปมีวิธีฝานไม้บางๆ จากท่อนซุงขนาดใหญ่ยักษ์เพื่อนำมาประกบกันเป็น Laminate ด้วย และเขาเฉลยด้วยว่า ทำไมต้องวางลายไม้สลับกันในระหว่างที่นำแผ่นไม้มาประกบกันด้วย เห็นแล้วอยากไปอยู่แถวนั้นจัง
           
! No longer available

zenkiyaba

  • member
  • ***
  • กระทู้: 396

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
คลิปน่าสนใจมากครับ ผมไม่เคยรู้ว่ามีโรงงานเมกซีโกทำกีตาร์ตัวละหมื่นกว่าเหรียญสหรัฐด้วย ที่เขาอธิบายว่าเขาวางแผ่นลามีเนตสลับเกรนเพื่อความแข็งแรงนั้นน่าจะเป็นเพราะเขาใช้วิธีปอกเปลือกซึ่งทำไม้แผ่นใด้บางถึง 0.5 มม. เลยต้องเอามาวางสลับเกรนกัน ตามปกติการวางแบบสลับเกรนนี้เขาใช้กับไม้หน้าและหลังที่ต้องอัดโค้งเพื่อให้มันคงรูปโค้งใว้ใด้และทำให้ไม้สั่นน้อยลงเพื่อลด feedback