Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: Falbo Bridge แก้ปัญหา bending moment ของกีต้าร์โปร่งได้หรือไม่ครับ  (อ่าน 2189 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
"โครงสร้างไม้หน้าของกีต้าร์โปร่งนั้นไม่ช้าก็เร็วก็พังครับเพราะตามหลักวิศวกรรมแล้วมันคือ "an implosion waiting to happen"
เนื่องจากไม้หน้ามันโดนดึงตลอดเวลาและมีแค่ระบบ bracing เท่านั้นที่เป็นตัวรับแรงนี้ซึ่งถ้ากาวเสื่อมเมื่อไหร่ก็พังแน่นอน"
(ขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลของน้ากฤษณ์นะครับ)

ผมบังเอิญไปเจอ Falbo Intension bridge design มา เห็นว่าน่าสนใจดีครับ
นี่เป็นเหมือนสิทธิบัตรที่เค้าจดไว้มั้งครับ (ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจ)
http://www.anzlf.com/download/file.php?id=14771&sid=88e274eea190d9752cdab750f50001a0
http://www.freepatentsonline.com/20150243262.pdf

<a href="http://youtu.be/v0Dzxb1dZH4" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/v0Dzxb1dZH4</a>


http://www.falboguitars.com/technology-mechanics




ถึงขนาดเคลมว่า ระบบ bridge ของเค้าเป็น Intension bridge ทำให้สามารถวาง bracing น้อยลงได้
แต่ bridge ยังแข็งแรงอยู่ (คงท้องไม่ป่อง bridge ไม่ยก ประมาณนั้น)

“Usually an acoustic guitar will have one or two tonebars that shoot across the inside of the body,
behind the bridge,” he says. “But there’s no bracing behind my bridges at all.

http://www.guitaraficionado.com/frank-falbos-innovative-guitar-bridge-design-is-shown-to-its-best-advantage-with-the-jumbo.html

แถมแกยังโม้ด้วยว่ากีต้าร์แกเสียงดีจากการที่ bracing บางลง เบาลง

"In general, thinner tops and lighter bracing make for a livelier and more responsive guitar"

แล้ว Intension bridge เนี่ย มันสามารถ balance แรงดึง/แรงกด ที่สายกีต้าร์ ทำกับไม้หน้าและบริดจ์ได้จริงๆเหรอครับ

"Intension bridge comes in, as it uses string tension to balance its pull on the top. Intension simply equalizes
the upward, rotational torque without affecting string tension in the critical area surrounding the bridge."

http://www.guitarplayer.com/miscellaneous/1139/falbo-guitars-alpha-series/23059

<a href="http://youtu.be/UQbZBJGtqF8" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/UQbZBJGtqF8</a>


แล้ว bridge แบบนี้มันเปลี่ยนสายยังไงครับ หาคลิปดูไม่ได้เลย
รูป bracing ด้านในกีต้าร์ก็หาไม่ได้อีกเช่นกัน

ใครหาข้อมูลอะไรเพิ่มเติมได้ รบกวนแชร์ให้หน่อยครับ
ขอบคุณครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
ที่เขาเคลมมามันก็ตรงตามทฤษฎีแต่ในทางปฏิบัติจะมีผลแค่ไหนและจะล้วงเข้าไปเปลี่ยนสายยังไงนี่ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ เรื่องการลดแรงดัด (bending moment) ที่ทำให้ไม้หน้าป่องหลัง bridge และยุบหน้า bridge นี่ตา Orville Gibson แกแก้จบมาร้อยกว่าปีแล้วโดยการใช้หลักการของโครงสร้างไวโอลินที่ทำไม้หน้าให้โค้งจนมีแรงกดจากสายพอและเอาส่วนก้นไปรับแรงดึง คราวนี้อยู่ไปอีกสองร้อยปีก็ไม่พังครับ




 ปัญหาของกีตาร์ flat top ก็คือถ้าใช้ระบบเดียวกับ archtop แรงกดบน saddle จะน้อยมากเพราะองศาของสายมันไม่ชันพอ ผมว่าคนที่แก้ใด้แล้วเมื่อสิบกว่าปีก่อนก็คือนาย Jeff Babicz ครับ




BBadtz

  • member
  • ***
  • กระทู้: 340
  • เพศ: ชาย
ขอบคุณน้ากฤษณ์มากครับ
แต่ในระยะเวลาอันยาวนานก็ไม่รู้ว่าระบบนี้มันจะทนแค่ไหน
ผมกลับชอบ direct coupled bridge ของ K.Yairi มากกว่า

มันเหมือน traditional meet innovative ครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,162
K. Yairi เขาไม่ใด้ออกแบบระบบ direct coupled bridge มาเพื่อแก้ปัญหากีตาร์ท้องป่องด้านหลังและยุบด้านหน้าจาก bending moment นะครับ ที่เขาไม่ทำก็เพราะกีตาร์ของเขาไม่เคยมีปัญหานี้อยู่แล้วไม่ว่าจะใช้ bridge ระบบไหน.




DC Bridge นั้นมีประโยชน์สองอย่างคือ

1. ฺBridge ไม่มีทางอ้าหรือยก...การแยก bridge เป็นสองส่วนอิสสระคือตัว saddle box ด้านหน้าที่รับแต่แรงกดของสายและ bridge pin box ด้านหลังที่เป็นชิ้นเดียวกับ bridge plate ด้านล่างทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องบริดจ์ยกแน่นอน

2. Bridge ปกตินั้นต้องมีพื้นที่กว้างพอสำหรับติดกาวกันแรงยกและต้องหนาพอที่จะไม่แตกตรงรู bridge pin เมื่อโดนดึงนานๆ bridge ก็เลยต้องหนาและหนักซึ่งไปถ่วงให้ไม้หน้าสั่นน้อยลง ตัว saddle box ของ DC bridge นั้นทำหน้าที่เหมือน floating bridge ของกีตร์ archtop ที่รับแรงกดอย่างเดียวก็เลยสามารถทำให้เบาและบางใด้ เมื่อมี dead mass น้อยลงเสียงก็ดังขึ้นครับ

ผมหารูปแนวตัดของระบบนี้ไม่เจอเลยต้องเขียน free body diagram ใหม่เองในรูปด้านล่างครับ




จากรูปจะเห็นใด้ว่าการใช้ bridge plate รูปตัว T เป็นตัวรับแรง tension และ bending moment ก็เลยทำให้ไม้หน้ารับแต่แรงกด (compression) อย่างเดียวสบายตัวไป การทำ bridge plate ให้มีพื้นที่ด้านหน้ามากกว่าด้านหลังก็ทำให้ลด moment ใด้ในคู่แนวตั้งด้วย

ผมว่าระบบนี้ยอดมากแต่น่าสงสัยว่าทำไมไม่เห็นใครก้อปไปใช้ทั้งๆที่ลิขสิทธิ์ก็หมดอายุมาเกินสิบปีแล้ว