Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: Foot Switch พลิกหน้าโน้ตเพลง แบบที่ 1  (อ่าน 1190 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

lop

  • member
  • ***
  • กระทู้: 48
Foot Switch พลิกหน้าโน้ตเพลง แบบที่ 1
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2017, 14:17:47 »
ผมเคยสอบถามเพื่อนนักดนตรีและค้นหาใน internet ว่ามีอุปกรณ์จำพวกนี้หรือเปล่า
แต่ก็ไม่พบว่ามี ก็เลยลองคิดหาวิธีดัดแปลงอุปกรณ์พวก keyboard หรือ mouse
เพื่อนำมาต่อกับ foot switch สำหรับพลิกหน้าโน้ตเพลง เดินหน้า ถอยหลัง
ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับนักดนตรีที่ดูโน้ตจาก notebook หรือ tablet บ้าง
ก็เลยขออนุญาตนำเสนอเป็นแนวทางนะครับ

แบบที่ 1 นี้เป็นแนวทางที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด
โดยดัดแปลงจาก Numeric Keypad หรือ 10-key ที่ต่อเชื่อมกับ notebook ด้วยสาย usb
เจ้า 10-key นี้ เอาไว้สำหรับพิมพ์ตัวเลขให้ถนัดมือกว่าแป้นพิมพ์บนตัว notebook
แต่ในขณะเดียวกันปุ่ม [9] และ [3] มันยังทำหน้าที่เป็นปุ่ม [Page Up] และ [Page Down] ด้วย
โดยมีปุ่ม [Num Lock] สำหรับสวิทช์กลับไปมาระหว่าง [9] <-> [PgUp] และ [3] <-> [PgDn]



สายที่ต่อกับตัว 10-key ไป notebook จะเป็นสาย usb สั้นๆ (สายสีดำ) ซึ่งน่าจะยาวไม่พอ
ในขั้นตอนสุดท้าย อาจจะต้องดัดแปลงใช้สาย usb ที่ยาวกว่าเช่นสาย printer (สายสีฟ้า)

==============================
ขั้นตอนที่ 1 ทดสอบ 10-key กับ notebook หรือ tablet

เมื่อเราต่อ 10-key เข้ากับ notebook โปรแกรม Windows จะติดตั้ง driver ให้สามารถทำงานได้ทันที
ลองเปิดโปรแกรมพิมพ์เอกสารเช่น MS Word ขึ้นมา แล้วกดปุ่ม [Num Lock] ให้ไฟติด
ก็จะพิมพ์ตัวเลข 1, 2, 3 ... ได้
ลองเปิดเอกสารที่มีหลายหน้าขึ้นมา แล้วกดปุ่ม [Num Lock] ให้ไฟดับ
เมื่อกดปุ่ม [PgUp] และ [PgDn] ก็จะเลื่อนหน้าขึ้นลงได้

สำหรับ tablet ผมลองดู spec ส่วนใหญ่จะมีช่อง micro usb ซึ่งเสียบ 10-key เข้าไม่ได้
คงต้องใช้ตัวแปลงจาก micro usb เป็น standard usb ก่อน

===================================
ขั้นตอนที่ 2 ไล่วงจร หาตำแหน่งของสวิทช์ [PgUp] และ [PgDn]

เปิดฝาหลังของ 10-key ออก แล้วดึงแผงวงจรออกมา




แผ่นพลาสติกที่มีจุดกลม กระจายเป็นตารางนี่คือแผงสวิทช์
เทียบตำแหน่งของปุ่ม [PgUp] [PgDn] และ [Num Lock] กับวงกลมบนแผงสวิทช์

แผงสวิทช์จะประกอบด้วยแผ่นพลาสติก 3 แผ่น แผ่นบน-ล่าง จะเป็นหน้าสัมผัส (contact)
ส่วนแผ่นกลางทำหน้าที่เป็นตัวกันไม่ให้หน้าสัมผัสบน-ล่างแตะกัน จนกว่าจะมีการกดปุ่ม



ค่อย ๆ ไล่วงจรของปุ่ม [PgUp] ไปยังแถบหน้าสัมผัสด้านบนที่จะไปแตะกับแผงวงจร
กำหนดหมายเลขเรียงลำดับ 1, 2 ... 12
ตรงนี้ต้องใจเย็น ๆ นะครับ คนที่ไม่ค่อยได้ไล่วงจรมักจะพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ

สำหรับ 10-key ต้นแบบนี้ ได้ผลตามนี้
    ปุ่ม [PgUp] ไปที่ ตำแหน่ง 4 กับ 11
    ปุ่ม [PgDn] ไปที่ ตำแหน่ง 5 กับ 11
    ปุ่ม [Num Lock] ไปที่ ตำแหน่ง 2 กับ 9

=====================================
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจทานการไล่วงจร และหาค่าความต้านทานหน้าสัมผัส

ใช้ Ohm Meter วัดความต้านทานที่ ตำแหน่ง 4 กับ 11
แล้วใช้มือกดแผงสวิทช์ที่จุดกลมที่ตำแหน่ง [PgUp]
ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนจากอนันต์ลงมาเหลือแค่ 40 ถึง 80 โอห์ม
แสดงว่าตำแหน่งสวิทช์ถูกต้องแล้ว




   
ตรวจทานปุ่ม [PgDn] และ [Num Lock] ด้วยวิธีเดียวกัน

================
ขั้นตอนที่ 4 ต่อ foot switch



เนื่องจากแผงวงจรไม่มีจุดให้บัดกรีจากตำแหน่งที่ 2, 4, 5, 9 และ 11 เลย
จึงต้องใช้การขูดสีเคลือบลายปริ้นท์ให้เห็นลายทองแดงจึงจะบัดกรีได้
ผมต้องใช้แว่นขยายส่องดูขณะขูดสี ต้องระวังไม่ไปขูดทองแดง



สังเกตว่าลายปริ้นท์บางมาก จึงต้องใช้ฝีมือและความชำนาญในการบัดกรีอย่างมาก
หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี และสายไฟ จึงต้องมีขนาดที่เหมาะกับงานละเอียด
การบัดกรีนาน ๆ ซ้ำหลายครั้ง จะทำให้ลายทองแดงหลุดร่อนออกมา



และอย่าลืมว่าตำแหน่ง 1, 2 ... 12 บนแผงวงจร มันกลับกระจกซ้ายขวากับแผงสวิทช์นะครับ



วงจร foot switch ก็ง่าย ๆ ดูรูปก็คงเข้าใจได้
หาตัวต้านทานขนาด 30 ถึง 80 โอห์มมาต่อที่ตำแหน่งที่ 4 และ 5 ก่อนเข้า foot switch

ในต้นแบบนี้ผมต่อสายเฉพาะตำแหน่ง 4 5 และ 11 เท่านั้นนะครับ
ถ้าจะต่อสวิทช์ [Num Lock] ด้วย ก็ใช้สวิทช์ กดติด-ปล่อยดับ ตัวเล็ก ๆ ก็ได้ครับ

=============================
ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบผลงานกับ notebook หรือ tablet



ต่อสาย usb เข้ากับ notebook สังเกตว่าไฟ [Num Lock] ดับอยู่
ถ้าเกิดไฟ [Num Lock] สว่างขึ้นมาอาจจะต้องไปต่อสวิทช์ที่ตำแหน่ง 2 กับ 9 ด้วย

ลองเปิดเอกสารที่มีหลายหน้าขึ้นมา
เมื่อกด foot switch ที่ทำหน้าที่แทนปุ่ม [PgUp] และ [PgDn] ก็จะเลื่อนหน้าขึ้นลงได้
เป็นอันว่าวงจรถูกต้อง

============
ขั้นตอนที่ 6 ลงกล่อง

อันนี้ก็เชิญตามอัธยาศัย
ถ้าจำเป็นต้องใช้สาย usb ที่ยาวขึ้น ก็อาจจะบัดกรีสายเข้ากับตัว 10-key โดยตรง
สังเกตว่าที่ใกล้ ๆ กับที่เสียบ usb บนแผงวงจรจะมีจุดบัดกรี 4 จุดที่พิมพ์กำกับว่า
GND, D+, D- และ VDD ตามมาตรฐาน usb อยู่แล้ว

อาจจะต้องตัดแผ่นวงจรส่วนที่ไม่ได้ใช้ออก ให้มีขนาดเล็กพอจะลงกล่องได้
และในขั้นตอนที่ 4 ถ้ามั่นใจแล้วว่าเอาจริง จะขูดสีตรงหน้าสัมผัสสีดำก็ได้ จุดบัดกรีก็จะใหญ่ขึ้น

=====
บทสรุป

ข้อดี
- วงจรเรียบง่าย ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดระหว่างการใช้งานมีน้อย

ข้อเสีย
- สาย usb อาจจะเกะกะ
- ใช้ได้กับอุปกรณ์ที่มีช่องเสียบ usb และรองรับ 10-key เท่านั้น
ในกรณี tablet อาจจะต้องใช้ตัวแปลงหัว micro usb ด้วย

======
หมายเหตุ

- ผมไม่ได้ลองใช้ 10-key กับ tablet ที่ใช้ android หรือ linux แต่คิดว่าถ้าเสียบสาย usb ได้ ก็น่าจะใช้ได้
เพราะ OS เหล่านี้น่าจะมอง 10-key เป็น keyboard ธรรมดา ๆ

- ผมไม่ได้ทำจนเสร็จสมบูรณ์ลงกล่อง เพราะว่าผมยังดูโน้ตจากกระดาษ A4 อยู่ครับ
ขนาด A4 ยังต้องวางบน stand ให้ได้ระดับเหมาะ ๆ ไม่งั้นมองไม่เห็น

- ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ใครจะเอาทำอะไรต่อ ก็เชิญตามอัธยาศัย
แต่ถ้าใครจะนำไปทำใช้งานจริง ๆ ขอให้แนะนำให้ไปปรึกษาเพื่อนที่ทำทางด้านอิเล็คทรอนิกส์ น่าจะทำได้ไม่ยาก

- ผมยังมีแนวคิดแบบที่ 2, 3 อีก เช่น
ดัดแปลง keyboard ที่แป้นบางแป้นเสีย
ดัดแปลง scroll mouse ที่ปุ่มซ้ายเสีย (2 แนวทางนี้ไม่ต้องลงทุนซื้อ keyboard กับ mouse)
ดัดแปลง mouse หรือ keyboard ที่ใช้ bluetooth จะได้ใช้กับ tablet ได้สะดวกขึ้น
ถ้าผมว่างก็จะทดลองทำ แล้วมานำเสนอต่อไป

ใครที่คิดออกจะนำเสนอตัดหน้าผมไปก่อน ก็จะเป็นพระคุณ เพราะผมจะได้ไม่ต้องลงมือทำ
ประการสำคัญ ผมคิดว่าของอย่างนี้น่าจะเหมาะกับเด็ก ๆ รุ่น สิบสี่สิบห้า ได้ลองวิชา
ไม่ใช่รุ่นห้าสิบอย่างผม รุ่นผมนี่เหมาะกับทำหน้าที่ติชมมากกว่าลงไม้ลงมือครับ

pangkungman

  • member
  • ***
  • กระทู้: 378
  • :)
Re: Foot Switch พลิกหน้าโน้ตเพลง แบบที่ 1
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2017, 16:29:16 »
น้า lop สุดยอดมาก ๆ ครับ เป็นประโยชน์จริง ๆ ครับผม :)
;)

samaklen

  • member
  • ***
  • กระทู้: 828
Re: Foot Switch พลิกหน้าโน้ตเพลง แบบที่ 1
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2017, 11:06:16 »
แค่มิเตอร์ ก็รู้ว่าเก๋าแล้วครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ DIY

phisitja

  • member
  • ***
  • กระทู้: 16
  • เพศ: ชาย
  • เล่นกีตาร์ แกะเพลง คีย์บอร์ด ขลุ่ย hamonica
Re: Foot Switch พลิกหน้าโน้ตเพลง แบบที่ 1
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2017, 11:16:25 »
โอ้ว สุดยอดมากเลยครับผม สร้างสรรค์มาก แก้ปัญหาได้ดีครับผม
พิสิฏฐ์ ศ. phisitja