Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อ"ทฤษฎีดนตรี"  (อ่าน 4468 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

FOTOBEER

  • member
  • ***
  • กระทู้: 5,404
  • เพศ: ชาย
  • fotobeer2516แอ๊ดgmail.com
เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อ"ทฤษฎีดนตรี"

ในอดีตผมเป็นคนนึงที่มีความคิดต่อต้าน"ทฤษฎีดนตรี"เพราะคิดว่าไม่จำเป็น เรามารถสร้างหรือคิดเองได้.... โดยที่ยังไม่ได้ศึกษา"ทฤษฎีดนตรี"เลย

หลังจากนั้นผมก็เริ่มคลำหาทางของสเกลเอง
เสียเวลามากแต่ผมก็ทำได้....

แท้ที่จริงแล้ว... เมื่อผมทำได้มันก็เป็นแค่สเกลเมเจอร์ธรรมดา ธรรมดาสเกลหนึ่ง ที่มันมีอยู่แล้วบนโลกใบนี้......

มันเสียเวลามากที่ต้องคิดทำอะไรเอง... ทั้งๆที่มีคนอื่นคิดมาก่อนอยู่แล้ว.... ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

ดังเช่น... ผมเก็บตัวอยู่ในห้องสองปี แล้วเดินออกมาพร้อมพัดลมไฟฟ้าเครื่องนึง..... เป็นพัดลมที่ผมคิดแล้วประดิษฐ์ขึ้นมาเอง....

มันจะมีประโยชน์อะไร.. ก็ในเมื่อทุกวันนี้มันก็มีพัดลมไฟฟ้าอยู่แล้ว.... นั่นเท่ากับว่าผมเสียเวลาเปล่า.....

แต่ถ้าผมนำพัดลมไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว... แล้วเอามาคิดต่อยอดปรับปรุงเป็นพัดลมที่ไม่ต้องเสียบไฟฟ้าเป็นพัดลมที่สามารถสร้างพลังงานให้ตัวมันเองได้ด้วยพลังงานกล..... นั่นคือผมได้ทำสิ่งมีอยู่แล้วเอามาต่อยอดพัฒนาให้มันดีขึ้น.... เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่ดีกว่า

"ทฤษฎีดนตรี"ก็เหมือนกัน... เราอย่าไปเสียเวลาคิดอะไรเองเลย... โดยที่ยังไม่ได้ศึกษา"ทฤษฎีดนตรี"
เพราะอะไรที่คุณคิดได้.... มันมีคนคิดมาหมดแล้วเพราะดนตรีมันอยู่บนโลกใบนี้มาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว

และอีกหนึ่งความคิดในสมัยก่อนที่มีต่อ"ทฤษฎีดนตรี"ก็คือ.... มันจะไม่อิสละเพราะจะโดน"ทฤษฎีดนตรี"บังคับ... ผมเชื่อว่าหลายคนคิดแบบนี้... ผมคนนึงก็เคยคิดแบบนี้

จากนั้นพอผมเล่นไปแบบไม่รู้"ทฤษฎีดนตรี"เล่นไปเรื่อยๆ... จนวันนึง.. มันก็มาถึงทางตัน
ไม่รู้จะเล่นอะไรดี... เล่นทีไรก็โซโล่คล้ายๆเดิมๆทางเก่าๆเดิมๆ.. เริ่มไม่สนุกไม่มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองเล่น

ต่อมา.... ผมก็วิ่งหนี...... ถลุยๆๆๆ

ต่อมา.... ผมก็เริ่มเปิดใจ... ทำใจยอมรับ"ทฤษฎีดนตรี"

แล้วก็เริ่มศึกษา"ทฤษฎีดนตรี"อย่างจริงจัง
เจอหนังสืออะไรที่เกี่ยวกับ"ทฤษฎีดนตรี"จะซื้อมาหมด... อ่านรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษก็ว่ากันไป

เจอวีดีโอสอน"ทฤษฎีดนตรี"ก็ซื้อมาดูคราวนี้เป็นภาษาไทยมีทั้งหมดสองชุดเป็นของ

อาจารย์ปราชญ์ อรุณรังษี

วีดีโอสองชุดนี้เป็นกุญแจดอกสำคัญในชีวิตการเรียนรู้"ทฤษฎีดนตรี"ของผมเลยก็ว่าได้

มันทำให้ผมคิดเป็นระบบ...
รู้พื้นฐาน
รู้ที่ไปที่มาของสเกล
รู้จักสเกลต่างๆ
รู้จักที่ไปที่มาของคอร์ด
รู้จักขั้นคู่เสียงประสาน
รู้จักอาเพจิโอ้
และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่เคยอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง... คราวนี้กลับไปอ่านก็สามารถเข้าใจได้โดยไม่ยาก

หลังจากนั้นผมก็ยังคงศึกษา"ทฤษฎีดนตรี"
มาเรื่อยๆ จนมาทุกวันนี้...

ถึงตอนนี้แล้ว... ผมยังแอบเสียดายเล็กๆว่าเราไม่น่าไปเสียเวลากับอีโก้ของตัวเองเลย..... ไม่อย่างนั้นวันนี้ผมน่าจะรู้อะไรมากกว่านี้....

ในอดีตเวลาจะคิดลูกโซโล่ตอนคอร์ดส่งเป็นพวก7
เช่นE7... เมื่อก่อนต้องนั่งเล่นไปเรื่อยๆเพื่อที่จะหาเสียงนั้นให้เจอ.... กว่าจะเจอก็เล่นเอาเหนื่อย...

แต่ถ้ารู้"ทฤษฎีดนตรี"เราจะไม่เสียเวลาเลย
เราจะรู้ได้ทันทีว่าจะต้องเอาดีมีนีชสเกลมาเล่นอย่างนี้เป็นต้น

เราจะเล่นแบบโฟกัสโน้ตได้
นั่นทำให้เวลาเราเล่นด้นสด
เราจะสามารถวางแผนได้ว่า
ช่วงไหนจะใช้สเกลไหนเล่น
ช่วงไหนจะใช้อาเพจิโอ้เล่น
เราจะเล่นด้วยความมั่นใจ
เพราะเรารู้ว่าสิ่งที่เราเล่นอยู่... คืออะไร
(แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของคำว่าดนตรี
ไม่ใช่เอาแบบฝึกหัดมาเล่น)
มันดีกว่าเล่นไปเรื่อยเปื่อย
เล่นไปโดยไม่คิด... เล่นแล้วมันจะตัน

สรุปว่า
อยากให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ
ได้ลองศึกษา"ทฤษฎีดนตรี"ดูบ้าง
แล้วจะพบความเปลี่ยนในการเล่นของตัวเอง
จะอิสละมากขึ้น... มั่นใจมากขึ้นแน่นอนครับ

ขอให้สนุกกับการเล่นดนตรีนะครับ
FOTOBEER

น้าต่อ.....

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,194
  • กีต้าร์ 3 ลูก 2 เมีย 1

h5555

  • member
  • ***
  • กระทู้: 401
ขอบคุณมากครับสำหรับสิ่งดีๆครั้งนี้    ผมเคยคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้เพราะเราคิดว่ามันไม่มีอะไรในทฤษฎีนักหรอก  ประมาณก็งั้นๆ  แต่พอฟังและเห็นหนักเข้ามันเจอทางตันเต็มไปหมด ฟังเพลง ดูเขาเล่นไม่สนุกไม่เข้าใจ  รู้เลยว่าตัวเราไม่พัฒนาหรือพัฒนาก็แค่งูๆปลาๆ  มันจะเห็นความแตกต่างชัดขึ้นเรื่อยๆครับ  จนมาเล่นดนตรีเองนี่เจอเลยว่าต้องเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีอีกเยอะเลยครับ 

FOTOBEER

  • member
  • ***
  • กระทู้: 5,404
  • เพศ: ชาย
  • fotobeer2516แอ๊ดgmail.com

FOTOBEER

  • member
  • ***
  • กระทู้: 5,404
  • เพศ: ชาย
  • fotobeer2516แอ๊ดgmail.com
ขอบคุณมากครับสำหรับสิ่งดีๆครั้งนี้    ผมเคยคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้เพราะเราคิดว่ามันไม่มีอะไรในทฤษฎีนักหรอก  ประมาณก็งั้นๆ  แต่พอฟังและเห็นหนักเข้ามันเจอทางตันเต็มไปหมด ฟังเพลง ดูเขาเล่นไม่สนุกไม่เข้าใจ  รู้เลยว่าตัวเราไม่พัฒนาหรือพัฒนาก็แค่งูๆปลาๆ  มันจะเห็นความแตกต่างชัดขึ้นเรื่อยๆครับ  จนมาเล่นดนตรีเองนี่เจอเลยว่าต้องเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีอีกเยอะเลยครับ 

ขอบคุณครับ

pas

  • member
  • ***
  • กระทู้: 444
  • เพศ: ชาย
ส่วนตัว...เห็นด้วยกะน้า.fotobeer. เพราะ
ทฤษฎีส่วนใหญ่ทุกแขนงเขาทดสอบมาแล้วจึงเป็นทฤษฎี...การอิงทฤษฎี คือการเดินตามทางที่เขาเคยเดินมาอย่างถูกต้องประมาณกี่เปอร์เซนต์ตามที่เขายอมรับ..แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด รู้ทฤษฎีก็เดินง่ายเดินไวกว่าเพราะไม่เสียเวลาหาเอง...แต่ ทางที่คนเดินซ้ำๆมากมายในโลก....มันก็คือสิ่งที่มีแล้วทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใหม่ การประยุกต์ คือ การนำทฤษฎีมาต่อยอดก็เป็นของเดิมๆอยู่ดี แต่สิ่งที่โลกต้องการมากกว่านั้น คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ในจินตนาการของมนุษย์มากกว่า...

ทฤษฎีเป็นฐาน  ประยุกต์เป็นตัว จินตนาการเป็นยอด 
สิ่งไหนมากน้อยอยู่ที่คนจะฝึกจะหาเอา
ฐานที่พอตั้งตัวได้เหมาะกับตัวและยอดก็มั่นคงแล้ว....
ฐานใหญ่ไปเสียเวลานานตายก่อนจะได้สร้างยอด
ฐานเล็กไปพอติดหรือไม่ไปไหนต้องกลับมาหาฐานใหม่


guitara

  • member
  • ***
  • กระทู้: 125
คิดว่าทฤษฎีดนตรี น่าจะมาหลังดนตรี ครับ

แรกเริ่มเดิมทีอาจจะแต่งตามจินตนาการ อารมณ์ ของมนุษย์
คือมนุษย์รู้สึกว่าเสียงอะไรเพราะก็เคาะเป็นเพลงออกมา

ทีนี้เพื่อจะหาสูตรตายตัวออกมาว่าเสียงเพลงเพราะๆนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
มีโครงสร้างอย่างไร พวกฝรั่งเจ้าประจำ นักค้นคว้าทั้งหลาย ก็มาศึกษาจากเพลงที่ได้ยิน
เกิดเป็นทฤษฏีดนตรีขี้นมา ซึ่งมันอธิบายได้ครอบคลุมทุกชาติทุกภาษา

ทีนี้ที่เชื่อกันว่าศึกษาทฤษฏีดนตรีแล้วจะถูกจำกัดความคิด จินตนาการ ฯลฯ
เป็นความคิดความเชื่อที่ผิดครับ

ลองแต่งทำนองขึ้นมาสักท่อนหนึ่ง ที่มันฟังได้ จะเห็นว่ามันอธิบายอยู่ในทฤษฏีดนตรีทั้งสิ้น
ส่วนท่วงทำนองที่ฟังไม่ได้สรรพ ทนฟังไม่ได้ ก็จะพบว่ามันไม่เป็นไปตามทฤษฏีดนตรี

Piyawat.H

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,474
" ดนตรีคือ ภาษาสากลของมนุษยชาติ " ( Music is the universal language of mankind )

ความรู้สึกที่มีต่อ ทฤษฎดนตรี ก็คือ มันเป็นแผนที่ สำหรับเดินทางของดนตรีที่มีแบบแผนชัดเจน ที่มีอยู่คู่โลกเรามาช้านาน และมีการบันทึกเป็นสัญลักษณ์ เช่น G-Clef หรือที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่า กุญแจซอล ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 จากสันตะปาปา ( Pope ) สู่นักดนตรีตามโบสถ์ต่างๆ เพื่อเล่น ร้องสรรเสริญพระเจ้า จนมาถึงยุคปัจจุบันที่มีหลายสาขา ที่ยังคงอยู่เช่น ดนตรีคลาสสิค ดนตรีป็อป ซึ่งก็เป็นภาษาทางดนตรี ที่แตกไลน์ออกมาอย่าง บลูส์ แจ็ซ โฟล์ค ฯลฯ ก็อาศัยพื้นฐานทางทฤษฎีดนตรีสากลเป็นแนวทาง ถึงแม้จะมีการประยุกต์ไปบ้าง หรือบ้างที่บอกว่า อย่ายึดติดกับทฤษฎีมากเกินไป แต่ถ้ามีการถอดรูททางดนตรีจริงๆ แล้ว ทุกแนวจะอยู่ในบันไดเสียง ไม่แบบใดก็แบบหนึ่งอย่างแน่นอน ไม่งั้นแนวที่ประยุกต์มันก็ไปไม่ได้   
   " หลงทฤษฎดีดนตรี ไม่ทำให้เสียเวลา หลงยามาฮ่าเลยได้ LL16 มาครอง "

กาไชย

  • member
  • ***
  • กระทู้: 364
ทำไมบางคนชอบบอก อย่ายึดติดทฤษฎีมากไป ....

งงครับ

zodaema

  • member
  • ***
  • กระทู้: 8
อยากได้แนวทางการเริ่มศึกษาบ้างจังเลยครับ ;D ;D

guitara

  • member
  • ***
  • กระทู้: 125
ยกตัวอ่ย่าง ทฤษฏีเกี่ยวกัยแสง เกิดขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์สังเกตุพฤติกรรมและธรรมชาติของแสง แล้วอธิบายมันออกมาเป็นทฤษฏี
ไม่ใช่ว่านักวิทยาศาสตร์ สร้างทฤษฏีขึ้น แล้วให้แสงมีพฤติกรรมตามทฤษฏี อินดี้ไม่ได้

เช่นเดียวกันครับ ทฤษฏีดนตรี น่าจะเป็นพวกฝรั่งเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้าต่อๆกันมา (ซึ่งน่าจะเป็นนักดนตรีนั่นแหล่ะ) เกิดเป็นทฤษฏีดนตรี

ขอบคุณน้า FOTOBEER ครับ กระทู้ดีมีสาระ ผมชอบกระทู้ของน้า คลิปของน้าก็ชอบดู
อยากฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครับ อยากเรียนฟรี เพราะไม่มีตังค์จ่าย รับลูกศิษย์ไม๊ครับน้า

Tongsan

  • member
  • ***
  • กระทู้: 117
ผมบอกได้เลย คนไม่มีพื้นฐานทฤษฎีดนตรีบ้างในหัว เล่นๆไปก็เจอทางตันแน่นอน

uncle nok

  • member
  • ***
  • กระทู้: 628
ทฤษฏี น่าจะพอรู้บ้าง เพราะถ้าไม่รู้เลย การพัฒนา ก็ทำได้ยาก  หากแต่อย่าไปยึดมันมาก
สิ่งสำคัญคือพอรู้แล้ว ต้องมีจินตนาการ เพราะหากขาดสิ่งนี้รู้แต่ทฤษฏี การเล่นดนตรีก็ไม่พัฒนาเช่นกัน
โน๊ต เจ็ด ตัว ที่มี จะจัดวางมันยังไง ถึงจะเพราะ เพลงที่เป็นอมตะ มิได้ซับซ้อนอะไร หากแต่เรียบง่ายงดงาม
ส่วนตัวผมทฤษฏีมีแค่นี้

gttle

  • member
  • ***
  • กระทู้: 892
ทำไมบางคนชอบบอก อย่ายึดติดทฤษฎีมากไป ....

งงครับ

เพราะจริงๆแล้วทฤษฏีเกิดมาเพื่ออธิบายสิ่งที่คนคิดขึ้นมาให้คนอื่นเข้าใจ......ถ้ายึดติดกับมันแล้วมันก็จะอยู่แค่นั้นไม่มีการต่อยอดไม่มีการทดลองไม่มีการออกจากกรอบเหมือนเล่นตามเขา(คนคิด)อยู่อย่างเดียว....เรียนให้เข้าใจแล้วเอาไปต่อยอดไม่ใช่ยึดติดว่านอกจากที่เรียนมา''ผิด'' เล่นดนตรีมาสิบกว่าปีเจอนักดนตรีหลากหลาย..บอกได้เลยว่าคนที่เรียนมาแต่ก้าวไม่พ้น''เยอะ'' มากยิ่งเรียนสูงยิ่งยึดติด......คิดดูว่าถ้าไม่มีการแหกทฤษฏีมันจะมีอะไรใหม่ๆไหม...แค่โน๊ต 1 ตัวนอกสเกลก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย.......

ทำไมศิลปิลระดับโลกหลายคนทฤษฏีไม่แน่น...บางคนไม่รู้ ..แต่มันทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้...เขาไม่ได้เรียนแต่เขาเอาสิ่งที่ฟังมาในชิวิตมาประมวลรวมกันแล้วใส่ความเป็นตัวเขาลงไปผิดถูกไม่รู้...รู้แต่ว่าเสียงนี่คือสิ่งที่เขาจะสื่อ ..... การทำแบบนี้บางครั้งคนที่รู้น้อยหรือไม่รู้ทำได้ง่ายกว่าเพราะสิ่งที่ยึดติดมันน้อยกว่า (แต่ผมสนับสนุนให้รู้ทฤษฏีนะแต่มาถึงขั้นนี้ให้ได้คนที่เข้าใจจริงๆว่าเรียนเพื่ออะไรก็ทำได้อยู่แล้วแล้วมันจะต่อยอดได้ง่ายแล้วเร็วกว่า)

jdee

  • member
  • ***
  • กระทู้: 71
  • เพศ: ชาย
  • ไม่เก่งซักที
ชอบกระทุ้นี้มากเลยครับ ขอบคุณครับ

hs3ade

  • member
  • ***
  • กระทู้: 523
  • เพศ: ชาย
เล่นแบบ ฮาเฮ พอได้มีความสุขบ้างตามที่ชอบแบบผมอันไหนเล่นไม่ได้ก็ไม่เล่น Learning by doing เลยไม่อยากไปศึกษาทฤษฏีให้มากมายครับ แต่ถ้ามุ่งความเป็นเลิศคงต้องทั้งปฏิบัติทั้งทฤษฏีมั้งครับ

Piyawat.H

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,474
เล่นแบบ ฮาเฮ พอได้มีความสุขบ้างตามที่ชอบแบบผมอันไหนเล่นไม่ได้ก็ไม่เล่น Learning by doing เลยไม่อยากไปศึกษาทฤษฏีให้มากมายครับ แต่ถ้ามุ่งความเป็นเลิศคงต้องทั้งปฏิบัติทั้งทฤษฏีมั้งครับ
เปิดหนังสือเล่นจบไป 2 เพลงก็ยังไม่รู้ว่ามันคือคีย์อะไร C/Am/F/G7 อีกเพลงเล่น G/Em/Am/D เพราะไม่ได้เรียนทฤษฎีดนตรี ถ้าได้เรียนมาอย่างเข้าใจ อาจบอกได้ว่าเป็นคีย์อะไร หรือไม่ก็อาจจะแปลงเล่นได้หลายๆ คีย์ในเพลงเดียวกัน

phisitja

  • member
  • ***
  • กระทู้: 16
  • เพศ: ชาย
  • เล่นกีตาร์ แกะเพลง คีย์บอร์ด ขลุ่ย hamonica
คิดว่าจำเป็นนะครับผม ทำให้เราเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และมีไอเดียในการเล่นต่างๆ ครับผม  :)
พิสิฏฐ์ ศ. phisitja

THAWAT JAITHIANG

  • member
  • ***
  • กระทู้: 595
ชอบ ครับ เหมือน เรียน ภาษาอังกฤษ ซึ่งเปนภาษากลาง ที่ทำให้ คนต่างชาติต่างภาษากัน เข้าใจตรงกัน ทฤษฎีดนตรี เป็นภาษาสากลของคนเล่นดนตรี(ตะวันตก)

FOTOBEER

  • member
  • ***
  • กระทู้: 5,404
  • เพศ: ชาย
  • fotobeer2516แอ๊ดgmail.com
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ....