Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้ชิงชัน หนึ่งเดียวในไม้แห่ง เอเซียที่ทดแทน บราซิเลี่ยนโรสวูดได้  (อ่าน 36445 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

somjean

  • member
  • ***
  • กระทู้: 447
  • Mr. Taxi Taxi Taxi ทุชี่ ๆ ๆ ๆ ๆ
ไม้ชิงชันสวยงามมากครับ... ขอถามว่า
1 ถ้าจะปลูกไว้เองซักต้นที่บ้าน ต้องทำยังไงบ้างครับ
2 ต้องลำต้นขนาดไหน ถึงเหมาะจะตัดมาทำกีตาร์ได้ครับ
3 แล้วกว่าจะได้ลำต้นที่พอเหมาะจำตัดมาทำกีตาร์ได้ มันต้องใช้เวลาประมาณกี่ปีครับ
วานผู้รู้บอกทีครับ...

sontaya

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,653
  • เพศ: ชาย
    • Thai Fingerstyle Guitar Lover
ผมอยากทราบแหล่งที่ขายไม้ที่เลื่อยเป็นแผ่นบาง ๆ ขนาดเอาทำทำเครื่องดนตรีได้อ่ะครับ สนใจมากเลยอยากทำมานานแล้ว แต่ไม่รู้จะไปหาไม้จริงแผ่นบาง ๆ จากไหน หมายถึงที่เป็นไม้ไทยนะครับ อยากทำ ukulele ซักตัว ถ้าประสบความสำเร็จจะเลื่อนขั้นไปลองทำกีตาร์ดูครับ

Aip studio

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,114
  • เพศ: ชาย
  • ไม่เก่ง แต่ห่วย
ไม้ชิงชันสวยงามมากครับ... ขอถามว่า
1 ถ้าจะปลูกไว้เองซักต้นที่บ้าน ต้องทำยังไงบ้างครับ
2 ต้องลำต้นขนาดไหน ถึงเหมาะจะตัดมาทำกีตาร์ได้ครับ
3 แล้วกว่าจะได้ลำต้นที่พอเหมาะจำตัดมาทำกีตาร์ได้ มันต้องใช้เวลาประมาณกี่ปีครับ
วานผู้รู้บอกทีครับ...


โห o.O"  อดทนสูงจริงๆครับน้า นับถือๆครับ
ชีวตเหมือนกระดาษ............มี 2 ด้านเสมอ

น้าต่อ.....

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,194
  • กีต้าร์ 3 ลูก 2 เมีย 1
เค้ามีต้นกล้าขายมั๊ยครับ.......พอดีศรีภรรยามีที่อยู่นิดหน่อย ที่เขาค้อ...........ปีสองปีข้างหน้าว่าจะปลูกต้นสักเอาเป็นมรดกให้ลูกให้หลานน่ะครับ.......

ถ้าเค้ามีกล้าไม้ชิงชันขาย ก็น่าจะเอามาปลูกแจมๆกับต้นสักน่ะครับ..................

boatza555

  • member
  • ***
  • กระทู้: 125
ลายไม้สวยมากครับ อยากฟังจังว่าเสียงเป็นอย่างไร

Montra

  • member
  • ***
  • กระทู้: 537
  • เพศ: ชาย
อย่าลืมประดู่ด้วยนะครับ  ตระกูลเดียวกัน  แต่ประดูเบาครับ ชิงชันหนัก  ผมว่าทำกีตาร์นี่เสียงประดู่จะสว่างกว่าครับ  ส่วนชิงชันนี่ขึ้นชื่อเรื่องเสียงหวานอิ่มลึกดีจริงๆ ครับ



**กีตาร์มันเถียงไม่ได้ เธอไปบ่นมันทำไม**

kalasin_blues

  • member
  • ***
  • กระทู้: 446
  • เพศ: ชาย
ผมมีประดู่กองใหญ่หลายแผ่นเลย กำลังหาชิงชันคับ
แม้เป็นเพียงตัวโน๊ต

nco4433

  • member
  • ***
  • กระทู้: 592
ผมอยากทราบแหล่งที่ขายไม้ที่เลื่อยเป็นแผ่นบาง ๆ ขนาดเอาทำทำเครื่องดนตรีได้อ่ะครับ สนใจมากเลยอยากทำมานานแล้ว แต่ไม่รู้จะไปหาไม้จริงแผ่นบาง ๆ จากไหน หมายถึงที่เป็นไม้ไทยนะครับ อยากทำ ukulele ซักตัว ถ้าประสบความสำเร็จจะเลื่อนขั้นไปลองทำกีตาร์ดูครับ
ติดต่อช่าง เอ๋ สมุทรสาคร สิครับน้า 0816113301 ล่าสุดเมื่อเดือนก่อนเคยสนทนากับแกบอกว่าพอมีไม้เหลือทำกีตาร์พอควรครับ... แล้วก็บอกว่าแกมีเครื่องเลื่อยทำให้บางได้เสร็จสับเลยครับน้าติดต่อน้าแกเลยครับ ผมก็มีโครงการว่าจะเอาไม้ทีเหลือไปให้แกช่วยเลื่อยให้บางหน่อยเพราะที่มีมันหนาน่ะครับ.. (บางส่วนก็เอาไปให้ช่างทำกีตาร์แล้ว)

Montri

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,945
  • ค่าความสุข ของคนเราไม่เท่ากัน...มีแค่นี้ก็สุขใจ !!
น่าลองกันสักตั้งนะครับ ไม้ไทยนี่
อย่า เห็น แก่ ตัว !!

โก้ - Aromild

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,480
  • เพศ: ชาย
  • Aromild ดนตรีที่มีกลิ่นหอมละมุน...
    • Facebook
ตอนนี้ มีน้าๆ อยู่ 2-3 คน กำลัง ซุ่มทำกีตาร์ไม้ชิงชันอยู่ครับ อิอิ ความลับ
กระบี่อยู่ที่ใจ หากเยี่ยมยุทธแล้วไซร้ แค่กิ่งไผ่ก็ไร้เทียมทาน...

TKCN

  • member
  • ***
  • กระทู้: 673
อย่าลืมประดู่ด้วยนะครับ  ตระกูลเดียวกัน  แต่ประดูเบาครับ ชิงชันหนัก  ผมว่าทำกีตาร์นี่เสียงประดู่จะสว่างกว่าครับ  ส่วนชิงชันนี่ขึ้นชื่อเรื่องเสียงหวานอิ่มลึกดีจริงๆ ครับ




ผมเคยลองกีตาร์ Roemmich ของเยอรมัน ไม้หลังกับข้างเป็นไม้ประดู่
ผมว่าให้เสียงหวานดีครับ แต่ออกทึบไปหน่อย แล้วก็ความดังยังสู้พวก Rosewood ไม่ได้ครับ

ปล.เท่าที่ผมฟังนะ

somjean

  • member
  • ***
  • กระทู้: 447
  • Mr. Taxi Taxi Taxi ทุชี่ ๆ ๆ ๆ ๆ
ตอนนี้ มีน้าๆ อยู่ 2-3 คน กำลัง ซุ่มทำกีตาร์ไม้ชิงชันอยู่ครับ อิอิ ความลับ
พวกที่ซุ่มทำอยู่ กรุณาเปิดเผยตัวเมื่อทำเสร็จแล้วด้วยนะคร๊าบบ ผมอยากได้ลองกีตาร์ไม้ไทยบ้างจัง
มีตั้ง 2-3 คนแน่ะ... ขอลองซักตัวจะเป็นบุญมากมาย ว่าแต่ทำสายเหล็กหรือคลาสสิคครับ ^^

โก้ - Aromild

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,480
  • เพศ: ชาย
  • Aromild ดนตรีที่มีกลิ่นหอมละมุน...
    • Facebook
ตอนนี้ มีน้าๆ อยู่ 2-3 คน กำลัง ซุ่มทำกีตาร์ไม้ชิงชันอยู่ครับ อิอิ ความลับ
พวกที่ซุ่มทำอยู่ กรุณาเปิดเผยตัวเมื่อทำเสร็จแล้วด้วยนะคร๊าบบ ผมอยากได้ลองกีตาร์ไม้ไทยบ้างจัง
มีตั้ง 2-3 คนแน่ะ... ขอลองซักตัวจะเป็นบุญมากมาย ว่าแต่ทำสายเหล็กหรือคลาสสิคครับ ^^

สายเหล็กครับ ^ ^''
กระบี่อยู่ที่ใจ หากเยี่ยมยุทธแล้วไซร้ แค่กิ่งไผ่ก็ไร้เทียมทาน...

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
ไม้ชิงชันสวยงามมากครับ... ขอถามว่า
1 ถ้าจะปลูกไว้เองซักต้นที่บ้าน ต้องทำยังไงบ้างครับ
2 ต้องลำต้นขนาดไหน ถึงเหมาะจะตัดมาทำกีตาร์ได้ครับ
3 แล้วกว่าจะได้ลำต้นที่พอเหมาะจำตัดมาทำกีตาร์ได้ มันต้องใช้เวลาประมาณกี่ปีครับ
วานผู้รู้บอกทีครับ...


ผมว่าปลูกที่บ้านไม่เหมาะ  ครับ  รากมันครับ  มันไชไป ใต้ถุนบ้าน  ผมว่า บ้านปูนลงเสาเข็มลึกๆก็เหอะ  มีหวัง  บ้านปูก พื้นปูดพื้น ทรุดครับ พื้นแตก
ส่วนเรื่องอื่น ไม่รู้เลยครับ
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
เพิ่มเติมครับ
ถ้าหาไม้ได้ หาหน้ากว้าง ให้ไม่ต่ำกว่า  8 นิ้ว
หนา ไม่บางกว่า 4 มิล
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

guitar_love

  • member
  • ***
  • กระทู้: 382
  • เพศ: ชาย
  • ท้อแท้ แต่ไม่เคยท้อถอย
เห็นน่าสนใจดีเลยเอามาฝากครับ

พะยูง

คำนำ  

                    พะยูงเป็นชื่อพื้นเมืองทางการของไม้ชนิดนี้ แต่ก็มีการเรียกขานที่แตกต่างกันไป ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น กระยง กระยุง (เขมร – สุรินทร์) ขะยุง (อุบลราชธานี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) พะยูงไหม (สระบุรี) ประดู่เสน (ตราด) ประดู่ตม (จันทรบุรี) หีวสีเมาะ (จีน) เป็นต้น (เต็ม สมิตินันท์ 2523) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia cochinchinensis Pierre อยู่ในอนุวงศ์ Papilionaceae วงศ์ Leguminosea มีชื่อทางการค้าในตลาดต่างประเทศว่า Siamese Rosewood หรือ Thailand Rosewood มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม พะยูงจัดว่าเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และยังเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่มีราคาแพงที่สุด ชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตามจากสถิติปริมาณไม้ ที่ทำออกจากป่า ระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง 2532 ในปี พ.ศ. 2530 มีการทำไม้พะยูงออกสูงสุด แต่มีปริมาณเพียง 662 ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบ กับไม้สัก (37,278 ลบ.ม.) และไม้ประดู่
(51,937 ลบ.ม.) ในปีเดียวกัน (ฝ่ายสถิติป่าไม้ 2532) จึงอาจจะถือได้ว่าไม้พะยูงในประเทศไทย กำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหล่มต่อการสูญพันธ์ หรือสูญสิ้น
ในความหลากหลายทางพันธุ์กรรม การอนุรักษ์สายพันธุ์จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนสำหรับไม้ชนิดนี้

ลักษณะทั่วไป

                    พะยูงเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร มีช่วงลำต้น 10-15 เมตร มีเปลือกสีเทา เรียบ ลอกจะมีปมรากแบบปนรากถั่วช่วยในการตรึง ก๊าซในโตเจน
เป็นแผ่นบาง ๆ เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง โดยมากจะมีพุ่มใบกว้าง การแตกกิ่งก้านจะแตกเป็นแขนงแยกย่อยจากกิ่งใหญ่ โดยมากตาที่จะแตกเป็นกิ่งใหม่
่มักจะอยู่บนกิ่งแขนงย่อยบริเวณส่วนนอกของพุ่มใบ ใบเป็นใบประกอบเป็นช่อแบบขนนก ช่อใบยาว 10-15 ซม. มีใบย่อย 7-9 ใบ เรียงตัวสลับกัน ใบมีลักษณะเหนียวคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ มีลักษณะรูปไข่ขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายใบแหลม ดอกพยุงมีขนาดเล็กสีขาวเกิดบนช่อดอกเชิงประกอบ ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม ผลพะยูงเป็นฝักเกลี้ยงรูปขนานแบนและบอบบางกว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ดมองเห็น เส้นแขนงไม้ชัดเจน ฝักพะยูงเมื่อแก่จะไม่แตกออกเหมือนฝักแดง หรือ ฝักมะค่าโมง ฝักจะร่วงหล่นโดยที่เมล็ดยังอยู่ในฝัก มีเมล็ดจำนวน 1-4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนเป็นรูปไต สีน้ำตาลเข้ม ผิวเมล็ดค่อนข้างมันมีขนาด กว้างประมาณ 4 มม. ยาว 7 มม. (ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ 2526) ระบบรากเป็นระบบรากแก้วและรากแขนงโดยรากแก้วจะเป็นรากแกนหลักที่มีรากแขนงแตกย่อยออกไป เป็นไม้ที่มีระบบรากค่อนข้างลึก รากฝอย
ชิงชัน

คำนำ

                      ไม้ชิงชังมีชื่อพื้นเมืองว่า ประดู่ชิงชัน ดู่สะแตน เก็ดแดง อีเม็ง พยุงแกลบ กะซิบ หมากพลูตั๊กแตน Burma rosewood, Tamalan มีชื่อ
วิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia oliveri Gamble โดยมีชื่อพ้อง 2 ชื่อ D.bariensis Pierre และ D.dongnaiensis Pierre ชิงชันจัดอยู่ในสกุลไม้ชิงชัน
(Dalbergia Linn.) ในอนุวงศ์ประดู่ (Papilionatae) ของวงศ์ไม้ประดู่ (Leguminosae) ไม้สกุลไม้ชิงชัน มีอยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 80 ชนิด ใน ประเทศไทยมีประมาณ
30 ชนิด แต่ที่หวงห้ามมีเพียง 3 ชนิด คือ พะยูง (D.cochinchinensis), ชิงชัน (D.oliveri) และกระพี้เขา (D.cultrata) มีถิ่นกำเนิดในพม่า, ลาว และไทย
และถูกนำไปปลูกในมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นที่รู้จักกัน ทั่วโลกว่า ไม้ตระกูลนี้มีเนื้อไม้และแก่นที่สวยงาม แข็งแรง ทนทาน จึงนิยมใช้ทำเครื่องเรือน
เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องแกะสลัก หวี มุถือและด้ามเครื่องมือ

ลักษณะทั่วไป

                       ไม้ชิงชันจัดเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนามีสีน้ำตาลเทา กะเทาะล่อนเป็นแว่นหรือแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง แก่นสีม่วง ถึงน้ำตาลอมม่วงมีเส้นแทรกดำและมีเสี้ยนสน ยอดอ่อน ใบอ่อนออกสีแดงเกลี้ยง หรือมีขนเบาบาง ใบเป็นช่อ ก้านช่อยาว 5-30 เซนติเมตร ส่วนมากจะมีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ เมื่อยังเล็ก จะมีลักษณะค่อนข้างกลมและมีลักษณะยาวรีหรือเรียวเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก เมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้น ใบกว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ฐานใบกลมหรือเป็นรูปลิ่มกว้างๆ ปลายใบมนทู่หรือ ยักเว้าเล็กน้อยทางกด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าหลังใบ ดอกมีสีขาวอมม่วง เกิดบนช่อดอกเชิงประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิใบใหม่ในราวเดือน มีนาคม-พฤษภาคม เกสรผู้แยกออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ 5 อัน ฝักมีลักษณะยาวรี หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร นาว 8-17 เซนติเมตร ส่วนที่หุ้มเมล็ดหนาแข็ง มีลักษณะเป็นกระเปาะผิวเรียบบางไม่เห็นเส้นแขนง ตัวของกระเปาะกลมหรือแกรมรีเล็กน้อยนูนเด่นออกมาเห็นได้ชัด รอบๆ กระเปาะจะมีลักษณะคล้ายปีกแผ่กว้างออกไปเห็นได้ชัด ฝักจะแก่ประมาณสองเดือนหลังจากออกดอก เมล็ด ส่วนมากจะมีเมล็ดเดียวแต่อาจพบบ้างที่มีจำนวน 2-3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะ คล้ายรูปไตสีน้ำตาล กว้าง 0.6 เซนติเมตร ยาง 1 เซนติเมตร ระบบราก เท่าที่มีการศึกษาระบบรากของกล้าไม้พบว่าจะมีรากแก้วยาวมาก มีรากฝอยที่เกิดจากรากแขนงจำนวนปานกลาง และมักจะพบปมรากถั่วเกิดอยู่เสมอ

ประดู่ป่า

ลักษณะทั่วไป

                    ประดู่ป่า ( P. macrocarpus ) เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1.3+2.1 เมตร เรือนยอดสูง
ประมาณ 6-12 เมตร เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ กิ่งสั้นไม่แผ่กว้าง ปลายกิ่งส่วนมากจะชี้ขึ้น จัดเป็นไม่มีค่าทางเศรษฐกิจสูงชนิดหนึ่งในแถบเอเชีย มีชื่อทางการค้าว่า Padauk หรือ Nara คำว่า “Padauk” เป็นภาษาพม่าที่ใช้เรียก เฉพาะ ไม้ประดู่ ( Pterocarpus macrocarpus ) แต่ต่อมาได้เรียกรวมถึงไม้อีก
2 ชนิด คือ Pterocarpus dalbergioides Roxb. (Andaman Padauk) และ Pterocarpus indicol (Nara) ลักษณะเปลือกของไม้ประดู่ป่ามีเปลือกหนา เปลือกนอก
สีน้ำตาล เทา – หนา แตกหยาบเป็นร่องลึก เปลือกในสีน้ำตาล เนื้อไม้แข้ง มีสีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง ลักษณะของใบและดอกไม่ใคร่แตกต่าง
จากประดู่บ้านมากนักผิดกันแต่ว่ามีขนปกคลุมหนาแน่นกว่า Troup (1921) รายงานว่าใบจะร่วงในฤดูร้อนและเริ่มผลิใบใหม่ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 ซม และมีขนละเอียดปกคลุมอยู่ เมื่อผลแก่มีสีน้ำตาลแกมเทาตรงกลาง
ของผลพองหนาและแข็งมีเมล็ด อยู่ข้างใน 1-2 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างแบบ dolabriform มีสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ 0.4-0.5 นิ้ว มีเปลือกหุ้มเมล็ดคล้ายหนังหุ้ม
อยู่ 1 กิโลกรัมจะมีผลประมาณ 1,400-1,900 ผล แต่ถ้านำผลเข้าเครื่องตีปีก (seed scarifier machine) 1 กิโลกรัม จะมีผลประมาณ 3,200 -3,400 ผล
ถ้าแกะเมล็ดออกมาจากผล 1 กิโลกรัมจะมีเมล็ดประมาณ 12,500-18,000 เมล็ด ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมฝักจะแก่ประมาณสามเดือนหลังจากออก
ดอก เมล็ดที่อยู่ในฝักที่ ติดค้างอยู่บนต้นเป็นเวลานาน จะสูญเสียความสามารถในการงอกมากกว่าเมล็ดที่เก็บจากผลทันที เมื่อผลแก่เต็มที่

credit:http://www.dnp.go.th/

nco4433

  • member
  • ***
  • กระทู้: 592
เหมือนนักวิชาการกรมป่าไม้มาเองเลยนะครับ..อิอิอิ แจ่มจริงๆ

guitar_love

  • member
  • ***
  • กระทู้: 382
  • เพศ: ชาย
  • ท้อแท้ แต่ไม่เคยท้อถอย
เหมือนนักวิชาการกรมป่าไม้มาเองเลยนะครับ..อิอิอิ แจ่มจริงๆ
อิอิ ผมว่าไม้ไทยสามตัวนี่ทำไม้ข้างกับหลังได้สบายๆเลยครับ
กำลังให้พ่อดูไม้ประดู่เก่าๆที่บ้านไว้ให้ซักหน่อย ^^

yod69

  • member
  • ***
  • กระทู้: 727

pong

  • member
  • ***
  • กระทู้: 715
ความรู้เนื้อๆเลยครับ