Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ  (อ่าน 28317 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

win2518

  • member
  • ***
  • กระทู้: 61
อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2016, 21:59:40 »
อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ ตั้งแต่เปิด-ปัจจุบัน น้าๆพอทราบไหมครับ
ผมพึ่งได้ guild usa มาแต่หาประวัติแบบภาษาไทยไม่ได้เลยครับ 
*** ขอบคุณน้าๆล่วงหน้าครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรง GUILD ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2016, 23:45:21 »
Guild ถือกำเนิดในปี 1952 หลังจาก Epiphone ปิดโรงงานที่ New York
และย้ายไป Philadelphia ตอนนั้นพวกช่างและผู้บริหารหลายคนไม่ยอมย้าย
เลยไปชักชวนนายทุนคือ Alfred Dronge เปิดบริษัทใหม่ซะเลย
(Epiphone ทำกีต้าร์อยู่ใด้อีกสี่ปีก็เจ๊งเพราะทนแรงเสียดทานจากน้องใหม่คือ Guild และ Fender
ไม่ไหวเลยต้องขายบริษัทให้ Gibson ไปครับ)

โรงงานแรกของ Guild ตั้งอยู่บน loft เล็กฯที่ 536 Pearl St., New York City, New York จนถึงปี 1956 ก็เริ่มขายดีจนต้องขยับขยายมาเปิดโรงงานใหม่ที่ 300 Observer Hwy.,Hoboken, New Jersey เหตุผลที่ต้องย้ายโรงงานข้ามรัฐก็เพราะปัญหาเรื่องการเรียกร้องจากสหภาพแรงงานของ New York ที่ค่อนข้างโหดและเป็นเหตุผลที่ทำให้ Epiphone ต้องปิดโรงงานมาแล้ว

Guild ย้ายโรงงานแบบฉลาดเพราะโรงงานใหม่นั้นอยู่ห่างโรงงานเก่าแค่ 3.6 miles เท่านั้นทำให้ไม่มีช่างต้องลาออกแม้แต่คนเดียว




ป้ายใน soundhole ของ Guild ยุคนั้นครับ




กีตาร์ Guild ในยุคแรกนั้นเป็นกีตาร์แจ๊ซตามแบบ Epiphone เสียส่วนใหญ่แต่ก็เริ่มผลิตกีตาร์โปร่งตั้งแต่ปี 1954 ในรุ่นต่อไปนี้

04/1954: F-30, F-40, F-50
1956: F-20
1958: F-20NT, M-20
1962: Mark Series (classical guitars)
1963: D-40, D-50
12/1963: F-212, F-312

โรงงาน Hoboken ปิดลงในปี 1967 ครับ


ยังเหลืออีก 7 โรงงาน คงใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะจบครับ

win2518

  • member
  • ***
  • กระทู้: 61
Re: อยากทราบประวัติโรง GUILD ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 00:33:29 »
Guild ถือกำเนิดในปี 1952 หลังจาก Epiphone ปิดโรงงานที่ New York
และย้ายไป Philadelphia ตอนนั้นพวกช่างและผู้บริหารหลายคนไม่ยอมย้าย
เลยไปชักชวนนายทุนคือ Alfred Dronge เปิดบริษัทใหม่ซะเลย
(Epiphone ทำกีต้าร์อยู่ใด้อีกสี่ปีก็เจ๊งเพราะทนแรงเสียดทานจากน้องไหม่คือ Guild และ Fender
ไม่ไหวเลยต้องขายบริษัทให้ Gibson ไปครับ)

โรงงานแรกของ Guild ตั้งอยู่บน loft เล็กฯที่ 536 Pearl St., New York City, New York จนถึงปี 1956 ก็เริ่มขายดีจนต้องขยับขยายมาเปิดโรงงานใหม่ที่ 300 Observer Hwy.,Hoboken, New Jersey เหตุผลที่ต้องย้ายโรงงานข้ามรัฐก็เพราะปัญหาเรื่องการเรียกร้องจากสหภาพแรงงานของ New York ที่ค่อนข้างโหดและเป็นเหตุผลที่ทำให้ Epiphone ต้องปิดโรงงานมาแล้ว

Guild ย้ายโรงงานแบบฉลาดเพราะโรงงานใหม่นั้นอยู่ห่างโรงงานเก่าแค่ 3.6 miles เท่านั้นทำให้ไม่มีช่างต้องลาออกแม้แต่คนเดียว




ป้ายใน soundhole ของ Guild ยุคนั้นครับ



กีตาร์ Guild ในยุคแรกนั้นเป็นกีตาร์แจ๊ซตามแบบ Epiphone เสียส่วนใหญ่แต่ก็เริ่มผลิตกีตาร์โปร่งตั้งแต่ปี 1954 ในรุ่นต่อไปนี้

04/1954: F-30, F-40, F-50
1956: F-20
1958: F-20NT, M-20
1962: Mark Series (classical guitars)
1963: D-40, D-50
12/1963: F-212, F-412

โรงงาน Hoboken ปิดลงในปี 1967 ครับ


ยังเหลืออีกห้าโรงงาน คงใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะจบครับ

ผมนี่รู้สึกหัวใจเต้นรัวเลยครับ ที่จะรู้ข้อมูลอีก 5 โรงงาน ขอบคุณน้ากฤษณ์ มากๆครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรง GUILD ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 16:30:31 »
Westerly Guilds (1967-2001)

ในยุค '60s นั้นเป็นยุครุ่งเรืองของกีตาร์ทั้งไฟฟ้าและโปร่งซึ่งมีผลให้ผู้ผลิตกีตาร์ยี่ห้อดังๆหลายเจ้าขายดีจนผลิตไม่ทันเลยต้องหานายทุนมาซื้อหุ้นเพื่อขยายโรงงานหรือสร้างใหม่ Guild ก็ใด้ AVNET มาถือหุ้นใหญ่ในปี 1966 ตอนนั้นผู้ก่อตั้งคือ Al Dronge ก็ไปเจอโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์อายุสามสิบปีที่ Westerly, Rhode Island ประกาศขายอยู่ก็เลยเอาเงินจากนายทุนใหม่ไปซื้อทันที คราวนี้ก็เลยใด้พวกเครื่องจักร์อย่างเลื่อยและตู้อบไม้แถมมาด้วยและยังใด้ช่างไม้เก่ามาอีก 25 คน




Al Dronge ชอบขับเครื่องบินส่วนตัวไปกลับระหว่างบ้านใน New York และโรงงานใน Westerly และประสพอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตในปี 1972 แต่ก็ไม่มีผลเสียกับเรื่องคุณภาพของ Guild เพราะพวกช่างเก่งๆยังอยู่กันครบและบริษัทแม่คือ AVNET ก็ไม่ใด้เข้ามายุ่งเรื่องการประหยัดต้นทุนเหมือนยี่ห้ออื่นๆในตอนนั้น Guild Westerly ก็เลยมีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอมาตลอดอายุการผลิตที่ยาวนานถึง 34 ปี



น้าตั้ม มูเก้น

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,276
  • www.mugenguitarshop.com
    • www.mugenguitarshop.com
Re: อยากทราบประวัติโรง GUILD ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 17:12:10 »
โอ้ว กระทู้ในฝันเลยครับ ประวัติ guild ฉบับภาษาไทย ^__^
ปูเสื่อรอชมอีกคนครับ
MUGEN_guitar_SHOP

BuckLFC

  • member
  • ***
  • กระทู้: 835
Re: อยากทราบประวัติโรง GUILD ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 19:33:15 »
ผมชอบGuild made from Westerlyเป็นพิเศษเลยครับ แน่นอนจริงๆ
Line id:bugwalter

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรง GUILD ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 00:50:29 »
ก่อนจะเล่าต่อขอความกรุณาท่านเจ้าของกระทู้ช่วยแก้หัวข้อเป็น "อยากทราบประวัติโรงงานของ Guild " เพราะถ้ามีใครอยากค้นคว้าในอนาคตจะใด้หากระทู้เจอครับ

ประวัติของกีตาร์ Guild นั้นมีคนรวบรวมเป็นหนังสืออยู่คนเดียวคือ Han Moust แต่ "The Guild Guitar Book" ของเขามีข้อมูลจากปี 1952 ถึง 1977 เท่านั้น ข้อมูลหลังจากนั้นผมต้องรวบรวมเองจากคาตาล้อกและหนังสืออ้างอิงที่เก็บไว้เองเป็นส่วนใหญ่ อาจมีรายละเอียดตกหล่นไปบ้างก็ต้องขออภัยด้วยครับ

กีตาร์จากโรงงานที่ Westerly นั้นในปี 1968 ก็เริ่มมีรุ่นใหม่ออกมาเสริมรุ่นเดิมที่ย้ายมาจาก Hoboken ใด้แก่

1968: D-25, D-35, D-55*, F-412*, F-512* (* Special order only ไม่มีขายทั่วไป)

1969: M-20 HG, M-20 3/4

1973: G-37, F-40 ,F-30R, F-48

1974: G-41, G-212, G-312

1975: G-75

1976: B-50 bass

1980: D-46

1981:D-70

1982: F-45CE

1983: D-15, D15-12,D-25C, DS-48CE, D-47CE, D-52, D-80, D-100, FS-46CE, FS-46 bass

1984:D-60, D-62, D-64, D-66, f-42, F-44, F-46

1987: D-25/12, D-60, D-65, F-45, GF-25, GF-30, GF-40, GF-50, GF-60,  JF-30, JF-50R, B-30 bass

1989: JF-55, JF-65

1991: D-4

1992: DV-52, JF-4, JF-100

1993: DV-62, DV-72, DCE-1

1994: DCE-5, JV-52

1996: A-25, A-50, JF-100C

ในปี 1995 Fender ใด้เข้าซื้อกิจการของ Guild เพื่อเอามาสร้างชื่อเสียงในด้านกีตาร์โปร่งราคาสูงซึ่งตัวเองไม่เคยทำใด้สำเร็จ อีกหกปีต่อมาตัวโรงงาน Westerly ซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีแล้วก็โดน Fender ขายทิ้งเพราะไม่คุ้มค่าซ่อมทั้งตัวอาคารและเครื่องจักร์และก็เป็นจุดเริ่มต้นของตำนาน "กีตาร์พเนจร" ของ Guild USA

ทุกวันนี้ก็ยังมีหลายคนที่เชื่อว่า Westerly Guild มีคุณภาพเหนือกว่า Guild โรงงานอื่นๆ (ผมมี Guild มาแล้วเกินห้าสิบตัวจากห้าโรงงาน ผมว่าไม่จริงเสมอไปนะครับ)





 

win2518

  • member
  • ***
  • กระทู้: 61
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 01:19:07 »
แก้ไขเรียบร้อยครับ
 ขอบคุณน้ากฤษณ์อีกครั้งสำหรับความกรุณาครับ

Moko

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,569
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 03:40:02 »
เคยมีแต่ Guild จีน อยากได้ Guild westerly USA สักตัวเหมือนกันครับ
^Easy Man^

guitar_import

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,175
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 08:47:17 »
มาต่อเร็วๆเลยครับลุงกฤษณ์ ส่วนตัวผมมีGuild USA 3ตัวคือD25,D50-BGS และF-50 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรงงานTacomaทั้งหมด เพราะชอบไม้และฝีมือจากโรงงานนี้เป็นพิเศษครับ

h5555

  • member
  • ***
  • กระทู้: 401
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 08:50:47 »
ขอบพระคุณน้ากฤษณ์ที่ได้นำเสนอข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์มากครับ  ผมรู้จักGUILDตั้งแต่ประมาณปี1975-1976จากการติดตามผลงานของJohn DenverและประทับใจในF50Rมาเสมอ  จะติดตามต่อไปครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2016, 14:10:25 »
Guild พเนจร

ผมรวบรวมที่ตั้งโรงงานของ Guild ซึ่งย้ายมาแล้วสี่ครั้งตั้งแต่ปี 2001 ในแผนที่ด้านล่าง จะเห็นใด้ว่าในการย้ายแต่ละครั้งนั้นสถานที่ตั้งมันห่างกันจนแทบจะไม่มีทางที่ช่างคนเดิมจะย้ายตามไปด้วย




Corona Guilds (2001-2004) โรงงาน "ปริศนา" ใน Corona

เมื่อ Fender คิดจะเอาจริงกับ Guild ก็เลยต้องย้ายโรงงานข้ามทวีปจาก Westerly, Rhode Island ที่เก่าจนซ่อมไม่คุ้มเพราะเปิดมา 64 ปีแล้วมาอยู่กับโรงงาน Fender ที่ Corona, California เพื่อจะใด้ดูแลอย่างไกล้ชิด

Fender ไม่เคยพาใครไปชมโรงงานกีตาร์โปร่ง Guild ที่ Corona เลยแม้แต่คนเดียวแต่ก็ไม่ใด้สร้างโรงงานขึ้นมาใหม่แน่นอน กีตาร์โปร่งของ Guild ออกวางตลาดในปี 2002 เพียง 12 รุ่นจากคาตาล้อคเก่าที่ผมเก็บใว้ครับ













Guild จากโรงงานนี้แทบจะไม่มีข้อมูลในเว็บ แม้แต่ปีที่ผลิตก็ไม่มีการเก็บประวัติใว้ที่โรงงาน ตอนนี้มีการเปิดเผยว่าโรงงานกีตาร์โปร่ง Guild ที่ Corona นั้นมีเพียงไลน์ประกอบและพ่นแลกเกอร์ของชิันส่วนที่ส่งตรงมาจาก Westerly ที่ช่างเก่าเป็นคนผลิต

WIKIPEDIA: "To ease the Corona facility (which had only made electric guitars up to this point) into making archtop and acoustic guitars, the Westerly factory artisans and workers prepared guitar 'kits' that they shipped to Corona. These kits were near-complete production guitars that only needed finishing and final assembly before being sent to retailers."

ดังนั้นข่าวลือที่บอกว่า Corona Guilds คุณภาพห่วยก็ไม่น่าจริงเพราะคนที่สร้างก็คือข่างของโรงงาน Westerly เดิมๆนั่นเอง

โรงงาน Corona ปิดกิจการลงในปี 2004 หลังจาก Fender ซื้อกีตาร์ Tacoma ใด้ครับ



กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2016, 00:52:15 »
Tacoma Guilds (2005-2007)

เรื่องราวของโรงงาน Tacoma มีจุดเริ่มต้นในเกาหลีครับ บริษัท Young Chang คือผู้ผลิตเปียโนรายใหญ่สุดของเกาหลีที่ใช้คนงานสองพันกว่าคนและมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50%
 
ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในเรื่องเสียงของเปียโนก็คือ soundboard ที่ทำหน้าที่เหมือนกับไม้หน้าของกีตาร์ ไม้ที่นิยมใช้กันมากสุดก็คือ sitka spruce ที่มีขนาดใหญ่กว่าไม้หน้ากีตาร์หลายเท่า





ในปี 1991 Young Chang ก็เลยลงทุนไปซื้อที่ดินขนาด 125 ไร่ใน Tacoma, Washington เพื่อสร้างโรงเลื่อยและ stock yard สำหรับตากไม้โดยใช้เงินลงทุนไปกว่า 20 ล้านดอลล่าร์เพื่อส่งไม้แปรรูปกลับไปใช้ที่เกาหลีโดยตรง





เมื่อดูแผนที่ของป่าไม้ sitka spruce ข้างบนก็น่าสงสัยว่าทำไมเขาถึงเลือกที่จะมาตั้งโรงเลื่อยในอเมริกาทั้งๆที่เขยิบไปไม่กีไมล์ก็เข้าเขตประเทศคานาดาที่มีมาตรการยกเว้นภาษีดีกว่า เรื่องนี้เกาหลีเขาไม่โง่หรอกครับ





จากรูปข้างบนจะเห็นใด้ว่า piano soundboard นั้นเขาใช้ไม้หน้ากว้างแค่ 5-6" มาต่อกันเป็นสิบๆแผ่นก็เลยไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ไม้แผ่นใหญ่ลายสวยๆเพราะใช้ไปก็ไม่มีใครเห็น ไม้แผ่นใหญ่ลายสวยนั้นควรเอามาทำกีตาร์โปร่งแต่จะขนกลับไปขายที่เกาหลีก็เสียของ ดังนั้นเขาจึงก่อตั้ง Tacoma Guitars มาผลิตขายเองซะดีกว่าและยังใด้ชื่อว่า Made in USA อีกด้วยซึ่งมีดีกรีเหนือกว่า Made in Canada หรือ Made in Korea หลายเท่าตัว

บริษัท Young Chang ก็มาเผชิญวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" เหมือนเกาหลีทั้งประเทศในปี 1997 ก็เลยต้องลดโหลดและขาย Tacoma Guitars ให้กลุ่มนายทุนที่นำโดยผู้จัดการโรงเลื่อย J.C. Kim ในปี 1999

กีตาร์ Tacoma ในยุคนั้นดังเป็นพลุแตกเพราะราคาถูก ไม้สวยและเสียงดีขนาดเมื่อปี 2000 เขาเคลมว่า Tacoma มียอดขายในอเมริกาเป็นอันดับสามรองจาก Taylor และ Martin (สำหรับกีตาร์โปร่งที่ผลิตในอเมริกา) เรื่องนี้กลับจบไม่สวยเพราะอีกสี่ปีต่อมาบริษัท Tacoma Guitars ก็ต้องถูกศาลบังคับให้ล้มละลาย

เดี๋ยวพรุ่งนี้มาเล่าต่อครับ




Moko

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,569
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2016, 03:25:21 »
มาติดตามอ่านต่อครับ ขอบคุณน้ากฤษณ์มากครับ
^Easy Man^

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2016, 14:15:02 »
Tacoma Guilds (ตอนที่ 2)

ปัญหาที่ล้มบริษัท Tacoma เป็นปัญหาเรื่องผิว catalyzed polymer สูตรที่ใช้เคลือบระหว่างปี 1998-1999 ครับ บริษัทที่ผลิตกีตาร์เจ้าเก่าๆอย่าง Martin, Gibson, Guild นั้นเขาจะผสม nitrocellulose lacquer เองเพราะมันไม่มีอะไรยุ่งยากและเป็นวิธีที่ใช้กันมาเป็นร้อยปีแล้ว ส่วนบริษัทใหม่อย่าง Breedlove, Taylor, Tacoma เขาใช่การเคลือบแบบ catalyzed polymer ที่ใช้แสง infrared อบให้แห้งใด้ภายในเวลา 15 นาทีและใด้ผิวที่แข็งกว่าและใสกว่าผิวไนโตรแถมยังลดต้นทุนใด้เยอะด้วย น้ำยาเคลือบแบบใหม่นี่ผสมเองไม่ใด้แต่ต้องซื้อจากผู้ผลิตที่เขาทำขายสำหรับเคลือบสีรถยนตร์ที่ผิวเป็นโลหะ พอเอามาใช้กับกีตาร์ที่ผิวเป็นไม้ในยุคแรกๆก็เริ่มมีปัญหาตามมาหลังจากใช้งานไปใด้สองสามปี ปัญหาอาจเริ่มที่ฝ้าขึ้นหรือถ้าสูตรผิดหนักก็มีอาการผิวลอกเป็นแผ่น (delamination) Tacoma นั้นเป็นหนักกว่ายี่ห้ออื่นเยอะอย่างในรูปข้างล่างครับ



ถึงแม้กีตาร์รุ่นหลังจะไม่มีปัญหานี้แต่กีตาร์รุ่นเก่าที่ถูกส่งกลับมาเคลมเป็นพันๆตัวก็ทำให้ Tacoma ขาดทุนยับเยินแถมยังเสียชื่อจนยอดขายตกไปเยอะมาก (ในอเมริกากีตาร์ส่วนใหญ่เขารับประกันซ่อมฟรีตลอดชีวิต) จนโดนฟ้องล้มละลายในปี 2004 ทาง Fender เลยฉวยโอกาสเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้และทำ hair cut มาใด้ในราคา 2 ถึง 4 ล้านดอลล่าร์เท่านั้น

คราวนี้ Fender เลยใด้โรงงานที่ทันสมัยสุดๆแถมช่างฝีมืออีกเจ็ดสิบกว่าคนและใด้ lumber yard ที่มีสต้อคไม้ spruce มากมายอีกด้วย

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2016, 00:29:46 »
เมื่อ Guild ย้ายมาโรงงานใหม่ที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่า 4,000 ตรม. มีเครื่องมือเครื่องจักร์ทันสมัยและมีช่างที่ชำนาญงานกว่าเจ็ดสิบคนก็เลยมีกำลังผลิตเหลือเฟือที่จะขุดรุ่นในอดีตที่ดังๆออกมาผลิตใหม่เกือบครบทุกรุ่น ผมเลยไม่ขอแยกแยะว่ามีรุ่นไหนบ้างเพราะหาอ่านเอาในเว็บใด้ง่ายมากครับ ยุค Tacoma นี้นับใด้ว่าเป็นยุคทองของ Guild เพราะมาตรฐานการผลิตดีมากและยังมี GAD Series ที่ผลิตในจีนมาเสริมตลาดล่างอีกด้วย

นอกจากนี้ก็ Guild ยังออกซีรี่ใหม่ที่ล้ำสมัยสุดๆคือ Contemporary Series มาขายอีก 9 รุ่นระหว่างปี 2006-2008 ซีรี่นี้เสียงดีสุดๆครับและหน้าตาทันสมัยอีกต่างหากแต่ก็มาตายน้ำตื้นด้วยการออกแบบที่ล้ำสมัยของมันนี่เอง

ลองมาดูหน้าตาของ Guild CV-1 ของผมที่ไม้สวยเกินราคาเพราะ Fender ไม้ต้องไปซื้อไม้มาใช้แต่เอามาจากสต้อคของโรงเลื่อย Tacoma












นอกจากสวยแล้วยังเสียงดีสุดๆด้วยระบบเชื่อมคอแบบใหม่ที่คิดค้นโดย Senior Master Builder สองคนคือ Dan Smith และ George Blanda ซึ่งใช้การฝังแท่ง graphite เข้าไปในคอและใช้โครง graphite ยึดกับ top braces เพื่อให้ใด้เสียงที่นิ่งและหางเสียงยาว ระบบนี้ใด้รับลิขสิทธิ์ในปี 2005 ครับ




เจ้า graphite neck block นี่เองที่เป็นตัวเจ้าปัญหาเพราะพอใช้ไปซักพักคอก็เริ่มยกและเสียศูนย์จนเล่นยาก ตัวของผมก็ส่งให้ช่างชั้นปรมาจารณ์สองคนไปแก้ก็หายไปเดี๋ยวเดียวแล้วก็เป็นใหม่จนมาเจอช่างต้าแก้ให้ถึงใด้หาย ปัญหานี้น่าจะเป็นกับ Guild Temporary Series  เยอะมากจน Fender รับคืนแล้วเปลี่ยนเป็นกีตาร์ standard series ให้กับผู้ซื้อเป็นร้อยราย ส่วนตัวที่รับคืนก็เอาไปแต่งคอใหม่แล้วแสตมป์ที่หัวว่า "USED" เอามาขายถูกๆ กีตาร์ซีรี่นี้ที่เขาโล๊ะขายมีพ่อค้าในบ้านเราซื้อมาขายต่อกันเยอะนะครับ ถ้าไปเจอก็เช็คให้ดีด้วย

ในฐานะที่เคยเป็นวิศวกรโครงสร้างผมก็เลยไปอ่าน patent ดูก็เลยนึกออกว่า Fender พลาดตรงไหน ถ้าคุณจะเอาว้สดุสองชนิดมาประกอบกันเป็นโครงสร้างคุณต้องแน่ใจว่าวัสดุทั้งสองมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อน (Thermal Expansion Coefficient) ไกล้เคียงกัน ตัวอย่างที่เห็นกันทุกวันก็คือคอนกรีตกับเหล็กที่เราเอามาทำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั่นเอง

ไม้นั้นขยายตัวตามความร้อนพอๆกับเส้นใยกราไฟต์ในแนวขนานกับเกรนแต่ขยายตัวมากกว่ากราไฟต์สิบเท่าในแนวตั้งฉากกับเกรน คราวนี้พออุณหภูมิขึ้นๆลงๆมันก็เกิดการบิดตัวแน่นอน ยิ่งถ้ามาเจอความชื้นแถวบ้านเราก็ยิ่งไปกันใหญ่ ใครอยากลองให้เห็นกับตาก็ต้องไปซื้อ Guild CV, CO และ Willy Porter Signature มาใช้ครับ

เดี๋ยวมาต่อเรื่องไม้ที่ใช้กับ Tacoma Guilds ครับ


pomguitar

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,303
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2016, 01:00:38 »
ขอบคุณน้า กฤษณ์ อ่านเพลิดเพลิน

yootapong

  • member
  • ***
  • กระทู้: 182
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2016, 08:29:36 »
ขอบคุณอาจารณ์ครับ ได้ความรู้เพึยบเลย

guitar_import

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,175
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2016, 10:34:07 »
ยอดเยี่ยมและไม่ผิดหวังเลยจริงๆครับสำหรับข้อมูลของลุงกฤษณ์ เห็นด้วยครับกับจุดเด่นของGuild Tacomaนั่นคือไม้สวย ช่างเก่ง ราคาไม่แพง และนั่นจึงทำให้ผมชอบGuild Tacomaมาจนถึงทุกวันนี้ ขอแสดงความคารวะอีกครั้งกับความรู้ที่คุณลุงได้สละเวลานำมาแบ่งปันสมาชิกทุกๆท่านครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: อยากทราบประวัติโรงงาน GUILD ครับ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2016, 17:43:00 »
การย้ายโรงงานจาก Corona มา Tacoma ก็เป็นครั้งแรกที่กีตาร์ Guild ใด้เข้าสู่ยุคไฮเทคกับเขาซะทีเพราะใด้เครื่องมือสมัยใหม่ของ Tacoma มาใช้แทนเครื่องมือโบราณที่ใช้มาห้าสิบปีแล้ว แน่นอนว่ามาตรฐานของการผลิตก็สูงขึ้นด้วย ลองดูเครื่อง side bender ชุดเก่าเทียบกับชุดใหม่ครับ



การเปลี่ยนแปลงที่น่าจะมีผลมากทางจิตวิทยาที่สุดก็คือการเปลี่ยนไม้หน้าจาก sitka spruce มาเป็น adirondack spruce หรือ red spruce ในรุ่น F-30, F-40, D-40 และ D-50 สำหรับ Tacoma Guilds

เมื่อ Guild ฉีกตำนาน Red Spruce

กีตาร์ Martin ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สองหรือยุค Golden Era นั้นเขาใช้ red spruce ทำไม้หน้า ในช่วงสงครามนั้น red spruce ซึ่งเป็น spruce ที่แข็งกว่าสายพันธุ์อื่นๆก็ถูกตัดไปใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องบินจนเกือบหมดป่า ในยุคหลังสงคราม Martin เลยต้องเปลี่ยนมาใช้ sitka spruce แทน

พอมาถึงยุค 1990s red spruce ก็เริ่มมีขายอีกครั้ง ตอนแรกนั้น Martin ไม่ยอมเอากลับมาใช้เพราะหน้าตามันไม่สวย กีตาร์ที่ทำเลียนแบบ Prewar Martin อย่าง Collings และ Santa Cruz ก็เลยเป็นผู้เอามาใช้ก่อนในปี 1995 จนเกิดกระแสนิยมขึ้นมาในตลาดกีตาร์ไฮเอ็นด์ Martin ก็เลยเอามาใช้ในรุ่น Golden Era ตั้งแต่ปี 1999 ความจริงแล้ว Martin เคยใช้ red spruce ก็เพราะราคามันถูกเนื่องจากมันขึ้นอยู้แถวๆโรงงาน Martin ที่ Nazareth, PA ครับ



Red spruce รุ่นใหม่นี่ลายเกรนจะค่อนข้างห่างเพราะมันโตเร็วขึ้นหลังจากที่ต้นใหญ่ๆถูกตัดไปเกือบหมดเลยไม่โดนบดบังแสงแดด เรื่องราคานั้นก็แพงกว่า sitka spruce หลายเท่าตัว



ถ้าคุณซื้อ red spruce มาทำกีตาร์เองนั้นคุณต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณสองพันบาทแต่ถ้าไปสั่งให้ Collings, Santa Cruz หรือ Martin เปลี่ยนไม้หน้าจาก sitka มาเป็น red spruce คุณต้องจ่ายเพิ่มอีกสามหมื่นกว่าบาท ในด้านตรงกันข้าม Tacoma Guild รุ่นถูกๆจะใช้ไม้หน้าเป็น red spruce แต่รุ่นแพงคือ D-55, F-50 กลับใช้ไม้หน้าเป็น sitka spruce มันน่างงไหมล่ะครับ

เหตุผลแรกที่ผมเดาออกคือ Fender ใด้ไม้ red spruce มาจากสต้อคไม้ของโรงเลื่อย Tacoma ก็เลยไม่มีต้นทุนและ Fender เองก็ไม่รู้ว่าชาวบ้านเขาขาย red spruce top กันแพงกว่า sitka spruce top หลายหมื่นบาทก็เลยเอา red spruce มาใช้กับรุ่นถูกเพราะหน้าตามันไม่สวยเอาซะเลย

 


เมื่อตอนที่ Tacoma Guild ออกวางตลาดใหม่ๆนั้นผมก็รีบซื้อ D-50 มาตัวหนึ่งเพราะไม้หน้า red spruce ของมันนี่แหละ พอเอามาเทียบเสียงกับ D-50 ปีเก่าที่มีอยู่ก็ผิดหวังเพราะเสียงตัวใหม่มันอั้นกว่าเยอะ หลังจากใส่ไว้ในกล่องเกือบสามปีก้มีคนหยิบมาลองในงานเปิดบ้านโดยที่ผมไม่ทราบแล้วเดินมาถามผมว่าจะขายไหม ผมก็เลยเอามาลองเสียงแล้วเกิดอาการช้อคเพราะเสียงมันดีขึ้นเป็นกีตาร์คนละตัวเลย หลังจากคราวนั้นเลยใด้ความรู้ใหม่ว่า red spruce ของ Guild นี่ต้องรอซักสามปีกว่าเสียงมันจะเปิด (ผมไม่ผ่อนสายเวลาเก็บกีตาร์นะครับ ถ้าผ่อนสายก่อนเก็บอีกสิบปีเสียงก็ไม่เปิด)

คราวนี้ผมก็เลยใด้ข้อสรุปว่าที่เจ้าอื่นเขาคิดค่าไม้หน้า red spruce เพิ่มอีกหลายหมื่นบาทนั้นก็คงเป็นเพราะเขาต้องมาปรับแต่งให้ไม้หน้ามันบางลงเพื่อให้มันสั่นใด้เต็มที่โดยไม่มี distortion เนื่องจาก red spruce นั้นมันแข็งกว่า sitka spruce เยอะ ส่วน Guild นั้นน่าจะใช้ความหนาเท่ากันทั้งหมดโดยไม่มีการปรับแต่งใดๆเลยขายใด้ในราคาถูกทั้งๆที่ไม้ก็ไม่ใด้สวยน้อยกว่า



ลองฟังเสียงดีกว่าครับ อย่าง Tacoma Guild D-40 ตัวนี้อายุหกปีแล้วเสียงก็ยังเปิดไม่หมดเมื่อเทียบกับ Martin D-18GE (ตอนเทียบเสียงอย่าลืมว่า Martin D-18GE ราคาสองเท่าของ Guild D-40 นะครับ)

<a href="http://youtu.be/T-VBm3ft6Rs" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/T-VBm3ft6Rs</a>


<a href="http://youtu.be/a4As6fFPq3M" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/a4As6fFPq3M</a>


สรุปใด้ว่า Guild เอา red spruce มาใช้ในโรงงาน Tacoma แบบค่อนข้างจะ "เสียของ" แต่เขาก็แก้ตัวใด้ในยุคต่อมา