Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ  (อ่าน 6403 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

boatza555

  • member
  • ***
  • กระทู้: 125
ตัวโน้ตที่อยู่ในกรอบสีแดงต้องกดตรงช่องไหนแล้วเล่นอย่างไรครับ


Thanks: ฝากรูป ประกันภัยรถยนต์

ขอบคุณมากครับผม

achawa

  • member
  • ***
  • กระทู้: 73
  • เพศ: ชาย
Re: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 02:55:51 »
ดับเบิ้ลชาร์ปครับ โน้ตฟาดับเบิ้ลชาร์ป (คือตัวซอล) เล่นช่อง 5 เส้นที่ 4

รู้สึกว่าเลขนิ้วเค้าจะเขียนผิดไม่ใช่เลข 0 นะครับจริงๆน่าจะเป็นเลข1มากกว่า เลยอาจจะดูงง

3kbatt

  • member
  • ***
  • กระทู้: 8
Re: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 10:22:02 »
ฟาดับเบิ้ลชาร์ปกลายเป็นเสียงเดียวกับซอลครับ เล่นเป็นสายสามสายเปิดโน๊ตตัวG

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
Re: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 12:55:09 »
ถ้าอ่านโน๊ตแล้วเล่นตามโน๊ต ให้ตรงๆ  คือ เล่น สาย 3 สายเปิด แต่ไม่เพราะ
  เล่น สาย 4 ซอล ที่ช่อง 5  เพราะกว่า
ผมเข้าใจว่าท่าน  อ เขตอรัญ เลิศพิพัฒน  คนเรียบเรียง  เขียนให้เล่น สาย เปิด ของ สายที่ 3
แต่พอเล่นจริงๆ  ผมว่า เล่น ที่ สาย 4 เสียงมีความต่อเนื่องและ เพราะกว่า
ถ้าเล่นที่ สาย 3 เสียงออกมายังไงไม่รู้

ขอเพิ่มเติมครับ บทประพันธ์  บทเพลง พระราชนิพนธ์ กีต้าร์คลาสสิค  ใน ชุด แรกสุด คือ ชุด คืนหนึ่ง  มีทั้งหมด 10 เพลง
ที่มีเพลง สายฝน  ใก้ลรุ่ง  แก้วตาขวัญใจ  แสงเดือน  ค่ำแล้ว   แสงเทียน  ยามเย็น  เทวาพาคู่ขวัญ     เมื่อโสมส่อง  แผ่นดินของเรา 
ผู้ที่ได้ เรียบเรียงเป็นกีต้าร์คลาสสิคคือ ท่าน อ. เขตอรัญ  เลิศพิพัฒน์  ครับ  ไม่ใช่ ฮัคกี้  อย่างที่หลายๆท่านเข้าใจ
ปัจจุบัณท่าน อาจารย์ ได้ เสีย ชวิต แล้ว
ท่าน อ เขต  นับเป็น ผู้มีพระ คุณ กับ ผมอย่างมากๆ  ทีทำให้ผมได้ หัดเล่นกีต้าร์ตลาสสิค 
บทเพลงพระราชนิพนธ์  นับเป็น บทเพลงอันทรงคุณค่า  มาก
ผมได้ ยิน  บทเพลง  พระราชนิพนธ์  ที่เพื่อน ผมเล่นให้ฟังในยุค 10 กว่าปีที่แล้ว  มันช่างไฟเราะจับใจมากๆ 
นับแต่วันที่เพื่อน เล่นกีต้าร์คลาสสิคให้ผมฟัง ผมจึง ตั้งใจเรียนกีต้าร์คลาสสิคอย่างจริงจัง
ผมเชื่อ ว่า มีหลายคนเลยที่ ได้ เล่นกีต้าร์คลาสสิคก็เพราะ บทเพลงพระราชนิพนธ์  ที่ท่าน อ เขตอรัญ  ที่ได้เรียบเรียงเอาไว้ในทางของกีต้าร์คลาสสิค
บทเพลง พระราชนิพนธ์  นั้น พระองค์สมเด็จเจ้าอยู้หัวของเราได้ทรงนิพนธ์ขึ้นมีทั้งหมด 48  บทประพันธ์ครับ
ดังรายชื่อข้างล่างนี้


๑. แสงเทียน (Candlelight Blues)
๒. ยามเย็น (Love At Sundown)
๓. สายฝน (Falling Rain)
๔. ใกล้รุ่ง (Near Dawn)
๕. ชะตาชีวิต (H.M. Blues)
๖. ดวงใจกับความรัก (Never Mind the H.M. Blues)
๗. มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March)
๘. อาทิตย์อับแสง (Blue Day)
๙. เทวาพาคู่ฝัน (Dream Of Love Dream of You)
๑๐. คำหวาน (Sweet Words)
๑๑. มหาจุฬาลงกรณ์
๑๒. แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart)
๑๓. พรปีใหม่
๑๔. รักคืนเรือน (Love Over Again)
๑๕. ยามค่ำ (Twilight)
๑๖. ยิ้มสู้ (Smiles)
๑๗. มาร์ชธงไชยเฉลิมพล
๑๘. เมื่อโสมส่อง (I Never Dream)
๑๙. ลมหนาว (Love in Spring)
๒๐. ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag)
๒๑. Oh I say
๒๒. Can't You Ever See
๒๓. Lay Kram Goes Dixie  ๒๔. ค่ำแล้ว (Lullaby)
๒๕. สายลม (I Think of You)
๒๖. ไกลกังวล (When)
๒๗. แสงเดือน (Magic Beams)
๒๘. ฝัน (Somewhere Somehow)
๒๙. มาร์ชราชนาวิกโยธิน
๓๐. ภิรมย์รัก (A Love Story)
๓๑. แผ่นดินของเรา (Alexandra)
๓๒. พระมหามงคล
๓๓. ยูงทอง
๓๔. ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)
๓๕. เตือนใจ (Old Fashioned Melody)
๓๖. ไร้เดือน (No Moon)
๓๗. เกาะในฝัน (Dream Island)
๓๘. แว่ว (ECHO)
๓๙. เกษตรศาสตร์
๔๐. ความฝันอังสูงสุด
๔๑. เราสู้
๔๒. เรา-เหล่าราบ ๒๑
๔๓. BLUES FOR UTHIT
๔๔. รัก
๔๕. เมนูไข่ 



บทเพลงสายฝน  นับเป็น ลำดับที่ 3 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ ขึ้นครับ

ผมเอา  รายละเอียด มา อ่านกันครับ


เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว
ต้นไม้พลิ้วลู่กิ่งใบ
เหมือนจะเอนรากคลอนถอนไป
แต่เหล่าไม้ยิ่งกลับงาม

พระพรหมท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง
เพื่อประทังชีวิตมิทราม
น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม
ทั่วเขตคามชุ่มธารา

สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง
แดดทอรุ้งอร่ามตา
รุ้งเลื่อมลายพร่างพรายนภา
ยามเมื่อฝนมาแต่ไกล

พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ
เพื่อจะนำดับความร้อนใจ
น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล
พืชพรรณไม้ชื่นยืนยง


Falling Rain

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: Prof. Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudhya


Rain winds sweep across the plain.
Thunder rumbles on high.
Lightning flashes ; bows the grain.
Birds in fright nestward fly.
But the rain pours down in blessing;
Filled with cheer our hearts expand.
As the woods with notes of pleasure ring,
Sunlight streams o’er the land.

Bright the rainbow comes in view.
All the world’s cool and clean.
Angel’s tears the flowers renew.
Nature glistens in green.
Rain beads sparkle in your hair, love.
Rainbows glitter when you smile.
Thus we soon forget the clouds above
Beauty so does beguile.


เกร็ดประวัติ

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่สาม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชอนุชา และเป็นเพลงที่สองที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร

เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนเป็นเพลงแรกในจังหวะวอลทซ์ มีลีลานุ่มนวล การที่ทรงใช้จังหวะวอลทซ์สำหรับสายฝน ทำให้เป็นที่นิยมใช้เป็นเพลงลีลาศในขณะนั้น แม้จะมิได้ฟังเนื้อร้องก็ยังรู้สึกได้ถึงความชุ่มชื่น เยือกเย็น สะอาด และเต็มไปด้วยความหวัง จังหวะวอลทซ์ที่ช้าเนิบช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดความสงบและผ่อนคลายได้อย่างดี อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พสกนิกรชื่นชอบมากที่สุดเพลงหนึ่ง

เมื่อวันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสกับคณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยถึงที่มาของเพลง ซึ่งเป็นความลับในการพระราชนิพนธ์เพลงนี้ว่า
“คืนวันนั้นที่แต่งเพลงเพราะว่าเข้านอนแล้วฟังวิทยุ มันเกิดครึ้มใจ ก็ปิดวิทยุแล้วเอาเศษกระดาษมาขีดๆแล้วก็จดไว้ แล้ววันรุ่งขึ้นก็ไปเคาะที่เปียโน ซึ่งมีเปียโนหลังหนึ่งที่โปเก เสียงก๊องๆแก๊งๆไม่ได้เรื่อง แต่ก็เคาะไป แล้วก็เรียบเรียงไปสัก 2 ชั่วโมง ส่งไปให้ ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ บอกว่าได้เพลงแล้ว ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริก็ส่งไปให้ครูเอื้อ ครูเอื้อก็เรียบเรียง วันรุ่งขึ้นออกสวนอัมพรแล้ว”

“ความลับของเพลงสายฝนนั้นมีอยู่อย่างหนึ่ง คือ เขียนไป 4 ช่วง ช่วงที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เสร็จแล้วเอาช่วงที่ 3 มาแลกกับช่วงที่ 2 กลับไป ทำให้เพลงนี้มีลีลาต่างกันไป ก็รู้สึกว่าดี ทีแรกก็เป็น 1, 2, 3, 4 มาตอนนี้ก็เลยกลายเป็นอยู่อย่างปัจจุบันนี้”
จากนั้นได้มีพระราชดำรัสเล่าถึงความปิติยินดีในฐานะของผู้พระราชนิพนธ์เพลง เมื่อทรงทราบว่าเพลงนั้นๆเป็นที่นิยมชมชอบอย่างมากในหมู่ผู้ฟัง
“ครั้งโน้นมีความปลาบปลื้ม ในวันที่ออกเป็นครั้งแรกที่วงสุนทราภรณ์ได้เล่น ก็เพราะว่าในกรมพระชัยนาทฯ ซึ่งเป็นท่านลุง และต่อมาท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ท่านเป็นผู้ที่ชอบดนตรี แต่โดยมากท่านชอบดนตรีคลาสสิก ชอบดนตรีที่เรียกว่าเป็นดนตรีจริงๆ แต่เวลาเล่นเสร็จแล้ว ท่านหันมาแล้วท่านพยักหน้า บอกว่าดี ก็ปลื้มตอนนั้นนะ จะเล่าให้ฟังว่ามีความปลาบปลื้มอย่างจริง ขนลุกจริงๆ”

“เมื่อแต่งเป็นเวลา 6 เดือน ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้เขียนจดหมายมาถึง บอกว่ามีความปลาบปลื้มอย่างหนึ่ง เพระท่านไปเชียงใหม่ เดินไปตามถนนได้ยินคนผิวปากเพลงสายฝน ก็เดินตามเสียงไป เข้าไปในตรอกซอกซอยแห่งหนึ่ง ก็เห็นคนกำลังซักผ้า แล้วก็มีความร่าเริงใจ ผิวปากเพลงสายฝน และก็ซักผ้าไปด้วย ก็นับว่าสายฝนนี้มีประสิทธิภาพสูง ซักผ้าได้สะอาด”

“เสร็จแล้วต่อไปได้ไปเยี่ยมราษฎรภาคต่างๆ ก็ได้ไปเยี่ยมทุกจังหวัดในประเทศไทย แต่ตอนที่ไปเยี่ยมครั้งโน้นเป็นเวลา 25 ปีกว่า ไปที่ไหนก็เยี่ยมราษฎรทั้งวัน คลุกฝุ่น และถึงค่ำก็มีการเลี้ยงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน มีการแสดงของอำเภอต่างๆในจังหวัดนั้นๆ มีอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือระบำสายฝน สายฝนแบบจักๆก็มี แบบปรอยๆก็มี อันนี้บางทีเราเหนื่อยๆ เราก็ดูก็รู้สึกรำคาญ รำคาญตัวเองว่าทำไมต้องแต่งเพลงนี้ให้เขามาเล่นระบำสายฝน แต่มานึกอีกทีว่าทำไม เราควรจะปิติยินดี เราแต่งเพลงนี้ และเขาก็ถือว่าเป็นเพลงสัญลักษณ์ เขาก็แสดงให้”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องภาษาไทย เป็นกลอนสุภาพ 4 บท เนื้อหาพรรณนาถึงสายฝนกับธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบความสำเร็จที่คนเราจะได้รับหลังจากการทำงานหนักหรือยากความลำบาก บทเพลงแฝงนัยของการให้ความหวัง กำลังใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น เยือกเย็น สะอาด คำร้องภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน มีจุดเริ่มจาก หม่อมวิภา เก่งระดมยิง(อดีตหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ) โดยขณะที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงประพันธ์คำร้องในตำหนัก เผอิญฝนกำลังตกลงมา หม่อมวิภาเดินไปปิดหน้าต่าง มองเห็นฝนตกจึงเดินกลับมาพร้อมด้วยคำอุทานจากแรงบัลดาลใจว่า “สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง”

ส่วนเนื้อร้องภาษาอังกฤษซึ่งท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ พรรณนาถึงความงามของธรรมชาติและสายฝน โดยได้เชื่อมโยงความงามจากธรรมชาติของสายฝนเข้ากับความงามของคนรัก ทำให้รู้สึกสดชื่นและชุ่มฉ่ำจากสายฝนไปพร้อมกับความเบิกบานเนื่องจากความสุขสมในความรัก


รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร
และ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา


ที่มาครับ  http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=samsian&date=13-08-2006&group=1&gblog=3

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

boatza555

  • member
  • ***
  • กระทู้: 125
Re: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 21:18:33 »
ขอบคุณน้าๆทุกท่านมากครับ

Olanor ^^

  • member
  • ***
  • กระทู้: 241
  • คิดดี ทำดี พูดดี
Re: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 21:21:48 »

หัดเพลงเดียวกันเลยครับ ^^
คิดดี ทำดี พูดดี

boatza555

  • member
  • ***
  • กระทู้: 125
Re: สงสัยเกี่ยวกับโน้ตในเพลงพระราชนิพนธ์สายฝนครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2011, 22:26:32 »

หัดเพลงเดียวกันเลยครับ ^^

ครับผม^^