Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: บทความกีตาร์คลาสสิค  (อ่าน 4777 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

yutthasak

  • member
  • ***
  • กระทู้: 149
  • www.yaiguitar.com
    • นักกีตาร์คลาสสิค
บทความกีตาร์คลาสสิค
« เมื่อ: เมษายน 07, 2015, 22:37:26 »
สวัสดีครับ ยาวหน่อยแต่เอามาฝากกันครับ เป็นบทความที่ผมเขียน สมัยเรียน ไม่อยากทิ้งไว้คนเดียวเลยมาแบ่งปันกันครับ นี่เป็นส่วนหนึ่ง ถ้าสนใจจะลงให้ต่อครับ

บทความคัดลอกจาก Thesis Luigi Rinaldo Legnani : Biography and an Analysis of his work - Fantasia Op. 19 by Yutthasak Komjornkijborworn พิมพ์ครั้งแรกที่ Milan, Italy ปี 2014
(บทความภาษาไทย ถอดความจากต้นฉบับ ภาษาอิตาเลียน และ อังกฤษ)



กีตาร์ รุ่น Stauffer "Legnani Model"

Luigi Rinaldo Legnani ถือว่าเป็นนักกีตาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุค ศตวรรษที่ 19 Legnani เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1790 ที่เมือง Ferrara ประเทศอิตาลี โดยผู้ให้กำเนิดคือ Giuseppe และ  Rosa Bassi Legnani (ในหนังสือ Biographie universelle des musiciens ของ Fetis กล่าวไว้ว่า Legnani เกิดใน กรุงมิลาน แต่ภายหลังได้พิสูจน์ว่า ไม่เป็นความจริง) Legnani ไม่เพียงแต่รู้จักกันในฐานะ นักกีตาร์ แต่ยังเป็น นักร้อง และช่างทำกีตาร์อีกด้วย

เมื่อ Legnani อายุได้เก้าขวบ ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปยังเมือง Ravenna ซึ่งในคราวนี้เอง ที่เขาได้เริ่มศึกษวิชาดนตรี ซึ่งการเรียนของตัว Legnani เอง ไม่ปรากฏว่าได้ศึกษาที่ใด และเป็นไปได้ว่าเขาได้ศึกษาด้วยตัวเอง  เมื่อ Legnani ยังเป็นเด็ก เขาศึกษากีตาร์โดยยึด ตำราของ Carulli (นักประพันธ์และครูสอนกีตาร์ที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียน) ในขณะที่เขาศึกษากีตาร์นั้นก็ยังได้เรียนไวโอลินควบคู่ไปอีกด้วย อย่างไรก็ดีคอนเสิร์ตเปิดตัวของเขาครั้งแรกนั้น แทนที่จะเป็นการแสดงกีตาร์ กลับกลายเป็น คอนเสิร์ตที่เขาร้องเพลงที่  โรงละคร Teatro Comunitativo ในเมือง Ravenna ในปี 1807 ในขณะที่ Legnani อายุได้ 17 ปี

กระทั่งในปี 1819 เขาได้เปิดตัวต่อสาธารณะชนในฐานะนักกีตาร์ โดยเขาได้เปิดการแสดงที่ โรงละคร La Scala ในเมืองมิลาน การแสดงของเขาประสบความสำเร็จอย่างมาก ในปีเดียวกันเขายังได้รับเชิญไปแสดงยังกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียอีกด้วย ถึงแม้ว่าเขาจะศึกษาวิชาดนตรีด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Harmony, Counterpoint แต่บทประพันธ์ของเขาก็เป็นผลงานที่มีค่าสูงส่ง ในการแสดงของเขา เขานิยมที่จะนำบทประพันธ์ของตัวเองไปแสดง ดังเช่น เพื่อนนักกีตาร์ร่วมสมัยของเขา ไม่ว่าจะเป็น Aguado, Giuliani และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักดนตรีในยุคนั้น
 
 มีความเป็นไปได้ว่า Legnani ได้พำนักอาศัยอยู่ที่เวียนนา หลังจากที่เขาได้เปิดการแสดงครั้งแรกในออสเตรีย (เป็นไปได้ว่าเขาพำนักในกรุงเวียนนา ระหว่างปี 1820-1825) แต่นักวิจัยทางด้านดนตรี ให้ความเห็นว่า ถึงแม้ Legnani จะเปิดทำการแสดงบ่อยครั้งในเวียนนาในช่วงนี้ เขาก็ยังพำนักอาศัยในอิตาลี (Philip Bone ซึ่งเป็นนักวิจัยทางด้านกีตาร์ ให้ความเห็นว่า เป็นไปได้ว่าเขาน่าจะพำนักในเมือง Genoa)
Legnani มีชื่อเสียงมากในฐานะนักกีตาร์ในกรุงเวียนนา นักวิจารณ์ต่างชื่นชมเขาเป็นอย่างมาก

Legnani นั้นโดยปกติจะไม่แสดงเดี่ยวกีตาร์เพลงอย่างเดียว แต่เขามักจะเชิญศิลปินท่านอื่นมาแสดงในรูปแบบของการเต้นรำ และละครประกอบ อีกทั้งในฐานะนักร้องบางครั้งเขาก็จะร้องเพลงประกอบการเล่นกีตาร์ของเขา

Legnani ย้ายกลับไปอยู่ในเมือง Ravenna ในเวลาต่อมา ในปี 1826 เขาได้ไปเป็นนักร้องประจำเมือง โดยร้องอยู่ที่ Teatro Communitale จากหลักฐานรับรองโดยท่าน Count Carlo Arrigoni แสดงให้เห็นว่า นอกจากนั้นในปี 1827 เขายังเป็นนักไวโอลินประจำโรงละครของเมืองอีกด้วย ถึง Legnani จะมีงานประจำ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เค้ามีฐานะการเงินที่มั่นคง เขายังต้องหารายได้พิเศษจากการสอนกีตาร์และร้องเพลง จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือเดินทางของเขา ลงวันที่ 30 ตุลาคม 1829 ได้บันทีกไว้ว่า อาชีพของเขาคือ อาจารย์ของกีตาร์และร้องเพลง 
   
   ในปี 1832 เขาได้เริ่มต้นทัวร์ โดยประเดิมที่แรกที่ Accademia Filhamonica ในกรุงโรม และกลับไปทำการแสดงยังกรุงเวียนนาอีกครั้งในปี 1833 ในระหว่างนี้เองซึ่งเขาได้พบกับช่างทำกีตาร์ที่มีชื่อเสียงสองคนของออสเตรีย นั่นก็คือ Johann Ries และ Johann Stauffer โดยความร่วมมือระหว่างช่างที่มีชื่อเสียงเหล่านี้และตัวของเขา พวกเขาได้คิดค้นกีตาร์ที่เป็นจุดเปลี่ยนแห่งวงการกีตาร์นั่นก็คือ กีตาร์รุ่น Legnani Model

ประวัติผู้เขียน

ยุทธศักดิ์ กำจรกิจบวร (M.M. , Dilp. Mus)
ศึกษาวิชากีตาร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, University of Music Graz ออสเตรีย, University of Music Rostock ในประเทศเยอรมัน,  University of Texas at Austin ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้ศึกษาต่อในสาขา Early Music ที่ Conservatory of Music ในกรุงมิลานประเทศอิตาลี
ยุทธศักดิ์ ได้ศึกษาและเปิดการแสดงกีตาร์ในหลายประเทศ เขาชนะการแข่งขัน Thailand Guitar Competition ,Moisycos Guitar Compeition ในอิตาลี เขาเคยเป็นสมาชิกและผุ้ก่อตั้ง Wong Kojorn Guitar Quartet เคยเป็นอาจารย์พิเศษสาขากีตาร์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
classical guitarist

samaklen

  • member
  • ***
  • กระทู้: 828
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 08, 2015, 08:59:34 »
ขอบคุณครับ คุณใหญ่
เขียนเพิ่มอีกนะครับ อ่านแล้วชอบมาก

Martin OMJM

  • member
  • ***
  • กระทู้: 223
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 08, 2015, 11:38:14 »
ขอบคุณมากๆครับ  มีความรู้มากๆครับ

pomguitar

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,303
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 08, 2015, 13:13:58 »
ขอบคุณน้า yutthasak มากครับ ผมเองสนใจเรื่องแบบนี้เหมือนกัน ถ้ามีโอกาสนำมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

ขอบคุณมากครับ

yutthasak

  • member
  • ***
  • กระทู้: 149
  • www.yaiguitar.com
    • นักกีตาร์คลาสสิค
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 09, 2015, 02:15:02 »
ครับ ช่วงนี้ผมเดินทางบ่อย อาจจะเข้ามานานๆที เดี๋ยวไว้จะมาเล่าต่อให้เรื่อยๆนะครับ ถ้าใครสนใจเรื่องอะไร ก็แนะนำมาได้นะครับ ถ้าผมสามารถแบ่งปันได้ก็ยินดีครับ
classical guitarist

samaklen

  • member
  • ***
  • กระทู้: 828
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 10, 2015, 12:39:35 »
Headstock น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ Leo Fender มากเลยครับ

Olanor ^^

  • member
  • ***
  • กระทู้: 241
  • คิดดี ทำดี พูดดี
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 11, 2015, 14:53:20 »
ขอบคุณบทความดีๆครับ
คิดดี ทำดี พูดดี

yutthasak

  • member
  • ***
  • กระทู้: 149
  • www.yaiguitar.com
    • นักกีตาร์คลาสสิค
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 14, 2015, 01:16:29 »
Headstock น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ Leo Fender มากเลยครับ

ครับ ถูกต้องครับ อันนี้เป็น collection  ที่ผมใช้ ลูกบิดนั้นเป็นแบบแผง ของ Rodgers


classical guitarist

wachr

  • member
  • ***
  • กระทู้: 15
  • เพศ: ชาย
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 15, 2015, 12:09:15 »
ขอบคุณมากนะครับ สำหรับความรู้ที่เอามาแบ่งปัน

"สวัสดีครับ ยาวหน่อยแต่เอามาฝากกันครับ....."   บทความไม่ยาวเลยครับ  กำลังอ่านเพลิน ๆ  จบซะแล้ว

ถ้าไม่รบกวนกันเกินไป  คือกำลังจะบอกว่าสนใจอยากอ่านต่อน่ะครับ

 ขอบคุณอีกครั้งนะครับสำหรับบทความดี ๆ

samaklen

  • member
  • ***
  • กระทู้: 828
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 16, 2015, 10:31:07 »
สนใจเรื่อง 36 Caprices เบอร์ ของ Legnani  ครับ คุณใหญ่
ถ้าว่าง มาเล่าให้ฟังกันบ้างนะครับ
ขอบคุณครับ

bung2590

  • member
  • ***
  • กระทู้: 45
  • เพศ: ชาย
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เมษายน 23, 2015, 10:46:32 »
ขอบคุณครับ อยากติดตามตอนต่อไปแล้วสิครับ

chet

  • member
  • ***
  • กระทู้: 370
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: เมษายน 23, 2015, 11:23:27 »
ขอบคุณที่นำมาแชร์ให้กันฟังครับ ผมเองก็ชอบเล่นสายไนล่อน เช่นกัน

yutthasak

  • member
  • ***
  • กระทู้: 149
  • www.yaiguitar.com
    • นักกีตาร์คลาสสิค
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: เมษายน 23, 2015, 11:56:03 »
พึ่งกลับถึงไทยครับ เดี๋ยวถ้ามีเวลา จะรีบส่งบทความให้อ่านต่อครับ
classical guitarist

Korum393

  • member
  • ***
  • กระทู้: 26
    • เครื่องสำอางค์
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2015, 12:37:45 »
แวะเข้ามาอ่านด้วยครับ

tee_wichai

  • member
  • ***
  • กระทู้: 67
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2015, 07:42:43 »
อาจารย์ ครับ ไม่ทราบว่า มี่ ประวัติ ของ Francisco Tárrega , Agustín Barrios มั้ยครับ ถ้ามีรบกวน อ แนะนำให้ด้วยนะครับ

yutthasak

  • member
  • ***
  • กระทู้: 149
  • www.yaiguitar.com
    • นักกีตาร์คลาสสิค
Re: บทความกีตาร์คลาสสิค
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2015, 09:46:27 »
ครับ จะทยอยมาลง ให้ครับ ช่วงนี้ผมสอนเช้าถึงเย็นทุกวัน ถ้า Barrios จะมีบทความเป็นภาษาเสปน ที่เคยได้รับ สมัยไปทำ Thesis ที่ อเมริกาใต้ เดี๋ยวว่างๆจะแปล แล้วลงให้ครับ
classical guitarist