Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai  (อ่าน 5901 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cinderella

  • member
  • ***
  • กระทู้: 297
อันนี้ที่ตั้งเพราะความสงสัยจริงๆนะครับ ไงๆก็รบกวนหน่อยนะครับทางทีมงาน หรือน้าๆท่าอื่นก็ได้

จากลิงค์นี้ :  http://acousticthai.net/dehumidifier-gw-e-333.html

ผมอยากทราบมากว่า ตอนที่ทางทีมงานเอา Hygrometer หรือเครื่องวัดความชื้นใส่ในกีตาร์

พร้อมกับใส่ GW E333 ท่านได้วางไว้ที่ตำแหน่งไหนของCaseกีตาร์ครับ? Body หรือว่า headstock

ถ้าวางที Headstock area มันจะได้ 45-55% แน่นอน เพราะผมก็ลองมาแล้ว
บวกกับคุณสมบัติทางชีวภาพของ Silicagel จะดูดความชื้นให้ความชื้นสัมพัทธ์รอบตัวอยู๋ถึงแประมาณค่ 40% ครับ
+- ได้นิดหน่อย เพราะมันต้องผสมกับ Relative humidity (RH) ของอากาศจากภายนอก
แต่ทีนี้ Compartment ในกล่องกีตาร์ มันไม่ได้แบบเชื่อมกันซะทีเดียว
ทางผมและเพื่อนๆอีก 3-4 ท่าน ได้ลองใส่แบบที่รีวิวบอกแล้วพบว่า หากวาง Hygrometer หรือเครื่องวัความชื้นที่แถว Body
เช่น ใต้รอยต่อคอ/บอดี้  หรือ zone cutaway เป็นต้น พบว่าไม่ได้ความชื้นถึง 45-55% ครับ (T____T)

อันนี้เพื่อท่านๆอื่นๆที่จะมาซื้อตามนะครับ ไม่รู้ว่าทางทีมงานที่รีวิวมี Method เช่นไร ทำแบบที่ผมทำรึยัง
แต่หากจะให้ Review สมบูรณ์ อยากให้บอกด้วยว่าวาง ตัววัดความชื้น ที่ตำแหน่งใด หากยังไม่ลองวางที่ Soundhole
กระผมขอแนะนำให้ท่านลองวางที่ใต้ Neck ของกีตาร์ หรือ Zone ที่เป็น Body/Soundhole ดูนะครับ
และมาเพิ่มเติมในรีวิวให้ที จะได้เห็นกันชัดๆ

คือผมหวังมากๆๆๆเลย ว่ามันจะทำให้ ทั้ง Case เป็น 45-55% RH จริงๆ  เพราะแน่นอน ใครๆก็รักกีตาร์ตัวเองทั้งนั้น
ประเด็นคือ ผมรู้สึกว่ามันจะทำให้แค่ Headstock กับ คอช่วงบนเท่าน้ันน่ะสิ

เหมือนกับว่ามันไม่สามารถเอาความชื้นออกจาก แถว Body ได้ ซึ่งถือว่าผิดหลักการมาก!!!!!!!

เพราะเราต้องการเอาความชื้นออกจาก ตรง Soundhole ซึ่งเป็น Raw surface ที่แลกเปลี่ยนความชื้นได้
ไม่ใช่ผ่านแลกเกอร์ที่เคลือบกีตาร์ ความจริง ไอที่ดูด มันยังไม่ถึง Body เลยมั้ง เหมือนอากาศมันไม่หมุนเวียนอะคับ
แต่ทั้งนี้ Fretboard ก็คงจะมีคุณภาพที่ดีหลังจากเราใส่ไปแน่ๆ แต่ลองดูละกันนะครับ
เพราะว่าสุดท้าย เสียงดีไม่ดี มันอยู่ที่ความชื้นในตัวกีตาร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ Resonate สร้างการกำทอนเวลาเราเล่นอะคับ

อยากให้ช่วยๆกันทำให้รีวิวสมบูรณ์เพื่อที่จะได้หาสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่กีตาร์เรานะครับ

เพราะว่าไม่งั้น ซื้อมาอาจจะไม่ค่อยได้อะไร เพราะสุดท้ายก็ต้องคอยชาจให้มันอยู่ดี เพราะมีการรั่วของความชื้นภายนอกเข้าเคสได้
และถ้าหากมันไม่ช่วยจริง เช่นในกรณีผมและเพื่อนๆชาวกีตาร์ได้ทดลองซื้อที่ดูดมาแล้ววางที่วัดความชื้น ซึ่งทดสอบว่าวัดได้เท่ากันคือยังสูงไป
โดยผมและเพื่อนๆวางที่วัดไว้ที่ 2 ตำแหน่ง คือตรง headstock กับ Body ตอนที่ไม่ใส่ที่ E333 นี้ ได้ผลว่าทั้งความชื้นและอุณหภูมิเท่ากันทั้ง 2 ที่ในกล่อง
แต่พอใส่ Dehumidifierเข้าไป ตรง headstock พบว่า แค่ความชื้นที Head ลด แต่ที่ Soundhole/body ไม่ลดครับ

ฉะนั้นหากทีมงานได้ทดลองแล้วพบผลการทดลองแบบที่ผมและเพื่อนๆได้ทำ (ขอโทษไม่มีภาพปลากรอบ)
จะได้ไปหา เครื่องดูดความชื้นแบบไฟฟ้าชาร์จได้ ที่ขนาด "เล็กกว่านี้" มาใส่แถว Body/Soundhole แทนครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอบคุณทีมงานมากๆ ที่เอาสิ่งดีๆมาให้ผู้เล่นกีตาร์ทั้งหลายได้ทราบกันถ้วนหน้า
กระผมไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ใดๆ อยากช่วยเหลือทุกคนครับ คนไทยกันเอง อยากให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด

ทั้งนี้การทดลองของผม อาจผิดพลาด ไม่ประสบความสำเร็๗ในการลดความชื้นอาจเป็นได้หลายปัจจัย
ตั้งแต่ ความชื้นแถวบ้านผม/ในห้อง มากเกินไป หรือจากที่อุปกรณ์ของผมไม่ดีพอก็เป็นได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น อยากรบกวน น้าๆ หรือ ทีมงาน ผู้มีประสบการณ์และอุปกรณ์มาลองทดลองกันนะครับ

ปลล. ต้นเดิมนั้น Taylor แนะนำอุปกรณ์ใส่เซฟปืนชื่อ EVA-DRY 333 หน้าตาเหมือน GW E333 ที่ MC เอามาขายเป๊ะๆ
ผมเคยซื้อมาและ น้าๆบางท่านอาจจะเคยผ่านชื่อ ผ่านหน้าผ่านตามา ประเด็นคือ
333 มาจาก 333 ลูกบากศ์ฟีต หรือแปลคือ ครอบคลุมพื้นที่(ปริมาณ)ประมาณ กว้าง 7 x ยาว 7 x สูง 7  ฟุต (เยอะอยู่นะ)
แต่ถ้าวางตรง head stock แลวมันไม่ดูดตรง Body/soundhole ให้ ใส่ไปก็ไร้ประโยชน์อยู่ดี (แต่ก็ยังดีกว่าใส่ Silical pack เล้กๆจ้า)

ballnito

  • member
  • ***
  • กระทู้: 179
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 07:34:00 »
น่าเสียดายที่ไม่มีใครมาตอบนะ วันก่อนไปหาซื้อที่ Music collection พนักงานก็แนะนำให้เอาไว้ที่หัวกีตาร์ แต่ผมเห็นแล้วว่ามันไม่น่าจะนำพาเท่าไหร่ เอาไว้จะลองเอาทั้งกีตาร์ ทั้งเคสไปลองดูอีกที

jue

  • member
  • ***
  • กระทู้: 128
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 07:46:59 »
ขอบคุณกระทู้ดีๆ ครับ

TOM1869

  • member
  • ***
  • กระทู้: 19,247
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 08:19:37 »
มีภาพประกอบไม๊ครับ  กระทู้ดี
Line id: 081-8718003

oocl

  • member
  • ***
  • กระทู้: 428
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 08:59:35 »
กล่อง E333 มันวางที่ตำแหน่ง Soundhole/body  มันวางไมไ่ด้นะ ผมใช้อยู่
มันใหญ่ แล้วจะปิด case guitar ได้อย่างไร มันวางได้ทีดียว คือ ด้านหัวกีต้าร์ที่มีช่องว่างของหลัง headstock เท่านั้น

ส่วนคือ % ของผมมันไม่เท่ากับที่เวบรีวิว แต่บวกลบกันเล็กน้อย ผมคิดว่าเพราะแต่ละพื้นทีที่เราอยู่มันต่างกัน อากาศต่างกัน มันจึงไม่เท่ากัน
แต่ผมไม่ได้ซีเรียสขนาดนั้น แต่ที่จะซีเรียสก็แค่ว่า ถ้าไม่มี E333 แล้ว % มันสูงไปไหม ถ้าสูงเกินกว่าที่ผมต้องการผมก็จะใช้ E333
แต่ถ้า % ใน case ในช่วงเวลานั้น มันไม่สูงกว่าที่ผมต้องการ ผมก็ไม่ได้ใช้ E333 คือ ผมไม่ได้ใช้มันตลอด ดูเป็นช่วงเวลาที่ความชื้นมันสูงเท่านั้น

อีกอันที่ผมอยากตั้งเป็นข้อคิด คือ สภาพอากาศไม่ว่า แห้งหรือชื้น ต้องดูเป็นที่ๆไปนะ ไม่ใช่ว่าทุกๆที ทุกๆจังหวัด จะเท่ากัน
คือถ้าเอาเครืองวัดไปวางไว้บ้านนาย A กับบ้านนาย B มันก็ไม่มีทางเท่ากัน

OATFUNNY

  • member
  • ***
  • กระทู้: 331
  • เพศ: ชาย
  • Love Acoustics
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2016, 04:06:16 »
น่าคิดเลยครับ แล้วถ้าหากเอาตัวเครื่องนี่ใส่ลงไปในบอดี้เลย แล้วปิด sound hole ด้วยอะไรสักอย่าง เช่นที่ปิดกันหอน ผลจะเป็นอย่างไรครับ ข้างในบอดี้กีตาร์จะมีความชื้นน้อยลงมากขึ้นไหมครับ

ballnito

  • member
  • ***
  • กระทู้: 179
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2016, 19:16:49 »
พอดีว่าของผมเอาวางไว้ตรง cutaway ได้พอดี ได้ข้อมูลอย่างไรไว้จะมาแชร์ครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 12:18:05 »
คำแนะนำจากผู้ผลิตกีตาร์โปร่งจะบอกว่า relative humidity (RH) นั้นควรจะไม่เกินระดับ 55% ในการเก็บกีตาร์ใว้ในกล่อง ลองมาดูความเป็นไปใด้สำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพฯกันก่อนครับ




จาก chart ข้างบนจะเห็นใด้ว่าความชื้นสัมพัทธ์ในกรุงเทพฯ (C) นั้นอยู่ที่ระดับ 77.2-85.5% ตลอดปีและสูงใด้ถึง 98.2% (D) ในช่วงกลางคืน
ดังนั้นถ้าจะให้ RH ลงมาอยู่ไม่เกิน 55% นั้นไม่มีทางเป็นไปใด้ตามธรรมชาตินอกจากจะมีวัสดุที่ดูดความชื้นในอากาศอย่างเช่น silica gel มาเป็นตัวช่วยครับ

Silica Gel Properties

Silica gel เป็นเมล็ดทรายที่มีความพรุนสูงและสามารถดูดซับไอน้ำในอากาศใด้มากเกือบ 40% ของนัำหนักตัวของมันจาก capillary action คุณสมบัติที่น่าทึ่งของมันก็คือมันจะดูดซับไอน้ำจนมี RH =40% แล้วก็จะหยุดเอง ถ้าอากาศโดยรอบมี RH ต่ำกว่า 40% มันก็จะคายน้ำออกมาจนกว่าความชื้นจะอยู่ที่ 40% เหมือนกัน

Silica gel ประเภทที่นิยมใช้เพื่อดูดความชื้นในการเก็บรักษานั้นจะเป็นประเภทที่เคลือบสีน้ำเงินซึ่งเมื่อดูดความชื้นจนอิ่มตัวแล้วจะกลายเป็นสีชมพูอย่างในรูป เมื่อนำไปเข้าเตาอบหรือตากแดดเพื่อไล่ความชื้นก็จะกลับมาใช้งานใด้เหมือนเดิมโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง




Silica gel สีน้ำเงินสามารถสั่งซื้อใด้ในราคากิโลละ 120-150 บาทครับ

เดี๋ยวมาต่อครับ ขอทำงานก่อน


กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 14:51:31 »
ปริมาณไอน้ำในอากาศ

ความจริงแล้ว relative humidity มันเป็นค่าเปรียบเทียบซึ่งต้องแปลงเป็นค่า absolute ก่อนจะเอามาใช้ในการคำนวณทางวิศวกรรมใด้ ปริมาณที่เราต้องการทราบก็คือปริมาณของความชื้นในอากาศรอบตัวกีตาร์ ปริมาณความชื้นของไม้ในตัวกีตาร์และปริมาณความชื้นของไม้ของกล่องกีตาร์ก่อนและหลังการลดความชื้นครับ

อากาศที่ 30 องศา C, RH =80% ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของอากาศในกรุงเทพฯจะมีไอน้ำอยู่ 30.4 gram ต่อลูกบาศเมตร (http://www.beko-technologies.com/service/online-tools/condensate-calculator/)
 
ปริมาตรภายในของกล่องกีตาร์โปร่ง = 40 ลิตร (ปริมาตรบางส่วนถูกทดแทนด้วยตัวกีตาร์แต่เราจะไม่หักออกเพราะจะถูกชดเชยด้วยน้ำที่ซึมอยู่ในตัวกีตาร์และกล่องไม้)

ดังนั้นปริมาตรไอน้ำในกล่องกีตาร์ที่ปิดสนิทโดยไม่มีการถ่ายเทอากาศจะเท่ากับ 30.4x0.04 = 1.216 กรัม = 1.216 cc.

ปริมาตรไอน้ำที่ต้องดูดออกเพื่อลด RH จาก 80%  ให้เหลือ 40% = 1.216 (40/80) = 0.608 cc หรือเท่ากับน้ำแค่สองหยดเท่านั้นครับ

ดังนั้นเวลาที่เขาส่งกีตาร์มาทางเรือเขาจึงใส่ silica gel ซองเล็กๆมาก็พอเพราะกีตาร์นั้นมีถุงพลาสติกและกล่องกระดาษหุ้มอยู่ทำให้อากาศภายนอกเข้าไปไม่ใด้




ถ้ากีตาร์ของคุณมีปัญหาเรื่องตัวบวมหรือเชื้อราก็ใช้ถุงพลาสติกครอบอย่างในรูปแลัวใส่ silica gel ลงไปซักสองสามซองก็สามารถแก้เรื่องความชื้นสะสมใด้ครับ (รูปข้างบนเป็นกีตาร์ของเพื่อนที่โดนฝนมา ผมใสถุงพร้อม silica gel ทิ้งใว้ห้าวันก็หายบวมครับ)

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 20:20:36 »
Siliga gel 100 กรัม ใช้งานใด้กี่วัน

กล่องกำจัดความชื้นแบบมีระบบไล่ความชื้นด้วยไฟฟ้านั้นตามปกติจะใส่ silica gel 100 g. ผมเห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้ว่าไม่ควรเอาไปใส่ใว้ด้านหัวกีตาร์เพราะมันจะไม่สามารถดูดความชื้นบริเวณตัวกีตาร์ด้านในใด้เต็มที่ ตำแหน่งที่ควรวางคือตำแหน่งในรูปด้านล่างครับ (ใช้เทปตีนตุ๊กแกติดใว้ด้วย)




ลองมาดูคุณสมบัติของ silica gel กันครับ



ใน figure 1 จะเห็นใด้ว่า silica gel 100 g. จะดูดไอน้ำใด้ 33 g. ก่อนที่จะต้องนำไปอบ ถ้าเป็นแบบไฟฟ้าก็ถอดออกมาเสียบปลั้ก ถ้าเป็นแบบซื้อมาใส่ถุงเองก็เอาออกมาเข้าเตาอบเล็กที่อุณหภูมิ 130 C ซักสองชั่วโมง อย่าใช้อุณหภูมิสูงเกิน 160 C เพราะสีที่เคลือบอาจละลายใด้

ในการหาคำตอบว่าใช้ใด้กี่วันนี่ต้องตั้งสมมุติฐานก่อนว่ากล่องคุณรั่วแค่ไหน ผมขอใช้ตัวเลขของที่อยู่อาศัยที่ติดแอร์ซึ่งควรมีอากาศภายนอกผ่านเข้ามาใด้ไม่ต่ำกว่า 35% ต่อชั่วโมงก็จะใด้อายุการใช้งานของ silica gel 100 g.ในรายการคำนวณด้านล่างครับ




ตัวเลข fresh air intake 35% ต่อชั่วโมงนั้นเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำนะครับ ถ้าไม่เชื่อว่ากล่องกีตาร์ของคุณมันรั่วแค่ไหนก็ลองชมคลิปนี้ครับ

<a href="http://youtu.be/rpz4OlVIHsU" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/rpz4OlVIHsU</a>


ถ้าอยากให้ silica gel ใช้งานใด้เกินหนึ่งอาทิตย์ก็ลองอุดรอยรั่วด้วยเทปโฟมตามที่เขาแนะนำในคลิป ถ้าต้องการป้องกันความชื้นอย่างจริงจังก็ต้องไปซื้อกล่องกันน้ำกันกระแทกของ SKB มาใส่ครับ ตอนนี้มีขายทั้งทรง 00, 000, D



ลองมาดูเขาทดสอบความทนทานของเคสรุ่นนี้กันครับ

<a href="http://youtu.be/3zQ8WUMETc4" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://youtu.be/3zQ8WUMETc4</a>




ballnito

  • member
  • ***
  • กระทู้: 179
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2021, 15:40:58 »
ต้องขอบคุณกระทู้นี้ และคำแนะนำของน้ากฤษณ์มาก ๆ ครับ

ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ดังนี้ครับ
- กลับไปอยู่บ้าน ที่บ้านไม่มีแอร์
- ฝนตกหนัก ทั้งสัปดาห์ แต่เอากีต้าร์ all solid วางไว้บนขาตั้งกีต้าร์ตลอด (เคลือบ poly)
- รับความชื้นเต็ม ๆ 2 สัปดาห์
- กลับมาอยู่กรุงเทพฯ (ที่ห้องมีแอร์) แต่กีต้าร์ดูดความชื้นไว้เต็มข้อ
- สังเกตจาก หนึ่ง action ที่สูงขึ้น และเล่นยากมาก ๆ สอง เสียงทึบมาก ๆ
- วิธีแก้ไข พยายามเปิดแอร์ลดความชื้น เก็บไว้ในกล่อง
- 2 - 3 วันแรก แอร์ และกล่องไม่ช่วยอะไรเลย
- วันที่ 5 จึงมาเปิดดูกระทู้เก่า ๆ ใน Acoutsticthai จนกระทั่งเจอกระทู้นี้
- ทำตามที่น้ากฤษณ์แนะนำทุกประการ ซื้อ silica gel มา 1.000 kg ซื้อถุงพลาสติกใบใหญ่มา
- แพ็ค silica gel ใส่ถุงซิปล็อคเล็ก ๆ เจาะรู จำนวน 5 ถุง โดยมี 2 ถุงที่แปะหย่อนลงไปใน soundhole
- เอาเครื่องวัดความชื้นใส่เข้าไปด้วย มัดถุงใหญ่ให้แน่น
- ความชื้นเริ่มต้นอยู่ที่ 52 ผ่านไป 2 วัน ความชื้นลดลงเหลือ 45
- ลองเอาออกมาเล่น touching ดีขึ้น เสียงดีขึ้น
- ทิ้งเอาไว้อีกวันหนึ่ง ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม

เพราะฉะนั้น อย่าล้อเล่นกับความชื้นครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2021, 23:24:45 »
ยินดีด้วยครับที่ค้นกระทู้เก่าเจอเพราะผมลืมไปแล้ว

ขอ update วิธีไล่ความชื้นสำหรับกีตาร์ที่เก็บใว้ในกล่องก่อนครับ

1. วัสดุ...ตอนนี้ร้านกีตาร์เขาเอาถุงดูดความชื้นที่ใช้ไล่ฝ้ากระจกรถยี่ห้อ Zarpax มาขายในราคา 300 บาท ถุงแแบบนี้เขาใส่ silica gel แบบไม่เคลือบ 300 กรัมและใช้ cobalt chloride paper แปะด้านหน้าเป็นตัวบอกความชื้น




พอความชื้นเต็มเขาก็แนะนำให้เอาไปอบในเตาไมโครเวฟขนาด 600W เป็นเวลา 6-8 นาทีจนเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเหมือนเดิม ถ้าไม่แน่ใจว่า 600W คืออะไรผมแนะนำให้เปิด LOW หรือ DEFROST ถุงจะใด้ไม่ร้อนเกินไปและลองเช็คดูทุก 5 นาทีจนกว่ามันจะเปลี่ยนสี




ถุงแบบนี้พี่จีนขายถูกกว่าเยอะ




สำหรับผมแล้วผมต้องการถุงหลายขนาดสำหรับยัดตามช่องว่างในกล่องกีตาร์ผมก็เลยซื้อ silica gel แบบเปลี่ยนสีถุงใหญ่มาใช้




แล้วเอามาใส่ในถุงเท้าเก่าที่ตัดช่องมองแปะกระจกพลาสติกใส (จากกล่องอาหาร) ตามขนาดที่ต้องการ ถ้าใช้ 500 กรัมก็อยู่ใด้เป็นเดือนครับ




ส่วนกีตาร์ที่บวมน้ำนั้นผมใช้วิธีนี้

1. เอาถุงเท้าใส่ silica gel วางใว้ใน sound hole และใต้หัวกีตาร์ก่อนจะปิดกล่อง




2. เอาถุงพลาสติกหุ้มกล่องและใช้เครื่องดูดฝุนดูดอากาศออกจากถุง ม้วนปากถุงและปิดด้วยกิ๊บหนีบผ้า




ที่เหลือก็ทำตามน้า ballinto ครับ

หมายเหตุ...ผมไม่เคยใช้เตาไมโครเวฟไล่ความชื้นนะครับ เวลาจะไล่ความชื้นผมก็เทเม็ด silica gel ออกจากถุงเท้าแล้วใช้เตาอบไฟฟ้า พอกลับเป็นสีฟ้าก็เทใส่ถุงเท้าใหม่






ballnito

  • member
  • ***
  • กระทู้: 179
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2021, 14:23:22 »
ของอย่างนี้ต้องมีบทเรียนจริง ๆ ครับ

- ล่าสุดเอา hard case ทิ้งไว้ในรถ 3 วัน
- รถก็ตากฝนตกหนักตลอดทั้ง 3 วัน
- ส่วนกีต้าร์ก็เอาใส่ใน gig bag เก็บไว้ในห้องแอร์อย่างดี
- พอวันที่ 4 นำ hard case ขึ้นมาไว้ในห้องแอร์
- แล้วจึงนำกีต้าร์เข้าไปเก็บใน hard case
- วันที่ 5 นำหยิบกีต้าร์ขึ้นมาเล่น ... รู้เรื่อง เสียงทึบมาก

เคสที่มีความชื้นอยู่ก็ไม่ควรเอากีต้าร์ไปใส่ครับ
เดี๋ยวก็คงจะต้องมัดเคสใส่ถุง ใส่ซิลิกาเจล ไล่ความชื้น ตามเคยครับ

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2021, 15:56:46 »
ถ้าเคสชื้นควรใช้เครื่องเป่าผมเป่าด้านใน เปิดแรงสุดแต่อย่าเป่าใกล้มากจนกาวละลายนะครับ

เปิดเคสใว้ในห้องแอร์ซักสองสามวันก่อนจะเอากีตาร์ไปใส่จะใด้ไม่มีปัญหากลิ่นอับชื้นจากเชื้อรา

ballnito

  • member
  • ***
  • กระทู้: 179
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2021, 11:38:39 »
ขอบคุณคำแนะนำจากน้ากฤษณ์เช่นเคยครับ
ล่าสุดผมซื้อเตาอบไฟฟ้าตามที่น้ากฤษณ์แนะนำ ใช้อบซิลิก้าเจลได้ดีเลยครับ

ปกติน้าอบกี่นาทีครับ?
(ผมใช้ 125 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ซิลิก้าเจลก็เปลี่ยนเป็นสีฟ้าหมดจดครับ)

อีกอย่างหนึ่ง ผมจดน้ำหนักก่อน และหลังอบคราว ๆ ดังนี้ครับ
ก่อนอบ (ซิลิก้าเจลเป็นสีชมพู) = 305 g
หลังอบ (ซิลิก้าเจลเป็นสีน้ำเงิน) = 247 g
น้ำหนักหายไป = 58 g

กฤษณ์

  • member
  • ***
  • กระทู้: 4,166
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2021, 14:34:22 »
ปัญหาใหญ่ของการไล่ความชื้นออกจากถุงซีลิกาเจลคือเรื่องของความร้อนที่ใช้ การเอาไปตากแดดหรืออบไมโครเวฟนั้นเราไม่สามารถจะควบคุมอุณหภูมิใด้ ความร้อนนั้นไม่มีผลอะไรกับตัวซีลิกาเจลเพราะมันก็คือเม็ดทรายแต่มีผลกับวัสดุที่เคลือบคือ cobalt chloride ที่จะเสื่อมสภาพถ้าเจอความร้อนสูง

ตามปกติสำหรับ silica gel 300 กรัมผมใช้เวลาอบไม่เกิน 1 ขั่วโมงที่ความร้อน 105-110 องศา C ครับ

Tonies

  • member
  • ***
  • กระทู้: 205
Re: ว่าด้วยเรื่อง Review GW E333 dehumidifier ของทางทีมงาน Acousticthai
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2021, 11:10:57 »
จากเคยได้อ่านกระทู้นี้ ทำให้ผมยอมลงทุนไปซื้อเครื่องอบมาเหมือนกันครับ ;)