Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากถามน้าๆครับว่าเสียงกลางคือเสียงยังไงครับ  (อ่าน 10818 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

cascaras

  • member
  • ***
  • กระทู้: 73

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
เสียงกลางของอะไรล๊ะครับ
ถ้าเสียงกลางของคนก็คือ เสียงพูด
ถ้าเสียงกลางของเพลง ก้  คือ เสียงนักร้อง 
เรา วัดกันที่ความถี่ที่มีหน่วยเป็น hz
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน แล้ววัดออกมา ว่า ใน หนึ่ง วินาที มันสั่นกี่ครั้ง
เอามาให้ดูล๊ะกันครับ


ช่วงการตอบสนองความถี่ก็แบ่งคร่าวๆกัน 4 ช่วง แต่กราฟนี้จะแยกให้ละเอียดขึ้นไปอีก แบบว่า 8 ช่วงไปเลย ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดนะครับ

ช่วงที่ 1 เรียกว่าย่านเบสลึก ประมาณ 20-40 ช่วงนี้จะไม่ได้ยิน แต่จะได้ความรู้สึก แบบว่าสั่นสะท้านไปทั้งคัน

ช่วงที่ 2 เรียกว่าย่านพลังเบสแล้วกัน ประมาณ 40-100 ช่วงนี้จะเป็นช่วงเสียงเบสที่มีความรู้สึกกระแทกๆ เช่น เสียงกลองจากใบที่ใหญ่ที่สุด ที่ใช้เท้าเหยียบ เสียงกระแทกจุกอกก็ช่วงนี้แหละครับ

ช่วงที่ 3 เรียกว่าย่านเบสปกติ ประมาณ 100-200 เช่นพวกกีต้าร์เบสเส้นกลางๆ (ถ้าเป็นสายเส้นใหญ่ อาจจะลงไปถึงช่วงพลังเบส หรือปลายๆเบสลึกได้เลย) ถ้าช่วงนี้ขาดไปแบบว่าน้อยไป เราก็จะรู้สึกว่าขาดเสียงเบส แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะทำให้เสียงโดยรวมฟังดูทึบๆได้ ที่เราฟังเพลงแล้วบอกว่าเสียงกลางน้อยไป จริงๆอาจจะไม่ใช่นะครับ อาจจะเป็นที่ช่วงนี้มากเกินไป แล้วไปกลบเสียงกลาง

ช่วงที่ 4 เรียกว่าย่านเนื้อเสียงแล้วกัน ประมาณ 200-800 ย่านนี้จะครอบคลุมถึงเสียงร้องย่านต่ำๆ เช่นเสียงผู้ชายต่ำๆ ถ้าช่วงนี้มีมากกำลังดี จะช่วงเรื่องความอุ่นของเสียง Warmth sound ถ้ามากไปเสียงรวมๆก็จะไม่เคลียร์เท่าที่ควร ถ้าน้อยไปก็จะขาดเนื้อเสียง

ช่วงที่ 5 เรียกว่าย่านเสียงกลางหลักแล้วกัน ประมาณ 800-2,000 ย่านนี้มีเครื่องดนตรีหลายชนิด รวมไปถึงเสียงร้องหลักๆ ถ้าขาดย่านนี้ไป เสียงจะเบาบาง บี้แบน แต่ถ้ามากเกินไป มันจะดังหนวกหู

ช่วงที่ 6 เรียกว่าย่านเสียงกลางสูงแล้วกัน ประมาณ 2,000-5,000 ย่านนี้จะมีเสียงเครื่องเป่า พวกกีต้าร์สายเส้นเล็ก ถ้าย่านนี้มากเกินไป ฟังนานๆหูจะล้า แต่ถ้ามากเกินไปเยอะจะแสบหูเลย

ช่วงที่ 7 เรียกว่าย่านเสียงแหลม ประมาณ 5,000-10,000 ย่านนี้ผมเรียกว่าย่านเนื้อเสียงแหลมแล้วกัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะทองเหลือง (เหล็ก) ทั้งหลาย ถ้าช่วงนี้หายไป เสียงจะดูทึบๆ แต่ถ้ามากเกินไปเสียงเครื่องเคาะประเภทนี้จะฟังดูพุ่งเกินจริง

ช่วงที่ 8 เรียกกว่าย่านปลายแหลม ประมาณ 10,000-20,000 ย่านนี้จะมีเสียงฉาบอยู่ด้วย แล้วจริงๆย่านนี้จะไม่ค่อยมีเสียงหลักของเครื่องดนตรีอะไร แต่ว่ามันจะเป็นลักษณะของบรรยากาศมากกว่า ถ้าขาดย่านนี้ไป อาจจะฟังดูเสียงเครื่องดนตรีครบอยู่ ฟังดูเผินๆอาจจะเหมือนย่านนี้ไม่สำคัญ แต่จริงๆผมว่าสำคัญไม่น้อยเลย ถ้าขาดย่านนี้ เสียงจะไม่มีความไพเราะ ขาดบรรยากาศที่น่าฟัง

การปรับเสียงต้องคำนึงถึงความกลมกลืนของเสียง ไม่ควรจะมีย่านใดเด่นเกินย่านใด สมมุติว่าคันนี้เสียงเบสน้อย เพราะไม่มีซับ เราก็ไม่ควรเร่งแหลมให้มากเกินไป เพราะจะไม่กลมกลืน แต่ถ้ามีซับ แล้วเร่งซับเยอะๆ เราก็สามารถเร่งแหลมขึ้นไปได้ เสียงก็จะฟังมันส์แล้วกลมกลืนมากกว่า

ก็คล้ายๆกับการปรุงอาหาร ถ้าปรุงจืด ก็ต้องให้จืด ไม่มีหวานนำ ไม่มีเค็มนำ ไม่มีเปรี้ยวนำ ไม่มีเผ็ดนำ แต่ถ้าเราปรุงให้เปรี้ยวนำอย่างเดียว รสอาหารก็ไม่กลมกลืน ไม่อร่อย แต่ถ้าเราปรุงให้หวาน เค็ม เปรียว เผ็ด มันก็จะรสจัดแต่กลมกลืน


ย่านเสียงของเครื่องดนตรี



การหัดฟังเพื่อจับใจความคุณภาพของเสียงจากระบบเสียง ที่ถูกต้องเราควรจะได้ทราบถึงย่านเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ที่นำมาประกอบขึ้นเป็นเสียงเพลง เพื่อใช้เป็นแนวทางของการวิเคราะห์อย่างตรงจุดมากที่สุด

ประเภทของเสียงร้อง

เสียงร้องประเภท Bass (เสียงร้องในระดับต่ำของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 70 Hz – 380 Hz และมีความถี่รอง(หางเสียง) จาก 380 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Baritone (เสียงร้องระหว่างต่ำกับสูงของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 90 Hz – 400 Hz และมีความถี่รองจาก 400 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Tenor (เสียงร้องระดับสุงสุดของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 130 Hz – 500 Hz และมีความถี่รองจาก 500 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Alto (เสียงร้องระดับต่ำสุดของผู้หญิง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 160 Hz – 950 Hz และมีความถี่รองจาก 950 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Soprano (เสียงร้องระดับสูงของผู้หญิง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 210 Hz – 1.2 kHz และมีความถี่รองจาก 1.2 kHz – 10 kHz

ประเภทเครื่องดนตรีแบบดีด/สี/ตี

เสียงเครื่องเล่น Bass Viola (เบสชนิดสีตัวใหญ่ทำจากไม้หรือเสียงหนังที่ตีด้วยหัวยาง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 30 Hz – 210 Hz และมีความถี่รองจาก 210 Hz – 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Cello (เครื่องสีขนาดใหญ่) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 50 Hz – 650 Hz และมีความถี่รองจาก 650 Hz – 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Viola (เครื่องสีขนาดกลาง หรือเสียงกีต้าร์โปร่ง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 130 Hz – 1.2 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.2 kHz – 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Violin (เครื่องสีขนาดเล็ก) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 180 Hz – 4 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 4 kHz – 15 kHz

ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดเป่า

เสียงเครื่องเล่น Basstuba (เครื่องเป่าขนาดใหญ่หรือเครื่องหนังที่ตีด้วยไม้) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 40 Hz – 380 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 380 Hz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Bassoon (เครื่องเป่าชนิดยาว) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 45 Hz – 500 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 500 Hz – 10 kHz
เสียงเครื่องเล่น BassClarinet (เครื่องเป่าขนาดกลาง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 80 Hz – 500 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 500 Hz – 10 kHz

เสียงเครื่องเล่น French Horn (เครื่องเป่าปากแตรกว้าง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 120 Hz – 800 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 800 Hz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Trumpet (เครื่องเป่าปากแตรทองเหลือง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 140 Hz – 850 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 850 Hz – 9 kHz

เสียงเครื่องเล่น Clarinet (เครื่องเป่าชนิดเล็ก) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 160 Hz – 1.6 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.6 kHz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Oboe (เครื่องเป่าเสียงแหลม) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 240 Hz – 1.6 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.6 kHz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Flute (เครื่องเป่าผิวทำด้วยโลหะ) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 240 Hz – 2.2 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 2.2 kHz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Piccolo (เครื่องเป่าขลุ่ยผิว) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 500 Hz – 7 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 7 kHz – 16 kHz

ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดเคาะ

เสียงเครื่องเล่น Piano (แกรนด์เปียโน) มีช่วงความถี่หลักตั้งแต่ 25 Hz – 7 kHz

หมายเหตุ: จะสังเกตุเห็นได้ว่าแต่ละชิ้นเครื่องดนตรีจะมีความถี่หลัก/ความถี่รอง ดังนั้นย่านเสียงที่สัมพันธ์กันตลอดย่านการตอบสนองความถี่เสียง การปรับเพื่อเน้นเสียงดนตรีชิ้นหนึ่งชิ้นใดเป็นพิเศษ ก็อาจมีผลกระทบกับเสียงของดนตรีชิ้นอื่นๆได้เช่นกัน
 


ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

tatsanai

  • member
  • ***
  • กระทู้: 131
ได้ความรู้ ลึกดีจริงเลยครับ
ได้ประโยชน์มากมาย :)

CHEDTHA

  • member
  • ***
  • กระทู้: 99
  • เพศ: ชาย
น้าREDTUPUPนี่ของจริงเลยครับ...

Crucify

  • member
  • ***
  • กระทู้: 359
  • เพศ: ชาย
น้า Redtopup นี่ต้องเป็น Sound Engineer ที่จบมาจากสิงคโปร์แน่ ๆ อิอิ

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
มะใช่ครับ
อันบนเขียนเอง
อันล่างไปลอกเขามาให้ดูครับ  อย่าคิดผิดครับ  ลอกเขามาทั้งนั้นเลยครับ
เดี่ยวไปหาลิงค์ก่อนครับ 
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

TKCN

  • member
  • ***
  • กระทู้: 673
จบเอกดนตรีมารึเปล่าครับเนี่ย ^^

FOTOBEER

  • member
  • ***
  • กระทู้: 5,404
  • เพศ: ชาย
  • fotobeer2516แอ๊ดgmail.com
น้า Redtopup นี่ต้องเป็น Sound Engineer ที่จบมาจากสิงคโปร์แน่ ๆ อิอิ

+10

น้าตั้ม มูเก้น

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,276
  • www.mugenguitarshop.com
    • www.mugenguitarshop.com
เสียงกลางของอะไรล๊ะครับ
ถ้าเสียงกลางของคนก็คือ เสียงพูด
ถ้าเสียงกลางของเพลง ก้  คือ เสียงนักร้อง 
เรา วัดกันที่ความถี่ที่มีหน่วยเป็น hz
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน แล้ววัดออกมา ว่า ใน หนึ่ง วินาที มันสั่นกี่ครั้ง
เอามาให้ดูล๊ะกันครับ


ช่วงการตอบสนองความถี่ก็แบ่งคร่าวๆกัน 4 ช่วง แต่กราฟนี้จะแยกให้ละเอียดขึ้นไปอีก แบบว่า 8 ช่วงไปเลย ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดนะครับ

ช่วงที่ 1 เรียกว่าย่านเบสลึก ประมาณ 20-40 ช่วงนี้จะไม่ได้ยิน แต่จะได้ความรู้สึก แบบว่าสั่นสะท้านไปทั้งคัน

ช่วงที่ 2 เรียกว่าย่านพลังเบสแล้วกัน ประมาณ 40-100 ช่วงนี้จะเป็นช่วงเสียงเบสที่มีความรู้สึกกระแทกๆ เช่น เสียงกลองจากใบที่ใหญ่ที่สุด ที่ใช้เท้าเหยียบ เสียงกระแทกจุกอกก็ช่วงนี้แหละครับ

ช่วงที่ 3 เรียกว่าย่านเบสปกติ ประมาณ 100-200 เช่นพวกกีต้าร์เบสเส้นกลางๆ (ถ้าเป็นสายเส้นใหญ่ อาจจะลงไปถึงช่วงพลังเบส หรือปลายๆเบสลึกได้เลย) ถ้าช่วงนี้ขาดไปแบบว่าน้อยไป เราก็จะรู้สึกว่าขาดเสียงเบส แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะทำให้เสียงโดยรวมฟังดูทึบๆได้ ที่เราฟังเพลงแล้วบอกว่าเสียงกลางน้อยไป ��ริงๆอาจจะไม่ใช่นะครับ อาจจะ��ป็นที่ช่วงนี้มากเกินไป แล้วไปกลบเสียงกลาง

ช่วงที่ 4 เรียกว่าย่านเนื้อเสียงแล้วกัน ประมาณ 200-800 ย่านนี้จะครอบคลุมถึงเสียงร้องย่านต่ำๆ เช่นเสียงผู้ชายต่ำๆ ถ้าช่วงนี้มีมากกำลังดี จะช่วงเรื่องความอุ่นของเสียง Warmth sound ถ้ามากไปเสียงรวมๆก็จะไม่เคลียร์เท่าที่ควร ถ้าน้อยไปก็จะขาดเนื้อเสียง

ช่วงที่ 5 เรียกว่าย่านเสียงกลางหลักแล้วกัน ประมาณ 800-2,000 ย่านนี้มีเครื่องดนตรีหลายชนิด รวมไปถึงเสียงร้องหลักๆ ถ้าขาดย่านนี้ไป เสียงจะเบาบาง บี้แบน แต่ถ้ามากเกินไป มันจะดังหนวกหู

ช่วงที่ 6 เรียกว่าย่านเสียงกลางสูงแล้วกัน ประมาณ 2,000-5,000 ย่านนี้จะมีเสียงเครื่องเป่า พวกกีต้าร์สายเส้นเล็ก ถ้าย่านนี้มากเกินไป ฟังนานๆหูจะล้า แต่ถ้ามากเกินไปเยอะจะแสบหูเลย

ช่วงที่ 7 เรียกว่าย่านเสียงแหลม ประมาณ 5,000-10,000 ย่านนี้ผมเรียกว่าย่านเนื้อเสียงแหลมแล้วกัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะทองเหลือง (เหล็ก) ทั้งหลาย ถ้าช่วงนี้หายไป เสียงจะดูทึบๆ แต่ถ้ามากเกินไปเสียงเครื่องเคาะประเภทนี้จะฟังดูพุ่งเกินจริง

ช่วงที่ 8 เรียกกว่าย่านปลายแหลม ประมาณ 10,000-20,000 ย่านนี้จะมีเสียงฉาบอยู่ด้วย แล้วจริงๆย่านนี้จะไม่ค่อยมีเสียงหลักของเครื่องดนตรีอะไร แต่ว่ามันจะเป็นลักษณะของบรรยากาศมากกว่า ถ้าขาดย่านนี้ไป อาจจะฟังดูเสียงเครื่องดนตรีครบอยู่ ฟังดูเผินๆอาจจะเหมือนย่านนี้ไม่สำคัญ แต่จริงๆผมว่าสำคัญไม่น้อยเลย ถ้าขาดย่านนี้ เสียงจะไม่มีความไพเราะ ขาดบรรยากาศที่น่าฟัง

การปรับเสียงต้องคำนึงถึงความกลมกลืนของเสียง ไม่ควรจะมีย่านใดเด่นเกินย่านใด สมมุติว่าคันนี้เสียงเบสน้อย เพราะไม่มีซับ เราก็ไม่ควรเร่งแหลมให้มากเกินไป เพราะจะไม่กลมกลืน แต่ถ้ามีซับ แล้วเร่งซับเยอะๆ เราก็สามารถเร่งแหลมขึ้นไปได้ เสียงก็จะฟังมันส์แล้วกลมกลืนมากกว่า

ก็คล้ายๆกับการปรุงอาหาร ถ้าปรุงจืด ก็ต้องให้จืด ไม่มีหวานนำ ไม่มีเค็มนำ ไม่มีเปรี้ยวนำ ไม่มีเผ็ดนำ แต่ถ้าเราปรุงให้เปรี้ยวนำอย่างเดียว รสอาหารก็ไม่กลมกลืน ไม่อร่อย แต่ถ้าเราปรุงให้หวาน เค็ม เปรียว เผ็ด มันก็จะรสจัดแต่กลมกลืน


ย่านเสียงของเครื่องดนตรี



การหัดฟังเพื่อจับใจความคุณภาพของเสียงจากระบบเสียง ที่ถูกต้องเราควรจะได้ทราบถึงย่านเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ที่นำมาประกอบขึ้นเป็นเสียงเพลง เพื่อใช้เป็นแนวทางของการวิเคราะห์อย่างตรงจุดมากที่สุด

ประเภทของเสียงร้อง

เสียงร้องประเภท Bass (เสียงร้องในระดับต่ำของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 70 Hz – 380 Hz และมีความถี่รอง(หางเสียง) จาก 380 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Baritone (เสียงร้องระหว่างต่ำกับสูงของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 90 Hz – 400 Hz และมีความถี่รองจาก 400 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Tenor (เสียงร้องระดับสุงสุดของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 130 Hz – 500 Hz และมีความถี่รองจาก 500 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Alto (เสียงร้องระดับต่ำสุดของผู้หญิง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 160 Hz – 950 Hz และมีความถี่รองจาก 950 Hz – 10 kHz

เสียงร้องประเภท Soprano (เสียงร้องระดับสูงของผู้หญิง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 210 Hz – 1.2 kHz และมีความถี่รองจาก 1.2 kHz – 10 kHz

ประเภทเครื่องดนตรีแบบดีด/สี/ตี

เสียงเครื่องเล่น Bass Viola (เบสชนิดสีตัวใหญ่ทำจากไม้หรือเสียงหนังที่ตีด้วยหัวยาง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 30 Hz – 210 Hz และมีความถี่รองจาก 210 Hz – 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Cello (เครื่องสีขนาดใหญ่) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 50 Hz – 650 Hz และมีความถี่รองจาก 650 Hz – 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Viola (เครื่องสีขนาดกลาง หรือเสียงกีต้าร์โปร่ง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 130 Hz – 1.2 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.2 kHz – 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Violin (เครื่องสีขนาดเล็ก) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 180 Hz – 4 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 4 kHz – 15 kHz

ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดเป่า

เสียงเครื่องเล่น Basstuba (เครื่องเป่าขนาดใหญ่หรือเครื่องหนังที่ตีด้วยไม้) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 40 Hz – 380 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 380 Hz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Bassoon (เครื่องเป่าชนิดยาว) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 45 Hz – 500 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 500 Hz – 10 kHz
เสียงเครื่องเล่น BassClarinet (เครื่องเป่าขนาดกลาง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 80 Hz – 500 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 500 Hz – 10 kHz

เสียงเครื่องเล่น French Horn (เครื่องเป่าปากแตรกว้าง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 120 Hz – 800 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 800 Hz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Trumpet (เครื่องเป่าปากแตรทองเหลือง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 140 Hz – 850 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 850 Hz – 9 kHz

เสียงเครื่องเล่น Clarinet (เครื่องเป่าชนิดเล็ก) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 160 Hz – 1.6 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.6 kHz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Oboe (เครื่องเป่าเสียงแหลม) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 240 Hz – 1.6 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.6 kHz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Flute (เครื่องเป่าผิวทำด้วยโลหะ) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 240 Hz – 2.2 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 2.2 kHz – 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Piccolo (เครื่องเป่าขลุ่ยผิว) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 500 Hz – 7 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 7 kHz – 16 kHz

ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดเคาะ

เสียงเครื่องเล่น Piano (แกรนด์เปียโน) มีช่วงความถี่หลักตั้งแต่ 25 Hz – 7 kHz

หมายเหตุ: จะสังเกตุเห็นได้ว่าแต่ละชิ้นเครื่องดนตรีจะมีความถี่หลัก/ความถี่รอง ดังนั้นย่านเสียงที่สัมพันธ์กันตลอดย่านการตอบสนองความถี่เสียง การปรับเพื่อเน้นเสียงดนตรีชิ้นหนึ่งชิ้นใดเป็นพิเศษ ก็อาจมีผลกระทบกับเสียงของดนตรีชิ้นอื่นๆได้เช่นกัน
 



จัดเต็มละเอียดยิบครับ
MUGEN_guitar_SHOP

P'za

  • member
  • ***
  • กระทู้: 82
  • เพศ: ชาย
ผมหละชอบมากมายเลย...คำตอบแบบนี้ น้า...
"fake plastic trees"

น้าต่อ.....

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,194
  • กีต้าร์ 3 ลูก 2 เมีย 1
มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ.........ขอบคุณครับ...........

Carboy

  • member
  • ***
  • กระทู้: 420
+10  ยอดเยี่ยมครับ

ยินยอม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,817
  • เพศ: ชาย
  • กีตาร์ดีอยู่ที่คนเล่น
เสียงกลางตามน้าแดงเติมเิงินครับ
ส่วนผมรู้จักแต่เสียงอีสาน

:)

Bukjay

  • member
  • ***
  • กระทู้: 176
55555 เจอมุขน้ายินยอมถึงกับหงายเงิบ ชอบมากค่ะคณะนี้ โดยเฉพาะคำมอด พรขุนเดช

ยินยอม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,817
  • เพศ: ชาย
  • กีตาร์ดีอยู่ที่คนเล่น
วงนี้ต้องซื้อแผ่นจริงด้วยครับ มีแช่งทุกอัลบั้ม 555+
:)