Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้ Rosewood  (อ่าน 9798 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nhoy

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,179
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 00:16:27 »
บอกตรงๆอย่างไม่อายเลยครับน้า
ผมไม่เคยได้เล่นกีต้าร์สายเหล๊ก เลยครับน้า
แต่ก่อนผมเคยเอากีต้าร์ของพี่ชายผมยี่ห้อ  epi  พี่ชายซื้อมาจากหลังกระทรวงมา 
เมื่อ ยี่สิบปีที่แล้ว ตอนผม อายุ   18  ปี  แล้วผมก็ไม่ได้เล่นตีคอรท์อีกเลย
แล้วพออายุยี่สิบ กว่า ผมก็มา เรียนกีต้าร์คลาสสิค 
ผม ยังไม่ค่อยรู้เลยว่า เสียงของกีต้าร์แพงๆเสียงมันเป็นยังไง 
ได้แต่อ่านๆ ตามที่ น้าๆบอกว่า มาติน เบสดี  เทเล่อ กรุ๊งกริ๊ง 
ส่วนตัวผมๆว่า ไม่รู้ผมเข้าใจถูกรึเปล่าว่า ทรง คัทอเว  มันเป็น แบบ ชายเว้าๆเพื่อ ให้เวลาเล่นเข้าไปในช่องที่เกิน ช่อง ที่ 14 แล้วทำให้จับสายได้ง่ายเพราะ  ไม่ต้องโก่งนิ้ว
ถ้า ผมเข้าใจรูปทรงของกีต้าร์ ตามที่ผมเข้าใจ  ว่า ทรงมันเป็นแบบ ชายเว้า ถูกต้อง ที่มีรูปทรง 2 แบบ คือแบบ  Venetian โค้งมน กับ Florentine โค้งแหลม
คือ กีต้าร์ชาเว้า แต่ให้เสียง หนักแน่น แบบ มาติน
ผม เค้าไปดูในเว็บต่างประเทศมา
ผมเห็น มาติน มันมีเปลี่ยน โครงภายใน  ตั้ง หลายยุค 


ส่วยตัวผมๆว่า ใช้ไม้อะไรผมก็ว่าไม่มีทางได้เสียง แบบ หนักแน่นได้ เท่ากีต้าร์ทรงปกติ แบบ om
ผมว่า คนเรา หลีกหนี เพื่อ แก้ ปัญหาอีก ทาง มันก็ต้องเสียอะไรไปอีก อย่างๆ
ผมว่า เรื่องรูปทรงของกีต้าร์นั้นมีผลต่อเสียงมาก อันนี้ตามความเข้าใจของผม
ผม ประมาณเอาว่า กีต้าร์ที่ต้อทำรูปร่างเป็น กลมๆ โค้งๆ นั้น
ผมว่า คนโบราณ  คงจะลองทำ แบบ รูปแบบ สี่เหลี่ยมออกมาแล้ว  แต่ เสียง ไม่กังวานเท่ากับ รูปทรงโค้ง

สมุติฐานของผม  ผมได้มาจาก  ผมไป ยืน ซื้อ ไอครีม รถเข็น แล้ว ผมไป บอกคนขายว่า  ใส่ ถั่วมากๆ  ส่ายนมเยอะๆ 
ผมได้ยิน เสียงสะท้อน ได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว ที่  ร่ม โค้งที่บังเเดดอยู่จุดบนสุด  เสียงมันสะท้อนชัดเจนมาก แม้พูดเพียงค่อยๆ
ผมเลย สมมุติฐาน ตามความเชื่อ ของผมต่อไปว่า 
กีต้าร์ทำเป็น รูป โค้งนั้น ปัจจัยหลักคือ ต้องการให้มีเสียงสะท้อน ภานใน แล้ว ค่อยๆ หาทางออกมาที่โพรงกีต้าร์
ซึ่งผมว่าถ้าเสียงสะท้อน มากเกินพอดี ก็ ไม่ดีอีก มันจะต้องมีเสียงหลักที่คอยส่งและควบคุมให้ก่อน
ซึ่งผมคิดว่า ก็ คือ โครงภายในคือ เสียงหลัก  ที่ทำหน้าที่  หยุด และ ส่ง การสั่นสะเทือน  และ หรือ ค่อยๆ ส่ง
จากเหตุ ผลดังกล่าว ผมประเมินต่อไปว่า  กีต้าร์ทรงชายเว้า จะต้องสูญเสีย  พื้นที่ ส่วนโค้งออกไป  จริงๆมันก็โค้ง แต่ ดัน เป็น โค้งแคบๆ  และมีติ่ง อีกตะหาก
ซึ่งผมว่า ไอ้เจ้าโค้งแคบๆนี่แหละ มันเป็นตัวกัก การสะท่อน เอาไว้  เหมือน ร่องไม้ ในห้องเครื่องเสียง ที่ปะเอาไว้ตามฝาผนังห้อง
 การกำจัดเสียงก้องนั้น ทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่  การกักเก็บ พลังงานคือ ให้เสียงเข้ามาแล้ว ออกไม่ได้ โดยวัสดุ อาจเป็น ไม้เจาะ รูให้เสียงเข้าทางเดียว รูเข้าใหญ่แต่ รูออกเล้ก
หรือ การสลายพลังงานแบบ ให้คลื่นเสียง ได้เดินทางไปให้ มันไม่มารวมในจุดเดียวกัน แบบ ไม้เซาะร่อง หรือ กระดาษใส่ไข่ไก่  คือ ให้พลังงาน สลายออกไปแบบไม่มีทิศทางให้มันค่อยๆอ่อนตัวลงเอง

ผมก็เข้าข่ายมั่วๆตามความเข้าใจของผมอีกเหมือนกัน  ผมว่า  ชายเว้านี่แหละ ที่ ทำให้ กีต้าร์ทรงนี้ มีขาด ความหนักแน่ ลงไปอย่างมากๆด้วย 
เพราะ  ด้วยรูปทรงที่ ไม่ค่อยสะท้อนเสียง  ของมันนั่งเอง ผมว่า พอคลื่นเสียงมันสะท้อนไปๆมา ภายในกีต้าร์ พอมันมา เจอ ตรงซอกชายเว้านี่แหละ มันหักเห การสะท้อน ภายในออกไปหมดเลย 
ผมว่า เสียงหลัก จากการสั่นสะเทือนมันต้องเสริมกับ เสียงที่สั่งสะเทือนไปแล้วด้วย
เหมือน อย่างในแตร รถยนต์ไฟฟ้า ที่ เป็น แบบ คู่ที่เสียงดังๆ   ถ้าข้างนึงเสีย เสียงไม่ได้ ดร๊อปลงครึ่งหนึ่ง  ตาม  ตรกกรวิทยา  แต่ เสียงมันค่อยลงมากๆจริงๆ
ผมเคยอ่าน หนังสือ ด้วยว่า คลื่น เสียง ในขนาด ความถี่ต่างๆ จะก่อตัวได้  จะต้องมีระยะทางด้วย 
ด้วยรูปทรงที่พัฒณามา ผมว่า เค้า มีแบบ โครงภายในที่สัมพันธ์กัน กับ ขนาด ความกว้างและโค้งของกีต้าร์ อยู่แล้ว 
แม้ มนุษย์ ชอบ ที่ จะ เอา หลัก เกณฑ์ ต่างๆ มาแหก กฎ เกณฑ ทางของธรรมชาติต่างๆ ได้
ผมว่า ก็ต้องมีการ สะสมกันไป 
ทุกวันนี้ มนุษย์ เรา ชอบที่จะแบบว่า  เอาชนะกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยเอา หลัก การ ของอีกแขนงมา แก้ไข
ไปทางตรงไม่ได้ ก็ ขุดอุโมงลอด  ขุดอุโมงไม่ได้ ก็ ปีน กระได
จุดหมายปลายทาง ถึง เหมือนกัน แต่ ผมว่า ลีลาต่างกัน
บอกว่า  เมื่อ หนึ่่ง เท่ากับ สอง
สอง เท่ากับ สาม
ดังนั้น หนึ่ง ต้องเท่ากับ สามด้วย 
ผมว่า  ทุกวันนี้ เทคโนโลยี่ไม่ไปถึงไหน เป็น ไอเดีย เก่าๆทั้งนั้น ที่ มาขยายความใหม่ 
แต่ก็ไม่มีทางเอาชนะกฎของธรรมชาติได้ เลยจริงๆครับ
ผม มีความเห็น ดังที่กล่าวมานี่แหละครับน้า
ผมว่า ต่อให้ใช้ไม้  เก็บ มาหมื่น ปี  เปลี่ยน รูปแบบโครงยังไงก็ ไม่มีทางเสียงใก้ลเคียงเลยครับ
อันนี้ ผมสมมุติฐานของผมเองคนเดียวจริงๆครับ
เป็นความเห็นที่น่าคิด และเป็นประโยชน์มากครับ
ขอบคุณน้า redtopup ด้วยครับ

Traveler

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,407
  • เพศ: ชาย
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 00:20:09 »
โอเคครับเรียกน้าเหมือนเดิมก็ได้ คือเรื่องทั้งเรื่องใครให้ความรู้ผม ผมจะเหมาให้เป็นอาจารย์ผมหมดเลยครับ เหมือนกันครับกับน้ากวางหากไม่ใช่เพราะเจอะเจอและคุ้นเคยกันแล้วผมจะเรียกเป็นอาจารย์เหมือนกัน อิอิ

พี่หน่อยนอนดึกจัง

nhoy

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,179
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 00:31:59 »
สวัสดีครับน้า Traveler สบายดีนะครับ
ผมขอให้น้า Traveler ได้กีต้าร์ในลักษณะและสำเนียงของ D-45 เร็วๆ ด้วยนะครับ

payu

  • member
  • ***
  • กระทู้: 23
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 01:04:21 »
ชอบกะทู้สาระครับ

ยินยอม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,817
  • เพศ: ชาย
  • กีตาร์ดีอยู่ที่คนเล่น
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 01:04:47 »
Slothead + Vintage tuner ด้วยใช่ไหมครับ
:)

ยินยอม

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,817
  • เพศ: ชาย
  • กีตาร์ดีอยู่ที่คนเล่น
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 01:05:48 »
ผมคิดเหมือนน้าเรดเลยครับ สำหรับกีตาร์คัทอะเวย์
:)

โก้ - Aromild

  • member
  • ***
  • กระทู้: 1,480
  • เพศ: ชาย
  • Aromild ดนตรีที่มีกลิ่นหอมละมุน...
    • Facebook
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 05:09:50 »
ไม้บลาซิลเลี่ยน เป็นเครื่องชี้วัด ความเข้าใจผิดของคนไทยได้อย่างนึงครับ
คือ เรื่องความชื้นในเนื้อไม้ มีหลายๆท่าน ที่เชื่อว่า ไม้ ที่จะสามารถนำมาทำกีตาร์ได้ นั้นต้อง แห้งมากๆ(ในการอบ)
และเมื่อ ทำเป็นกีตาร์แล้ว ก็ต้องเก็บไว้ในที่ ที่มีความชื้นน้อยๆอีก ซึ่งมันไม่ถูกเสมอไป
ไม้ มันเป็นวัสดุที่มี รูพรุน จึงทำให้เกิดการ osmosis ขึ้นในเนื้อไม้ได้ตลอดเวลา
ถ้าไม้มีความชื้นน้อยกว่าอากาศ ไม้จะดูดซับความชื้นจากอากาศเข้าไป ไม้จะเกิดการขยายตัว
และถ้าไม้มีความชื้นมากกว่าอากาศ ไม้ก็จะคลายความชื้นออกสู่อากาศ ทำให้ไม้เกิดการหดตัว
ไม้ที่เหมาะสม ในการทำกีตาร์นั้น ไม้ต้องมีความชื้น ที่เหมาะสมกับอากาศ ณ พื้นที่ปลายทางของกีตาร์
กระบี่อยู่ที่ใจ หากเยี่ยมยุทธแล้วไซร้ แค่กิ่งไผ่ก็ไร้เทียมทาน...

Kwang @ Uttaradit

  • member
  • ***
  • กระทู้: 2,470
  • Kwang @ Uttaradit
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 08:19:52 »
ไม้บลาซิลเลี่ยน เป็นเครื่องชี้วัด ความเข้าใจผิดของคนไทยได้อย่างนึงครับ
คือ เรื่องความชื้นในเนื้อไม้ มีหลายๆท่าน ที่เชื่อว่า ไม้ ที่จะสามารถนำมาทำกีตาร์ได้ นั้นต้อง แห้งมากๆ(ในการอบ)
และเมื่อ ทำเป็นกีตาร์แล้ว ก็ต้องเก็บไว้ในที่ ที่มีความชื้นน้อยๆอีก ซึ่งมันไม่ถูกเสมอไป
ไม้ มันเป็นวัสดุที่มี รูพรุน จึงทำให้เกิดการ osmosis ขึ้นในเนื้อไม้ได้ตลอดเวลา
ถ้าไม้มีความชื้นน้อยกว่าอากาศ ไม้จะดูดซับความชื้นจากอากาศเข้าไป ไม้จะเกิดการขยายตัว
และถ้าไม้มีความชื้นมากกว่าอากาศ ไม้ก็จะคลายความชื้นออกสู่อากาศ ทำให้ไม้เกิดการหดตัว
ไม้ที่เหมาะสม ในการทำกีตาร์นั้น ไม้ต้องมีความชื้น ที่เหมาะสมกับอากาศ ณ พื้นที่ปลายทางของกีตาร์

       เอ้อ... น่าคิดแฮะ  อย่างงี้ ไม้ดี ๆ ที่ปลูกในย่านเอเชีย หรือในเมืองไทย ก็เหมาะที่จะทำกีต้าร์ และมีปัญหาการแตกร้าว น้อยที่สุด ด้วยหรือเปล่า ?

Finger Picking Style

dho

  • member
  • ***
  • กระทู้: 643
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 08:49:31 »
ถ้าอยากรู้ว่าไม้เอเชียแตกน้อยที่สุดหรือเปล่า..ดูที่กีตาร์น้ากวางเลยครับจับเวลาได้เลย.

southpaw

  • member
  • ***
  • กระทู้: 172
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 09:31:52 »
cutaway ทำให้ปริมาตรของบอดี้ลดลงย่อมมีผลเสียบ้าง แต่อาจไม่ถึงกับสังเกตได้ชัดเจน (ไม่ใช้ภาคไฟฟ้า) ยิ่งถ้าติดภาคไฟฟ้าแล้วมันปรับ ทุ้ม กลาง แหลมได้ สามารถปรับให้เสียงออกมามากน้อยตามใจเรา ชดเชยข้อเสียนั้นได้ ข้อเสียที่ชัดเจนคือทำให้กีตาร์ราคาแพงกว่าแบบทรงปกติ

artism

  • member
  • ***
  • กระทู้: 322
  • เพศ: ชาย
    • Artism Facebook
Re: ไม้ Rosewood
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 09:37:51 »
ความรู้ค่อยๆ ไหลทะลักมาเรื่อยๆ รอดูไม้ไทยอยู่นะครับ อิอิ
ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก