Untitled Document

ผู้เขียน หัวข้อ: กระทู้สร้างสรรค์ ขอรวบรวมชาวกีต้าร์คลาสสิค แนะนำเพลง ที่ทำให้นิ้วดีหรือ เพลงที่  (อ่าน 359745 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
มาเรีย ลุยแหลก ผมเรียกอย่างนี้มา 10 ปีแล้ว
Maria Luisa  ชื่อเพลงครับ มาเรีย รูอิซ่า
เพลงนี้ก็ไม่ยาก น่าจะอยู่ ยามาฮ่าเล่ม 3 มั้ง

สำหรับผม ผมว่า  เพลง อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราเล่นให้ถูกจังหวะ เพราะทั้งนั้น  
เพลงง่ายๆ  ผมให้  แบบเก่งๆมาเล่นเลย  ต้องมีหลุด  เอา ร้อยบาทโอเลี้ยงแก้วเดียว  
ให้ อ  มาเล่นด้วยเอา ต้องมีหลุด
ดังนั้น  ผมเอาเพลง ง่ายๆแบบนี้แหละ  ถ้าเราเล่นให้คนอื่นฟัง  และ  เล่น ถูกจังหวะ
ผมว่าน่า ฟังกว่า เราไปเล่นเพลงยากๆซะอีก  ถ้า เรายังไม่คล่องพอ


Maria Luisa (Julio Salvador Sagreras)



ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
มาหาแรงบรรดาลใจในนี้หลายทีดีขึ้นครับ
กำลังสร้างไฟเหมือนกันครับน้า
ไฟ มอดลงทุกวันแล้ว 
ลานใก้ลหมดแล้ว  ต้องเติมเชื้อไฟใหม่  ไขลานใหม่ 
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
เอ้าใครอยากจะฝึกกีต้าร์คลาสสิค ก็  จงตามมาเป็นระยะๆน๊ะครับ

มีข้อแม้ว่า  ขอให้ฝึกอ่านโน๊ตให้ได้ก่อน

ถ้าอ่านโน๊ตได้พอคล่องแล้ว  เรื่อง เพลงหรือบทฝึกนั้นสามารถ หาจากในยูทูป
เพื่อ เริ่มๆเดินๆไปได้สบายเลยครับ


ถ้าไม่ฝึก จะตามมาดูเพลงต่างๆก็มาช่วยแนะนำกันหน่อยครับ 
เผื่อ มีใครแนะนำ  เราก็จะได้มีเพลงที่เราชอบ ให้ได้เล่น อีก 
ชอบมากชอบน้อย คงต้องเลือกเอาที่ชอบมากๆมาเล่นก่อน 
ชอบมันหมด ชาตินี้ก็เล่นไม่หมด 
เดินเป็นสเต๊ปดีที่สุดครับ 

Allegretto in A by Carcassi

โน๊ตก็ตามนี้เลย   http://www.learnclassicalguitar.com/free-guitar-lesson.html
ลองเข้าไปดูมีบทเรียนให้เริ่มต้นกันครับ


หากน้าๆมาแนะนำเพลงต่างๆถ้ามี  ลิงค์แป๊ะโน๊ตเอาไว้ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยครับ 
ผมเองก็อยากได้ด้วย มาช่วยกัน  แบ่งๆกันหน่อยครับ 
ไม่ใช่ดูดๆเอาอย่างเดียว  ดูดมากๆ  ท้องป่องครับ  ปล่อยๆมั่ง
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
มาต่อกันที่ยุคของดนตรีกันครับ
นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งยุดต่างๆ ออกมา  ดังนี้ครับ


ดนตรีคลาสสิกแบ่งออกเป็นยุค ดังนี้

ยุคกลาง (Medieval or Middle Age) พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943)
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ รูปแบบเพลงในยุคนี้จะเน้นที่การร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงสวด (Chant) ที่ตอนปลายของยุคกลางเริ่มมีการร้องเพลงแบบสอดทำนองประสานด้วย

ยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143)
นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายยุคกลางในสมัยศิลป์ใหม่ เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น

ดูเพิ่มที่ ยุคเรเนสซองส์
ยุคบาโรค (Baroque) พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293)
ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดี เป็นต้น

ดูเพิ่มที่ ศิลปะบาโรค
ยุคคลาสสิก (Classical) พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363)
เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศูนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์ (Mannheim) เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่แน่นอน คือ วงแชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตรา ซึ่งวงออร์เคสตราในยุคนี้มีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท และยังถือเป็นแบบแผนของวงออร์เคสตราในปัจจุบัน นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น

ยุคโรแมนติก (Romantic) พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ การใช้ความดังความเบาที่ชัดเจน และทำนอง จังหวะ ลีลาที่เน้นไปยังอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโทเฟิน ชูเบิร์ต โชแปง วากเนอร์ บราห์มส์ ไชคอฟสกี้ เป็นต้น

ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2453)
พัฒนารูปแบบของดนตรีโดยนักดนตรีชาวฝรั่งเศส โดยมีเดอบุชซีเป็นผู้นำ ลักษณะดนตรีของยุคอิมเพรสชั่นนิสม์เต็มไปด้วยจินตนาการ อารมณ์ที่เพ้อฝัน ประทับใจ ต่างไปจากดนตรีสมัยโรแมนติกที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์

ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน (20th Century Music พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน)
นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อน จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น (Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่าแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี้ เป็นต้น

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
นอกจากนี้ บทเพลงต่างๆ ยังแบ่งแยกตามโครลสร้างอีดด้วย
ถาษา อ เรียกว่า FROM  นั่นเอง คือ ฟอรม์ของบทเพลงต่างๆ
ดังนี้


คอนแชร์โต - Concerto
ซิมโฟนี - [English: Symphony | French: Symphonie | German: Sinfonia]
โซนาต้า - Sonata
ฟิวก์ - Fugue เป็นการประพันธ์เพลงที่ได้รับการพัฒนาอย่างมากแขนงหนึ่ง นิยมในยุคบาโรก จะเริ่มต้นด้วยทำนองที่เรียกว่า Subject จากนั้นจะเปลี่ยนแปลงทำนอง เรียกว่า Answer
พรีลูด - Prelude บทเพลงที่ทำหน้าที่เป็นบทนำทางดนตรี มักใช้คู่กันกับเพลงแบบฟิวก์ หรือใช้บรรเลงนำเพลงชุดสวีต
โอเวอร์เจอร์ - Overture เพลงโหมโรงที่บรรเลงก่อนการแสดงอุปรากรหรือละคร
บัลลาด - Ballade เป็นบทประพันธ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ เป็นเพลงชับร้องที่กำกับด้วยเปียโน
เอทู๊ด - Etude เป็นบทประพันธ์เพื่อฝึกหัดการบรรเลงด้วยเปียโนหรือไวโอลิน
มาร์ช - March เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการเดินขบวนแถวของหมู่คน
วาริเอชั่น - Variation
แฟนตาเซีย หรือ ฟ็องเตซี - [Italian: Fantasia | French: Fantasy]
น็อคเทิร์น - Nocturne/Nocturno เป็นเพลงที่บรรเลงยามค่ำคืน มีทำนองเยือกเย็นอ่อนหวาน ส่วนมากใช้เปียโนบรรเลง
มินูเอ็ต - [French: Minuet |Italian: Menuet]
เซเรเนด - Serenade เพลงขับร้อง หรือบรรเลงเครื่องดนตรี ที่มีทำนองเยือกเย็นและอ่อนหวาน มักเป็นบทเพลงที่ผู้ชายนำมาเกี้ยวพาราสีผู้หญิง โดยยืนร้องใต้หน้าต่างในยามค่ำคืน
แคนนอน - Canon เป็นคีตลักษณ์ที่มีแบบแผนแน่นอน มีการบรรเลง ทำนองและการขับร้องที่เหมือนกันทุกประการ แต่เริ่มบรรเลงไม่พร้อมกัน เรียกอีกชื่อว่า Round
แคนแคน - Can-Can เป็นเพลงเต้นรำสไตล์ไนท์คลับของประเทศฝรั่งเศส เกิดในช่วงศตวรรษที่ 19
คาปริโซ - Caprice บทบรรเลงสำหรับเครื่องดนตรีที่มีลักษณะอิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ มักมีชีวิตชีวา
โพลก้า - Polka เพลงเต้นรำแบบหนึ่ง มีกำเนิดมาจากชนชาติโบฮีเมียน
ตารันเตลลา - Tarantella การเต้นรำแบบอิตาเลียน มีจังหวะที่เร็ว
จิก - Gigue เป็นเพลงเต้นรำของอิตาลี เกิดในศตวรรษที่ 18 มักอยู่ท้ายบทของเพลงประเภทสวีต (Suite)
กาวอท - Gavotte เป็นเพลงเต้นรำของฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 มีรูปแบบแบบสองตอน (Two-parts) มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite)
โพโลเนส - Polonaise เป็นเพลงเต้นรำประจำชาติโปแลนด์ เกิดในราชสำนัก เป็นเพลงประเภทวอลท์ซ มักเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประเภทสวีต (Suite)
สวีต - Suite เพลงชุดที่นำบทเพลงที่มีจังหวะเต้นรำมาบรรเลงต่อกันหลายๆ เพลง พบมากในโอเปร่า และบัลเลต์
อาราเบส - Arabesque เป็นดนตรีที่มีลีลาแบบอาหรับ
ฮิวเมอเรสค์ - Humoresque เป็นบทประพันธ์สั้นๆ มีลีลาสนุกสนานร่าเริง อย่างมีชีวิตชีวา
ทอคคาต้า - Toccata บทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด มีทำนองที่รวดเร็ว อิสระ ในแบบฉบับของเคาน์เตอร์พอยด์
บากาเตล - Bagatelle เป็นคีตนิพนธ์ชิ้นเล็กๆ สำหรับให้เปียโนบรรเลง มีจุดเด่นคือทำนองจำได้ง่าย เช่นเพลง Fur Elise
ดิแวร์ติเมนโต - Divertimento
บทเพลงทางศาสนา - Sacred Music
โมเต็ต - Motet เพลงที่ใช้ขับร้องในพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ใช้วงขับร้องประสานเสียงในการร้องหมู่ ภายหลังจึงเริ่มมีเครื่องดนตรีคลอเสียงร้อง
แพสชั่น - Passion เพลงสวดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ยากของพระเยซู
ออราทอริโอ - Oratorio เพลงประเภทขับร้อง บทร้องเป็นเรื่องราวขนาดยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ มีลักษณะคล้ายโอเปร่า แต่ไม่มีการแต่งกาย ไม่มีฉากและการแสดงประกอบ
คันตาตา - Cantata เพลงสำหรับศาสนาสั้นๆ มีทั้งร้องในโบสถ์ และร้องตามบ้าน
แมส - Mass เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อประกอบในศาสนพิธีของศาสนาคริสต์
เรควีเอ็ม - Requiem เพลงสวดเกี่ยวกับความตาย
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
ทีนี้เรามาดูรายชื่อ คีตกวี ในยุคต่างๆ พอสังเขปกันก่อน
แล้ว ค่อยลัดเลี้ยว มาที่ คีตกวี กีต้าร์คลาสสิคกัน



ยุคกลาง
เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1130-1180)
เพโรแตง (Pérotin หรือ Perotinus Magnus, ประมาณค.ศ. 1160-1220)
จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna)
ฟรานเชสโก ลานดินี (Francesco Landini, ประมาณค.ศ. 1325-1397)
กิโยม เดอ มาโชต์ (Guillaume de Machaut, ประมาณค.ศ. 1300-1377)
ฟิลิปเป เดอ วิทรี (Phillippe de Vitry)
โซลาช (Solage)
เปาโล ดา ฟิเรนเซ (Paolo da Firenze)
ยุคเรเนสซองส์
จอห์น ดันสเตเบิล (John Dunstable)
กิโยม ดูเฟย์ (Guillaume Dufay)
โยฮันเนส โอคีกัม (Johannes Ockeghem)
โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis)
จอสกิน เดอส์ เพรซ์ (Josquin des Prez)
ยาคอบ โอเบร็คท์ (Jacob Obrecht)
โคลด เลอเชิน (Claude Le Jeune)
จิโอวันนี ปิแอร์ลุยจิ ดา ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina)
วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd)
คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี (Claudio Monteverdi)
ออร์ลันโด้ ดิ ลัสโซ (Orlando di Lasso)
คาร์โล เกซวลโด (Carlo Gesualdo)
อาดริออง วิลแลร์ต (Adriane Willaert)
ยุคบาโรค
ดิทริช บุกสเตฮูเด (Dietrigh Buxtehude, ประมาณค.ศ. 1637-1707)
โยฮันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel, ค.ศ. 1653-1706)
อเลสซานโด สการ์แลตตี (Alessando Scarlatti, ค.ศ. 1660-1725)
อันโตนีโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi, ค.ศ. 1678-1714)
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach, ค.ศ. 1685-1750)
จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล (Georg Friedrich Händel, ค.ศ. 1685-1759)
ฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่ (Jean Baptist Lully)
ฌอง ฟิลลิป ราโม (Jean Phillippe Rameau)
เกออร์ก ฟิลลิป เทเลมันน์ (Georg Phillip Telemann)
เฮ็นรี่ เพอร์เซ็ล (Henry Purcell)
ยุคคลาสสิก
คริสตอฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck, ค.ศ. 1750-1820)
ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn, ค.ศ. 1732-1809)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart, ค.ศ. 1756-1791)
ลุดวิจ ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, ค.ศ. 1770-1827)
คาร์ล ฟิลลิป เอ็มมานูเอ็ล บาค (Carl Phillip Emanuel Bach)
โยฮัน คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach)
ยุคโรแมนติก
จิอาซิโน รอสชินี (Gioacchino Rossini)
ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert)
เอกเตอร์ แบร์ลิออส (Hector Berlioz)
เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น-บาร์โธลดี (Felix Mendelssohn-Batholdy)
เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frédéric François Chopin)
นิกโคโล ปากานินี (Niccolò Paganini)
โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann)
ฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt)
ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner)
จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi)
แบดริช สเมตานา (Bedrich Smetana)
โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms)
จอร์จ บิเซต์ (Georges Bizet)
ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky)
แอนโทนิน ดโวชาค (Antonín Dvořák)
จิอาโคโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini)
กุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler)
เซอร์เก วาซิลีวิช รัคมานินอฟ (Sergej Vasilevič Rakhmaninov)
ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss)
ยาน ซิเบลิอุส (Jean Sibelius)
โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง บิดา (Johann Strauss father)
โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง บุตร (Johann Strauss son)
ชาก ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach)
ชาร์ล กูโน (Charles Gounod)
อันโตน บรูคเนอร์ (Anton Bruckner)
ฮูโก โวล์ฟ (Hugo Wolf)
ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์
โคล้ด เดอบุซซี (Claude Debussy)
มอริส ราเวล (Maurice Ravel)
ยุคศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน
ชาร์ลส์ ไอฟส์ (Charles Ives)
อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg)
คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff)
เบลา บาร์ต็อก (Béla Bartók)
โซลตาน โคดาย (Zaltán Kodály)
อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky)
อันโตน เวเบิร์น (Anton Webern)
อัลบัน เบิร์ก (Alban Berg)
เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev)
พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith)
จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin)
อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, ค.ศ. 1900-1990)
ดิมิทรี ดิมิทรีวิช ชอสตาโกวิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich, ค.ศ. 1906-1975)
โอลิวิเยร์ เมสสิออง (Olivier Messiaen, ค.ศ. 1908-1992)
เอลเลียต คาร์เตอร์ (Elliott Carter, ค.ศ. 1908-ปัจจุบัน)
วิโทลด์ ลูโทสลาฟสกี้ (Witold Lutoslawski)
จอห์น เคจ (John Cage, ค.ศ. 1912-1992)
ปิแอร์ บูเลซ (Pierre Boulez, ค.ศ. 1925-ปัจจุบัน)
ลูเซียโน เบริโย (Luciano Berio, ค.ศ. 1925-2003)
คาร์ลไฮน์ สต็อกเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen, ค.ศ. 1928-2006)
ฟิลิป กลาส (Philip Glass)
ลุยจิ โนโน (Luigi Nono)
ยานนิส เซนาคิส (Iannis Xenakis, ค.ศ. 1922-2001)
มิลตัน แบ็บบิท (Milton Babbitt)
วอล์ฟกัง รีห์ม (Wolfgang Rihm)
อาร์โว แพรท (Arvo Pärt)
โซเฟีย กุไบดูลินา (Sofia Gubaidulina)
Giya Kancheli
ยอร์กี ลิเกตี (György Ligeti)
กชึชตอฟ แปนแดแรตสกี (Krzysztof Penderecki)
ยอร์กี เคอร์ทัค (György Kurtag)
เฮลมุต ลาเคนมานน์ (Helmut Lachenmann)
สตีฟ ไรค์ (Steve Reich)
จอห์น อดัมส์ (John Adams)
John Zorn
โตรุ ทาเคมิตสึ (Toru Takemitsu)
Tan Dun
Chen Yi
Unsuk Chin
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
เพลงของกีต้าร์คลาสสิคเพลงนี้  ถ้าใครไม่รู้จักก็ไม่ได้แล้ว
ทุกคนคงต้องรู้จัก  กันดี
สำหรับเพลงนี้ น่าจะมาจากเพลงพื้นบ้านครับ
เหมือนเราเเต่งเพลงนึงขึ้นมาเราเอาไปเล่นให้เพื่อนฟัง
เพื่อนเอาไปเล่นต่อๆ
จนในที่สุด ก็ หา ชื่อ คนที่แต่งเพลง ไม่เจอ
จนในที่สุดต้องใส่ชื่อ เป็น  Anonymous

ดังนั้น หากโน๊ตเพลง  เขียนเป็นชื่อดังกล่าว  ที่มาก็คือ หา คนแต่งไม่เจอครับ


กีต้าร์ที่เล่นในเพลงนี้ ไม่ใช่ธรรมดาครับ
เป็น  ฮุยเซอร์ ปี  1937 ครับ
ถึง มีเงินมหาศาล ก็คงหาซื้อไม่ได้  คุณ จะมีเงินเป็น 10 ล้าน
ผมว่าใครมีเอาไว้ในครอบครอง คงไม่มีใครขายแน่ๆ ครับ
กีต้าร์เสียง สวรรค์เลยทีเดียว 
หัวกีต้าร์ทรงกลมเหมือน รามิเรส เลยทีเดียว 
อินโทรเขาแต่งขึ้นต้นเองครับ

Classical Guitar of Tabei Romance de Amour
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

boo

  • member
  • ***
  • กระทู้: 63
เพลงของกีต้าร์คลาสสิคเพลงนี้  ถ้าใครไม่รู้จักก็ไม่ได้แล้ว
ทุกคนคงต้องรู้จัก  กันดี
สำหรับเพลงนี้ น่าจะมาจากเพลงพื้นบ้านครับ
เหมือนเราเเต่งเพลงนึงขึ้นมาเราเอาไปเล่นให้เพื่อนฟัง
เพื่อนเอาไปเล่นต่อๆ
จนในที่สุด ก็ หา ชื่อ คนที่แต่งเพลง ไม่เจอ
จนในที่สุดต้องใส่ชื่อ เป็น  Anonymous

ดังนั้น หากโน๊ตเพลง  เขียนเป็นชื่อดังกล่าว  ที่มาก็คือ หา คนแต่งไม่เจอครับ


กีต้าร์ที่เล่นในเพลงนี้ ไม่ใช่ธรรมดาครับ
เป็น  ฮุยเซอร์ ปี  1937 ครับ
ถึง มีเงินมหาศาล ก็คงหาซื้อไม่ได้  คุณ จะมีเงินเป็น 10 ล้าน
ผมว่าใครมีเอาไว้ในครอบครอง คงไม่มีใครขายแน่ๆ ครับ
กีต้าร์เสียง สวรรค์เลยทีเดียว 
หัวกีต้าร์ทรงกลมเหมือน รามิเรส เลยทีเดียว 
อินโทรเขาแต่งขึ้นต้นเองครับ

Classical Guitar of Tabei Romance de Amour


สุดยอดครับ

coolclub

  • member
  • ***
  • กระทู้: 541
Julian Bream - Francisco Tarrega - Study in A Major


Note & Tab
http://freetabs.org/zips/Estudio_Brillante-00.zip
http://freetabs.org/zips/Estudio_Brillante-02.zip

เคยหัดเล่นเมื่อสมัยก่อนโน้น
ต้องไปหอสมุดแห่งชาติ ห้องดนตรี ยืมหนังสือโน๊ตเพลงไปถ่ายเอกสาร
เขาว่าเพลง Estudio_Brillante นี้เป็น 1 ใน Two concert master piece
อีกเพลงคือ Recuerdos De La Alhambra
Return To A=432hz

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
ขอบคุณมากครับสำหรับ โน๊ตเพลง
สมัยก่อน กว่าจะได้โน๊ตแต่ล๊ะเพลง นั้นเเสนสาหัสมากจริงๆ 
ต้อง อ้อนวอนแล้วอ้อนวอนอีก  ถามแล้ว ถามอีก กับ คนที่รู้จัก กัน
กว่าจะได้มา   ต้องไขว่คว้ามากจริงๆ
ผมว่าน่าเสียดายจริงๆ เคยคุยกับ ผู้รู้   อันนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเขาโม้ให้ผมฟังรึเปล่าว่า
ท่าน เธอร์ริก้า  นั้น ได้ แต่งขึ้น 1 พันกว่าเพลง แต่ โน๊ตเพลงได้ถูกไฟไหม้ไปบางส่วนจนในปัจุบัณเหลือผลงานที่  ออกสู่สาธรณชน
แค่ 1 ร้อยกว่าชิ้นเอง ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามที่ผมได้ไปค้นคว้ามาให้ครับ


หน้าตาเป็นแบบนี้ครับเผื่อใครยังไม่เคยเห็น

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
Francisco Tárrega (ฟรานซิสโก ทาร์เรก้า) ชาวสเปน  เกิดเมื่อ 21 Nov 1852 ที่ Villareal และเสียชีวิต ที่ Barcelona ( จ.บาร์เซโลนา สเปน) เมื่อวันที่  5 Dec 1909    Tárrega มีชีวิตอยู่รวม อายุ 57 ปีช่วงที่เขามีชีวิตอยู่เป็นยุคดนตรีที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก ( Romantic Era )          ในสเปนตรงกับ ยุคการปกครองของ พระนางเจ้าอิซาเบลที่ 2 ( Isabella II of Spain ) แห่ง ราชวงศ์ บูร์บง (ฟื้นฟูครั้งแรก ) จนถึง พระเจ้าอัลฟอนโซ ที่ 13 ( Alfonso XIII of Spain ) แห่งราชวงศ์  บูร์บง ( ฟื้นฟูครั้งที่สองหลังจากผ่าน การปกครองของราชวงศ์ ซาวอย ) ถือว่าเป็นนักดนตรีที่ผ่านมา 4 ยุคการปกครองของสเปนเทียบกับของไทยจะเป็น ช่วง ต้นๆ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปจนถึง ช่วงปลายๆ สมเด็จพระปิยะมหาราช เรียกได้ว่าในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขึ้นหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครองหรือเทคโนโลยีทั้งในไทยเองและต่างประเทศ      ในเรื่อง Guitar Tárrega ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง บางคนเรียกว่าเป็นการปฎิวัติเลยทีเดียว
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
ตามประวัติแล้วพ่อของเขาก็เล่นกีต้าร์เหมือนกัน แต่ไม่ได้เล่นเป็นอาชีพ( เล่นในรูปแบบ Flamenco และเพลงทั่วๆไป )  พ่อของเขามีอาชีพเป็นยามที่ Convent of San Pascual ช่วงที่พ่อออกไปทำงาน
Tárrega  มักจะหยิบ Guitar ของพ่อเขามาเล่นเสมอ  ตอนเด็กๆTárrega เป็นคนไม่ค่อยพูดค่อยเจรจาจนมีnicknameว่า Quiquet ( silent )
 
Castellón
ในช่วงอายุได้ 8 ขวบเขาได้เริ่มต้นเรียน Guitar กับครูในท้องถิ่นชื่อ Manuel González   และ  Eugeni Ruiz   

ในปี 1862 เมื่อTárrega อายุได้ 10 ขวบพ่อได้พาไปพบกับได้พบกับJulián Arcas ซึ่งเป็นนักประพันธ์และเล่นคอนเสิร์ตที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ที่ Castellón หลังจากจบการแสดงของ Arcas แล้ว Tárregaได้ลองเล่น guitarให้ฟัง  Julián Arcas เห็นแววอัจฉริยะของ Tárrega จึงขอให้ Tárrega ไปศึกษาดนตรีกับเขาที่ Barcelona พ่อของTárrega สนับสุนเรื่องการศึกษาของลูกในเส้นทางนี้อยู่แล้วจึงยอมอนุญาตแต่มีข้อแม้ขอให้ลูกเขา ได้ศึกษา Pianoตามสมัยนิยมไปด้วย   อย่างไรก็ตาม Tárrega ได้ศึกษากับ Julián Arcas ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นหลังจากนั้น Julián Arcas ทัวร์คอนเสิร์ตในประเทศต่างๆ   
มรดกทางบทเพลงผมยังไม่เห็นอิทธิพลของ Julián Arcas ต่อการประพันธ์ของ Tárrega แต่กลับพบว่า การที่ Tárrega  สนใจและพัฒนารูปทรงของกีต้าร์ ของ ทอร์เรส ( Torres ) จนเป็นรูปทรงที่ใช้กันในปัจจุบันนี้( ทอร์เรส ...นักทำกีต้าร์คลาสลิกชาวสเปน ที่มีอิทธิพลที่สุดต่อช่างทำกีต้าร์ทั่วโลกในปัจจุปัน)  ก็คงยกเครดิตให้ Julián Arcas      ในเดือน ตุลาคม 1874  Tárrega ได้เรียนต่อ ด้าน Harmonry ( เรียบเรียงเสียงประสาน) และ Composition ( การประพันธ์บทเพลง ) ที่ Madrid Conservatory of Music  ในปี 1975 เขาได้รับรางวัลชนะเลิศด้าน Composition นั้นเป็นรากฐานที่ทำให้ผลงานการประพันธ์เขา ถือว่าอยู่ในชั้นครู
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
Tárregaเริ่มเส้นทางสายนักดนตรีอาชีพเมื่ออายุได้ 10 ขวบเท่านั้นโดย เล่นตามcoffee houses หรือตามภัตตาคาร ใน Barcelona  ช่วงเริ่มของการแสดงดนดนตรี Tárrega ได้แบ่ง แสดงเปียโนครึ่งหนึ่งและกีต้าร์ครึ่งหนึ่ง ที่เป็นอย่างนี้ต้องเข้าใจว่าในสมัยนั้นกีต้าร์ก็ไม่ได้รับความนิยม เท่ากับเครื่องดนตรีชนิดอื่นเช่นเปียโน หรือไวโอลินการแสดงกีต้าร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่ค่อยได้รับความสนใจ ซึ่งมีผลถึงปากท้องได้ เรียกได้ว่าครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจอีกครึ่งหนึ่งเป็นความชอบส่วนตัว หรืออาจเป็นกลยุทย์ในการแสดงก็ได้ ซึ่งช่วงหลังTárrega มีชื่อเสียงแล้วก็เล่นแต่เพียงกีต้าร์อย่างเดียวแต่ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตามที่เขาเลือกเล่นกีต้าร์แต่เพียงอย่างเดียวผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะโอกาสเล่นเปียโนจนมีชื่อเสียงเทียบชั้น Beethoven หรือ Chopin ในยุคนั้นโอกาสแทบเป็นไม่ได้เลย หลังจากสร้างชื่อเสียงจนเป็นเป็นที่ยอมรับทั้งบทเพลงและเครื่องมือที่ใช้แสดงแล้ว ( Guitar )   Tárrega ก็ได้เดินทางแสดงดนตรีในต่างประเทศเหลายๆ ประเทศ เช่นลอนดอนในปี 1880 และ ฝรั่งเศษ ( ปารีส, แปร์ปิยอง ( Pergnan ),นี ( Nice )  Lyon 1881  )
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
บทบาทการเป็นครู  Tárrega ได้เป็น Professor of Guitar ที่ Conservatories of Madrid และ Barcelona นอกจากนั้นยังได้ประพันธ์บทเพลงและแบบฝึกหัด( Study )หรือ วีธการเล่น (Methods )มากมายที่ยังใช้กันจนถึงปัจจุบันรวมถึง ผลิตบุคลากร / ลูกศิษย์ มากมาย เช่น Pasual Roch,Garia Fortea,Danic Forte,Josefina Robledo,Alberto Obregonโดยเฉพาะ Miguel Llobet และ Emilio Pujol ซึ่งต่อมาได้ ประพันธ์และสอนดนตรี จนมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

สำหรับผลงานของ Tárrega ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ

Original Composed and Studies
Transciption for Guitar


สำหรับนักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อTárrega ผมคิดว่านักกีต้าร์มีอิิทธิพลน้อยกว่านักดนตรีที่เล่นเปียโน เช่น JS.Bach,Mozart,Beethoven,Berlizo,Chopin,Grieq,Handel,Haydn,Schubert,Scumann,Wagner,Albeniz คาดกันว่า Tárrega มีผลงานด้านTransciption ถึง 120ชิ้น มากกว่าผลงานที่ประพันธ์ เอง ( คาดว่า 78 ชิ้น ) 
บทเพลงที่ผมนำมาเป็นตัวอย่าง เป็น Original Work ชื่อเพลง Vals en D ( Waltz in D Major  )  ถึงแม้เป็นเพลงสำหรับ Guitar Classical แต่ผมลองนำมาเล่นบนกีต้าร์ไฟฟ้า ผมคิดว่า Sound ยังร่วมสมัยนะ
ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
อย่าลืมนะครับว่าGuitar ในศตวรรษที่ 19 เสื่อมความนิยมลงไปมาก เห็นได้จากประวัติของ Tárrega เองถึงแม้พ่อจะสนับสนุนลูกในการเล่นดนตรียังขอให้ลูกฝึกPiano ไปด้วยเลย หรือ ตัวของ Tárrega เองที่ถูกเรียกว่า Sarasate of Guitar ( ซาราซาเต (Sarasate )เป็นนักประพันธ์ และนักเล่น ไวโอลิน ชาวสเปนเกิดในยุคเดียวกันมีชื่อเสียง และเป็นที่โปรดปรานของ อิสเบลที่สอง แห่งเป็นอย่างมาก ) มีเกร็ดเล่าในฟังว่า ซาราซาเต  (Pablo Sarasate )เคยเล่นคอนเสิร์ต สถานที่เดียวกับ Tárrega ( Sarasateเล่นก่อน 1 วัน ) Sarasate ยังไม่สนใจด้วยซ้ำไป   


ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
Tárrega ถูกเรียกว่า  Founder Of The Modern Guitar School แต่ ท้ายที่สุดแล้ว นักกีต้าร์ คลาสสิกทั่วโลกได้ยอมรับว่าเขาเป็น "Father Of The Modern Classical Guitar "ซึ่งเป็นการยอมรับตรงกันทั่วโลกซึ่งดูยิ่งใหญ่มาก

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

Near Dawn

  • member
  • ***
  • กระทู้: 324
  • เพศ: ชาย
ความรุ้ทั้งนั้นเลย ขอบคุณครับ
ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก...

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
สำหรับใครที่จะซื้อ แผ่นซีดีไปฟัง  ที่เล่นโดย David Russell ชุด Integral Guitarra  1ชุดมี 2 แผ่น เป็นการรวมบทเพลงของ Tárrega 62 เพลง

 
ก็ลองดูครับ  เพราะทั้งนั้นครับ

  

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
นักกีต้าร์ชื่อ ก้อง นามว่า  เดวิท รัชเซล  คือ ใคร
ส่วนตัวผมก็ชอบครับ นักกีค้าร์ คนนี้   

นักกีต้าร์คลาสสิคชื่อก้องโลกผู้ได้รับรางวัล Grammy Award Winner ในสาขา Best Instrumental Soloist in Classical Music ในปี 2005 จากCDอัลบั้มชุด AIRE LATINO.

     David Russell มีชื่อก้องโลก ได้รับการยกย่องจากทั้งผู้ชม และนักวิจารณ์ทั่วไปในความเป็นสุดยอดนักดนตรี และศิลปินผู้เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ ยิ่งกว่านั้นในปี1997 ได้รับเกียรติเป็น Fellow of the Royal Academy of Music in London.

     David Russell เติบโตขึ้นที่เมือง Es Migjorn ในเกาะ Minorca ประเทศ Spain พฤษภาคม 2003 David ได้รับการขนานนามว่า “Adopted Son of Es Migjorn” ถนนเส้นหนึ่งในเมืองนี้ได้ถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ David Russell โดยใช้ชื่อว่า “Avinduga David Russell”



     พฤศจิกายน 2003 ได้รับรางวัล the Medal of Honor จาก the Conservatory of the Balearics.

     หลังจากได้รับรางวัล Grammy เทศบาลเมือง Nigrán ประเทศ Spain ที่ซึ่งDavid อาศัยอยู่ได้มอบรางวัล “the silver medal of the town” เป็นเกียรติแก่ David Russell ด้วยพิธีการมอบอันเป็นที่ประทับใจและซาบซึ้งเป็นที่สุด

     ระหว่างที่เรียนที่ The Royal Academy   David Russell ชนะเลิศการแข่งขัน the Julian Bream Guitar Prize ถึงสองครั้ง หลังจากนั้นเขาได้ชนะการแข่งขันกีต้าร์ระดับนานาชาติมากมายรวมถึง the Andrés Segovia Competition , the José Ramírez Competition และ Spain's prestigious Francisco Tárrega Competition

     David Russell แสดงคอนเสิร์ตไปทั่วโลก และแสดงเป็นประจำในโรงละครหลักของเมืองใหญ่ เช่น New York, London, Tokyo, Los Angeles, Madrid, Toronto or Rome ผู้ชมทั่วโลกตระหนักถึงความปราดเปรื่องทางด้านดนตรีของเขา และหลงในมนเสน่ห์ ยามเขาปรากฏตัวบนเวที การแสดงที่ไม่มีที่ติ ดูสบายสะท้อนให้เห็นถึงทักษะอันยอดเยี่ยมในการเล่นกีต้าร์ David เอาใจใส่ในทุกๆรายละเอียด จนถึงทุกวรรคของบทเพลงที่ผู้ประพันธ์ต้องการสื่ออารมณ์ David เข้าใจความต้องการของผู้ประพันธ์ ทำให้ทุกเพลงที่เขาเล่นฟังดูเร้าใจ



     ในปี 2005 The Music Conservatory of Vigo ได้สร้างโรงละครใหม่ และเพื่อเป็นเกียรติแก่ David Russell โรงละครแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า "Auditorio David Russell"

     2009 David Russell ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ Amigos de la Guitarra ชมรมกีต้าร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศสเปน

     1995 Telarc International ได้ทำสัญญากับ David Russell เพื่ออัดแผ่นเสียง ถึงวันนี้ ได้ทำออกมาแล้วทั้งหมด 16 ชุด หนึ่งในนั้นคือ Aire Latino ซึ่งได้รางวัล Grammy ในปี2005

     หนังสือพิมพ์  The New York Times: “ David Russell สร้างสรรค์ผลงานระดับมาสเตอร์โดยยึดมั่นในคุณค่าทางดนตรี  ตลอดการแสดง เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้ชมว่า David Russell มีพรสวรรค์ที่เกินจะวัดค่าได้ ”

     Andrés Segovia ครั้งหนึ่งได้ชมการแสดงของ David Russell ใน London และได้เขียนชมไว้ว่า “ขอแสดงความยินดีกับคุณค่าทางดนตรีและเทคนิคการเล่นกีต้าร์ของคุณ”

เอาวิดิโอ เดวิท เล่นเพลง  อะดีลิต้า  บ้างที่เป็นเพลงของ ฟรานซิสโก้ แต่ง
เพลงนี้  น่าจะเป็น ชื่อ ของ ผู้หญิงครับ


David Russell-adelita

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข

redtopup

  • member
  • ***
  • กระทู้: 3,240
เดวิดเล่นเพลง     เอลอัลทิโม่ เทรโมโร่  El Ultimo Tremolo 
เพลงนี้ คีตกวี ที่ชื่อว่า เอกูสติน  บาริออส Agustin Barrios  ได้ ประพันธ์ขึ้น


El Ultimo Tremolo




ส่วนอันนี้ redtopup ขอเล่นบ้าง



กีต้าร์คลาสสิคเพลง El Ultimo Tremolo by redtopup

ฝึกอย่างถูกวิธี แล้วเราจะไปถึงความสามารถอันสูงสุดข